วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทํวัตติงสาการะปาโฐ

ทํวัตติงสาการะปาโฐ

            อัตถิ  อมัสํมิง  กาเย  เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ  มังสัง  นะหารู  อัฎฐี  อัฎฐิมิญชัง   วักกัง  หะทะยัง   ยะกะนัง   กิโลมะกัง   ปิหะกัง  ปัปผาสัง  อันตัง   อันตะคุณัง   อุทะริยัง   กะรีสัง  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ  โลหิตัง  เสโท  เมโท  อัสสุ  วะสา  เขโฬ   สิงฆาณิกา  ละสิกา  มุตตัง   มัตถะเก  มัตถะลุงคันติ ฯ


ทวัตติงสาการปาฐะ
 (นำ) หันทะ   มะยัง   ท๎วัตติงสาการะปาฐัง   ภะณามะ  เส.
(รับ) อะยัง โข เม กาโย,
กายของเรานี้แล,
อุทธัง ปาทะตะลา,
เบื้องบน แต่พื้นเท้าขึ้นมา,
อะโธ เกสะมัตถะกา,
เบื้องต่ำ แต่ปลายผมลงไป,
ตะจะปะริยันโต,
มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ,
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน,
เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ,
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย,
มีอยู่ในกายนี้,

เกสา
คือผมทั้งหลาย,
โลมา
คือขนทั้งหลาย,
นะขา
คือเล็บทั้งหลาย
ทันตา
คือฟันทั้งหลาย,
ตะโจ
หนัง,
มังสัง
เนื้อ,
นะหารู
เอ็นทั้งหลาย,
อัฏฐี
กระดูกทั้งหลาย,
อัฏฐิมิญชัง
เยื่อในกระดูก
วักกัง
ม้าม
หะทะยัง
หัวใจ,
ยะกะนัง
ตับ,
กิโลมะกัง
พังผืด,
ปิหะกัง
ไต,
ปัปผาสัง
ปอด,
อันตัง
ไส้ใหญ่,
อันตะคุณัง
ไส้น้อย
อุทะริยัง
อาหารใหม่,
กะรีสัง
อาหารเก่า,
ปิตตัง
น้ำดี,
เสมหัง
น้ำเสลด,
ปุพโพ
น้ำเหลือง,
โลหิตัง
น้ำเลือด,
เสโท
น้ำเหงื่อ,
เมโท
น้ำมันข้น,
อัสสุ
น้ำตา,
วะสา
น้ำมันเหลว
เขโฬ
น้ำลาย,
สิงฆาณิกา
น้ำมูก,
ละสิกา
น้ำมันไขข้อ,
มุตตัง
น้ำมูตร,
มัตถะเก มัตถะลุงคัง
เยื่อในสมอง ในกะโหลกศีรษะ,


เอวะ อะยัง เม กาโย
กายของเรานี้ อย่างนี้,
อุทธัง ปาทะตะลา,
เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา,
อะโธ เกสะมัตถะกา,
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป,
ตะจะปะริยันโต,
มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ,
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อย่างนี้แล,

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ท้ายมะหาสะมะยะสูตร

ท้ายมะหาสะมะยะสูตร
            สัฎเฐเต  เทวะนิกายา                       สัพเพ  นานัตตะวัณณิโน
นามันวะเยนะ  อาคัญฉุง                             เย  จัญเญ  สะทิสา  สะหะ
ปะวุตถะชาติมักขีลัง                                   โอฆะติณณะมะนาสะวัง
ทักเข  โมฆะตะรัง  นาคัง                            จันทังวะ  อะสิตาติตัง
สุพํรัหํมา  ปะระมัตโต  จะ                          ปุตตา  อิทธิมะโต  สะหะ
สันนังกุมาโร  ติสโส  จะ                             โสปาคะ  สะมิติง  วะนัง
สะหัสสะพํรัหํมะโลกานัง                          มะหาพํรัหํมาภิติฎฐะติ
อุปะปันโน  ชุติมันโต                                  ภิสํมากาโย  ยะสัสสิ  โส
ทะเสตถะ  อิสสะรา  อาคู                           ปัจเจกะวะสะวัตติโน
เตสัญจะ  มัชณะโต  อาคา                           หาริโต  ปะริวาริโต
เต  จะ  สัพเพ  อะภิกกันเต                          สินเท  เทเว  สะพํรัหํมะแก
มาระเสนา  อะภิกกามิ                                 ปัสสะ  กัณํหัสสะ  มันทิยัง
เอถะ  คัณหะถะ  พันธะถะ                         ราเคนะ  พันธะมัตถุ  โว
สะมันตา  ปะริวาเรถะ                                 มา  โว  มุญจิตถะ  โกจิ  นัง
อิติ  ตัตถะ  มะหาเสโน                                กัณํหะ  เสนัง  อะเปสะยิ
ปาณินา  ตะละมาหัจจะ                               สะรัง  กัตํวานะ  เภระวัง
ยะถา  ปาวุสสะโก  เมโฆ                            ถะนะยันโต  สะวิชชุโก
ตะทา  โส  ปัจจุทาวัตติ                                สังกุทโธ  อะสะยัง  วะเส
ตัญจะ  สัพพัง  อะภิญญายะ                        วะวักขิตํวานะ  จักขุมา
ตะโต  อามันยะติ  สัตถา                             สาวะเก  สาระเน  ระเต
มาระเสนา  อะภิกกันตา                              เต  วิชานาถะ  ภิกขะโว
เต  จะ  อาตัปปะมะกะรุง                            สุตํวา  พุทธัสสะ  สาสะนัง
วีตะราเคหิ  ปักกามุง                                   เนสัง  โลมัมปิ  อิญชะยุง
สัพเพ  วิชิตะสังคามา                                  ภะยาตีตา  ยะสัสสิโน
โมทันติ  สะหะ  ภูเตหิ                                 สาวะกา  เต  ชะเนสุตาติ ฯ
คำแปลท้ายมหาสมัยสูตร
หมู่เทวดา ๖๐ เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกำหนดชื่อ และ เทวดาเหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกันด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักเห็นพระนาค ผู้ปราศจากชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอันข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะ ข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น. ฯ

สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์ ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม และติสสพรหมแม้นั้น ก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวมหาพรหมย่อมปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา พรหม ๑๐ พวก ผู้เป็น อิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น มารเสนา ได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้ง พระอินทร์พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่าท่านจงดูความเขลาของมาร พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับ เทวดาเหล่านี้ผูกไว้ ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป พระยามารบังคับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำรามอยู่ พร้อมทั้งฟ้าแลบ ฉะนั้น เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไป ในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว พระศาสดาผู้มีพระจักษุทรงพิจารณาทราบเหตุนั้นทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดำรัสสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขนของท่านให้ไหว (พระยามารกล่าวสรรเสริญว่า) พวกสาวกของพระองค์ทั้งหมดชนะสงครามแล้ว ล่วงความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชน บันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา ดังนี้แล. ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อภิธัมมนิทาน

อภิธัมมนิทาน
กะรุณา  วิยะ  สัตเตสุ                                   ปัญญายัสสะ  มะเหสิโน
เญยยะธัมเมสุ  สัพเพสุ                                ปะวัตติติตถะ  ยะถารุจิง
ทะยายะ  ตายะ  สัตเตสุ                               สะมุสสาติหะมานะโส
ปาฎิเหราวะสานัมหิ                                     วะสันโต  ติทะสาละเย
ปาริจฉัตตะกะมูลัมหิ                                   ปัณฑุกัมพะละนามะเก
จักกะวาฬสะหัสเสหิ                                    ทะสะหาคัมมะ  สัพพะโส
สันนิสินเนนะ  เทวานัง                               คะเณนะ  ปะริวาริโต
มาตะรัง  ปะมุขัง  กัตํวา                              ตัสสา  ปัญญายะ  เตชะสา
อะธัมมะกะถัง  มัคคัง                                  เทวานัง  สัมปะวัตตะยิ
ตัสสะ  ปาเท  นะมัสสิตํวา                          สัมพุทธัสสะ  สิรีมะโต
สัทธัมมัญจัสสะ   ปูเชตํวา                          กัตํวา  สังฆัสสะ  จัญชะลิง
นิปัจจะการัสเส   ตัสสะ                              กะตัสสะ  ระตะนัตตะเย
อานุภาเวนะ  โสเสตํวา                                อันตะราเย  อะเสสะโต
อิติ  เม  ภาสะมานัสสะ                                อะภิธัมมะกะถัง   อิมัง
อะวิกขิตํวา  นิสาเมถะ                                ทุลละภา  หิ  อะยัง  กะถา  ฯ
            เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  เทเวสุ  วิหะระติ  ตาวะติงเสสุ  ปาริจฉัตตะกะมูลัมหิ  ปัณฑุกัมพะละสิลายัง   ตัตํระ  โข  ภะคะวา  เทวานัง   ตาวะติงสานัง   อะภิธัมมะกะถัง  กะเถสิ
            จิตตะวิภัตติรูปัญจะ                         นิกเขโป   อัตถะโชตะนา

            คัมภีรัง  นิปุฌัง  ฐานัง                      ตัมปิ  พุทเธนะ  เทสิตัง ฯ 



เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์*แล้ว
ก็ทรงพระพุทธองค์ก็เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อไปโปรดพระพุทธมารดาต่อไป

คำแปล
ดังข้าพเจ้า(พระอานนท์)ได้สดับรับฟังมาอย่างนี้ว่าในสมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่พระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์  ณ  โคนต้นปาริฉัตร**  บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก  ท่ามกลางหมู่เทวดาแลพรหมทั้งหลาย
สมัยนั้นพระพุทธเจ้า  ได้แสดงพระอภิธรรมคาถาแก่  พระพุทธมาดาและพรหมเทพทั้งหลาย  บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกดังนี้
การจำแนกจิตก็ดี  การตั้งลงซึ่งรูปก็ดี  ถ้อยคำอันส่องเนื้อความให้ชัดเจนก็ดี  ฐานะอันละเอียดลึกซึ้งคือพระนิพพานก็ดี   พระผู้มีพระถาคเจ้าทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมนั่นแล 

*ยมกปาฏิหาริย์  คือ  การทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่าง ๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงพระอาการสลับกันกับพระพุทธองค์  เมื่อตั้งปัญหาถามพระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้สลับกันไป โดยไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นองค์จริง  องค์ไหนเป็นรูปเนรมิต

**จะเรียกว่าต้นปาริชาติ หรือต้นทองหลางก็ได้

ปฐมพุทธะวะจะนะ

ปฐมพุทธะวะจะนะ
อะเนกะชาติสังสารัง                                   สันธาวิสสัง  อะนิพพิสัง
คะหะการัง  คะเวสันโต                              ทุกขา  ชาติ  ปุนัปปุนัง
คะหะการะกะ  ทิฎโฐสิ                               ปุนะ  เคหัง  นะ  กาหะสิ
สัพพา  เต  ผาสุกา  ภัคคา                            คะหะกูฏัง   วิสังขะตัง

วิสังขาระคะตัง   จิตตัง                               ตัณหานัง   ขะยะมัชฌะคะติ  ฯ

แปลปฐมพุทธะวะจะนะ

( ปฐมพุทธภาษิตคาถาหรืออะเนกะชาติสังสารัง )


อเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง, 
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสาร เป็นอเนกชาติ 

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง 
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัวตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นความทุกข์ร่ำไป 

คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ 
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป 

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะยัง 
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนของเรา ก็รื้อทิ้งเสียแล้ว 

วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา. 
จิตของเราพ้นจากอุปาทานในขันธ์แล้ว เป็นสถาพที่ปรุงแต่งต่อไป ไม่ได้อีก


เราได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นแห่งตัณหา (คือความพ้นทุกข์จากการไม่เกิดในภพใดอีก) 

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภัทเทกะรัตตะคาถา

ภัทเทกะรัตตะคาถา
อะตีตัง  นานวาคะเมยยะ                            นัปปะฎิกังเข   อะนาคะตัง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง                                  อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตัง
ปัจจุปปันนัญจะ  โย  ธัมมัง                         ตัตถะ  ตัตถะ  วิปัสสะติ
อะสังหิรัง  อะสังกุปปัง                              ตัง  วิทธา  มะนุพํรูหะเย
อัชเชวะ  กิจจะมาตัปปัง                              โก  ชัญญา  มะระณัง สุเว
นะ  หิ  โน  สังคะรันเตนะ                           มะหาเสเนนะ  มัจจุนา
เอวัง   วิหาริมาตาปิง                                   อะโหรัตตะมะตันทิตัง

ตัง  เว  ภัทเทกะรัตโตติ                               สันโต  อาจิกขะเต  มุนีติฯ


คำแปล
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่าผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม