วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปริจเฉทที่ ๒

ปริจเฉทที่ ๒
ดุสิตปริวรรต
พระโพธิสัตว์รับเชิญจุติจากภพดุสิต
สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงพระมหากรุณาแก่สัตว์โลก ปรารถนาจะรื้อสัตว์ให้พ้นจากห้วง
มหรรณพสงสาร แลละเสียซึ่งจักรพรรดิราชสมบัติอันจะมาถึงใน ๗ วัน มิได้ทรงพระอาลัย ดุจก้อนเขฬะอัน
ข้องอยู่ในปลายพระชิวหา พระหฤทัยปรารถนาจะถือเอาซึ่งผล คือพระสัพพัญํุตญาณในไม้กัลปพฤกษ์ คือ

พระสมดึงสบารมี มีดอกอันบานคือเบญจมหาบริจาค แลตั้งอยู่เหนือภูมิภาค กล่าวคือไตรพิธสมบัติทั้งสาม
พระพุทธเจ้าของพวกเราทรงตั้งความปรารถนา
และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งสมัยพระพุทธทีปังกรเจ้า
จึงมีคําปุจฉาว่า กิริยาที่พระสัพพัญํูปรารถนาพระสัพพัญํุตญาณเป็นดังฤา? วิสัชนาว่าพระบรมโพธิสัตว์แห่งเรา เมื่ออดีตภพที่สุด ๔ อสงไขยแสนกัป นับถอยหลังไปแต่มหาภัทกัปนี้ บังเกิดเป็นพระสุเมธดาบสได้พบพระพุทธทีป๎งกรเจ้า แลละเสียซึ่งพระอรหัตอันจะบรรลุในสํานักพระพุทธองค์โดยแท้ ปรารถนาพระสัพพัญํุตญาณและได้พุทธพยากรณ์แล้ว ทรงบําเพ็ญเบญจมหาบริจาคแลพระสมดึงสบารมีมีทานเป็นต้น ในชาติกันดารอันจะนับจะประมาณมิได้พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวสรรเสริญพระบารมีโดยสารพระคาถาว่า ทาน   สีลญฺจ  เนกฺขมฺม เป็น
อาทิ อรรถาธิบายความว่า ด้วยบารมี ๑๐ ทัศ แลพระบรมโพธิ์สัตว์ทรงบําเพ็ญพระสมดึงสบารมีทั้งปวง คือ

พระทศบารมี ๑๐ พระทศอุปบารมี ๑๐ พระทศปรมัตถบารมี ๑๐ แลปลูกซึ่งบุญพีชนะจะบริโภคซึ่งผล ยังฉายาแห่งกุศลพฤกษ์ให้ร่มเย็นแก่มหาชนทั้งหลาย ครุวนาดุจปลูกซึ่งอัมพพฤกษ์
บารมี ๓๐ ครบถ้วนสมัยเป็นพระเวสสันดร
พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวนัยอุปมาด้วยพระคาถาว่า ตเถวส สารปเถ  ชนาน เป็นอาทิ
อรรถาธิบายความว่า ชนทั้งหลายใดๆ จะนําไปซึ่งทรัพย์แลองค์แลชีวิตแห่งพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์บมิได้เอื้อเฟื้อแก่พระองค์ ทรงบําเพ็ญซึ่งมูลปณิธิกุศลจนสําเร็จดุจใด ด้วยพระทัยปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์แก่นรชนทั้งหลาย อันท่องเที่ยวอยู่ในสงสารมรรคาดุจนั้น แต่พระองค์ให้พระโลหิตเป็นทานก็มากกว่ากระแสน้ำในมหาสาครทั้ง ๔ แต่ให้พระมังสะเป็นทาน ก็อาจยังพื้นแผ่นมหาปฐพีให้พ่ายแพ้ แต่ตัดพระเศียรกับทั้งพระเกศโมลีให้เป็นทาน ก็ประมาณสูงกว่าเขาพระสิเนรุราช แต่ควักพระเนตรให้เป็นทาน ก็มากกว่าดวงดาราในนภากาศ แลจําเดิมแต่บําเพ็ญกฤษฎาภินิหาร แต่บาทมูลสมเด็จพระพุทธทีป๎งกรเป็น

ต้น แต่บําเพ็ญพระสมดึงสบารมีมาสําเร็จลงในชาติเป็นพระเวสสันดรนั้น
ทรงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
ได้อานิสงส์ ๑๘ ประการ

บัดนี้ จะรับพระราชทานแทรกความเข้าให้พิสดาร ตามพระบาลีในคัมภีร์ชินมหานิทานว่า สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคแห่งเราได้พยากรณ์ในสํานักพระสัพพัญํูพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธทีป๎งกรเป็นต้น จนพระพุทธกัสสปเป็นปริโยสาน และทรงก่อสร้างกฤษฎาภินิหารมาได้ซึ่งอานิสงส์เป็นอันมาก จึงมีคําปุจฉาว่า อานิสงส์แห่งองค์พระบรมโพธิสัตว์นั้นเป็นดังฤา? วิสัชนาโดยพระคาถาว่า เอว  สพฺพงฺคสมฺปนฺนา เป็นอาทิ แปลเนื้อความว่า นรชาติทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยบารมีทั้งปวง เที่ยงที่สําเร็จแก่ พระโพธิญาณ แลสังสรณาการไปในสังสารวัฏนับด้วย ๑๐๐ โกฏิเป็นอันมาก ได้ซึ่งอานิสงส์ คือเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ไม่เป็นคนจักษุบอดแต่กําเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กําเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑ ไม่เป็นคนเปลี้ย ๑ ไม่เกิดในมิลักขประเทศ ๑ ไม่เกิดในท้องแห่งทาสี ๑ ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ๑ เพศไม่กลับเป็นสตรี ๑ ไม่ทําอนันตริยกรรมห้า ๑ ไม่เป็นโรคเรื้อน ๑ เมื่อเกิดในกําเนิดแห่งสัตว์เดียรัจฉานกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และไม่ใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตแลนิชฌามตัณหิกเปรต แลกาลกัญชิกาสูร ๑ ไม่เกิดในอวีจิมหานรกแลโลกันตริกนรก ๑ เมื่อเกิดในกามาพจรไม่เป็นมาร ๑ เมื่อเกิดในรูปาพจรภพไม่เกิดในสุทธาวาสภพ ๑ ไม่เกิดในอรูปภพ ๑ ไม่ย่างก้าวไปสู่จักรวาฬอื่น ๑ เมื่อบังเกิดเป็นมนุษย์ในภพใดๆ ก็มีพระทัยยินดีที่จะบรรพชา แลประพฤติในจริยาทั้ง ๓ มีญาตัตถจริยาเป็นอาทิ แลทรงบําเพ็ญพระบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ มีพระทานบารมีเป็นต้น พระอุเบกขาบารมีเป็นที่สุด
ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมี ๓ ระดับของพระโพธิสัตว์
พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาว่า ทเสว ปารมี โหนฺติ เป็นอาทิ แปลเนื้อความว่า กิริยาที่ทรงสั่งสมพระบารมีเพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณจัดเป็นสิ่งละ ๓ ประการ คือพระบารมี ๑๐ แลอุปบารมี ๑๐ แลปรมัตถบารมี ๑๐ แลทรงบําเพ็ญทานในชาติเป็นเวลาพราหมณ์เป็นอาทินั้น จัดเป็นทานบารมี ทรงควักพระเนตรให้เป็นทานในชาติเป็นพระยาสีวิราชนั้น จัดเป็นทานอุปบารมี ทรงสละชีวิตให้เป็นทานในชาติเป็นพญาสสบัณฑิตนั้น จัดเป็นทานปรมัตถบารมีทรงบําเพ็ญศีล ในชาติเป็นพญาสีลวกุญชรราชนั้น จัดเป็นสีลบารมี ในชาติเป็นพญาภูริทัตนาคินทรราชนั้น จัดเป็นสีลอุปบารมี ในชาติเป็นพญาสังขบาลนาคราชนั้น จัดเป็นสีลปรมัตถบารมีทรงบําเพ็ญเนกขัมบรรพชา ในชาติเป็นพระอโยฆรราชกุมารนั้น จัดเป็นเนกขัมบารมี ในชาติเป็นพระหัตถิปาลกุมารนั้น จัดเป็นเนกขัมอุปบารมี ในชาติเป็นพระยาจุลสุตโสมราชนั้น จัดเป็นเนกขัมปรมัตถบารมี  ทรงพระปรีชาญาณในชาติเป็นสัมภวกุมาร จัดเป็นป๎ญญาบารมี ในชาติเป็นวิธุรบัณฑิตอมาตย์จัดเป็นป๎ญญาอุปบารมี ในชาติเป็นเสนกบัณฑิตพราหมณ์ จัดเป๋นป๎ญญาปรมัตถบารมีทรงพระวิริยภาพในชาติเป็นพญามหากระปิราช จัดเป็นวิริยบารมี ในชาติเป็นพระยาสีลวมหาราช จัดเป็นวิริยอุปบารมี ในชาติเป็นพระยามหาชนกราช จัดเป็นวิริยปรมัตถบารมี ทรงพระขันติธรรม ในชาติเป็นพระจุลธรรมบาลราชกุมาร จัดเป็นขันติบารมี ในชาติเป็นพระธรรมิกเทวบุตร จัดเป็นขันติอุปบารมี ในชาติเป็นพระขันติวาทีดาบส จัดเป็นขันติปรมัตถบารมีทรงกระทําสัจกิริยา ในชาติเป็นสกุณโปฎกนกคุ่มนั้น จัดเป็นสัจบารมี ในชาติเป็นพญามัจฉาปลาช่อนนั้น จัดเป็นสัจอุปบารมี ในชาติเป็นพระยามหาสุตโสมราช จัดเป็นสัจปรมัตถบารมี ทรงกระทําอธิฏฐาน ในชาติเป็นพญากุกกุรราช จัดเป็นอธิฏฐานบารมี ในชาติเป็นมาตังคจัณฑาล  บัณฑิต จัดเป็นอธิฏฐานอุปบารมี ในชาติเป็นมูคผักกบัณฑิตคือพระเตมิยราชกุมารนั้น จัดเป็นอธิฏฐานปรมัตถบารมีทรงเจริญพระเมตตา ในชาติเป็นสุวรรณสามดาบส จัดเป็นเมตตาบารมี ในชาติเป็นพระกัณหาทีปายนดาบส จัดเป็นเมตตาอุปบารมี ในชาติเป็นพระยาเอกราช จัดเป็นเมตตาปรมัตถบารมีทรงประพฤติอุเบกขาในชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต จัดเป็นอุเบกขาบารมี ในชาติเป็นพญามหิสราชจัดเป็นอุเบกขาอุปบารมี ในชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต จัดเป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี

สิริเป็นสมดึงสบารมี ๓๐ ทัศบริบูรณ์มิได้ยิ่ง
สมัยเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรพระบารมีครบถ้วน
จุติแล้วอุบัติในดุสิตเทวโลก
แลในชาติเป็นพระเวสสันดรนั้น ทรงบําเพ็ญพระบารมีทั้ง ๑๐ พร้อมทุกประการมิได้เศษ แลกาลเมื่อพระชนมายุได้ ๘ พระพรรษา มีพระทานัธยาศัยดําริจักให้อัชฌัตติกทาน แลกาลเมื่อพระราชทานเศวตกุญชรป๎จจัยนาค แลกาลเมื่อทรงปริจาคสัตตสดกมหาทาน แลกาลเมื่อต้องป๎พพาชานียกรรมออกจากพระนคร แลกาลเมื่อบริจาคบุตรทานแลภริยาทาน แลกาลเมื่อสมาคมแห่งหกกษัตริย์ในท้องคิรีวงกต มหาปฐพีก็กัมปนาททุกครั้งถ้วนถึงคํารบ ๗ ครั้งเป็นมหามหัศจรรย์ เหตุนั้นจึ่งตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ในคัมภีร์จริยาปิฎกด้วยบาทพระคาถาว่า อเจตนาย  ปฐวี เป็นอาทิ อรรถาธิบายก็คล้ายกับความหลัง ทรงบําเพ็ญพระสมดึงสบารมีบริบูรณ์ในชาติเป็นพระยามหาเวสสันดร เบื้องหน้าแต่นั้นก็เป๐นป๎จฉิมภวิกชาติได้ตรัสแก่พระสัพพัญํุตญาณสําเร็จพุทธภูมิบารมีแลในชาติเป็นพระเวสสันดรนั้น กาลเมื่อวันประสูติ ตรัสแก่พระมารดาว่าจะบําเพ็ญทาน แลทรงบริจาคมหาทานทั้งหลาย ดุจนัยพรรณนามาแล้วจัดเป็นพระทานบารมี แลกาลเมื่อทรงสถิตอยู่ในฆราวาสทรงรักษาเบญจางคิกศีลเป็นนิจแลรักษาอุโบสถศีลทุกๆ กึ่งเดือน จัดเป็นพระสีลบารมี กาลเมื่อเสด็จออกจากพระนครสละเสียซึ่งกามคุณ ทรงบรรพชาเป็นดาบสอยู่ในอรัญประเทศนั้น จัดเป็นพระเนกขัมบารมีกาลเมื่อทรงพระดําริจักให้อัชฌัตติกทานแต่ยังสถิตอยู่ในทารกภูมิ แลเมื่อพระราชทานสองพระโอรสแก่ชูชกพราหมณ์กอปรด้วยพระวิจารณญาณ บรรเทาเสียซึ่งความรักแลความโศกแต่บุตรวิโยคนั้นจัดเป๐นพระป๎ญญาบารมี กาลเมื่อเสด็จดํารงราชสมบัติทรงพระอุตสาหะเสด็จออกสู่ฉทานศาลาทุกๆ กึ่งเดือนมิได้ขาด แลกาลเมื่อออกทรงพาหิรบรรพชา อุตสาหะบูชาเพลิง เพื่อจักบํารุงซึ่งเตโชกสิณภาวนานั้น จัดเป๐นพระวิริยบารมี กาลเมื่อพระราชบิดาตรัสสั่งให้นฤเทศพระองค์เสียจากพระนครด้วยคําชาวสีวิราษฎร์ยกโทษมิได้มีความพิโรธในพระราชบิดร แลกาลเมื่อพราหมณ์ตีพระโอรสทั้งสองอดกลั้นเสียซึ่งความโกรธในพราหมณ์ จัดเป็นพระขันติบารมีกาลเมื่อตรัสปฏิญาณจะให้อัฐิทานแลบุตรแก่พราหมณ์ แล้วก็ทรงเสียสละบริจาคให้โดยสัตย์ มิได้ตรัสกลับกลอกล่อลวงนั้น จัดเป็นพระสัจบารมี กาลเมื่อทรงพระสมาทานมั่นมิได้กระทําในพระทัยเสน่หาอาลัยในพระราชบุตรอันทรงสละให้เป็นทาน แลกาลเมื่อทอดพระเนตรเห็นหมู่สกเสนา สําคัญว่าข้าศึกสะดุ้งแต่มรณภัย พระมัทรีทูลเล้าโลมพระทัยแล้วเสด็จลงจากยอดบรรพตกระทําพระทัยมั่น มิได้หวั่นไหวแต่ภัยนั้น จัดเป็นพระอธิฏฐานบารมีกาลเมื่อแผ่พระเมตตาไปแก่ชาวกลึงคราษฎร์ พระราชทานกุญชรทาน แลกาลเมื่อสถิตในวงกตแผ่พระเมตตาทั่วไปแก่สรรพสัตว์จตุบททวิบาทนั้น จัดเป็นพระเมตตาบารมี กาลเมื่อตัดเสียซึ่งเสน่หาในพระปิยบุตรแลมิได้โกรธแก่พราหมณ์ ตั้งพระทัยเป๐นมัชฌัตตารมณ์ท่ามกลางไม่รักไม่ชังแก่ผู้ใดนั้น จัดเป็นพระอุเบกขาบารมีแลพระมหาบุรุษบําเพ็ญพระบารมีสําเร็จในชาติเป็นพระเวสสันดรนั้น ครั้นสิ้นพระชนมายุก็จุติไปบังเกิดเป็นสันดุสิตเทวราช เสวยทิพยสมบัติอยู่ในชั้นดุสิตเทวโลกกําหนดอายุถึง ๕๗ โกฏิกับ ๖๐ แสนปีในมนุษย์นี้ นับเป็นปีในชั้นดุสิตได้ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์มิได้หย่อน
เมื่อบารมีครบถ้วนแล้ว
จึงทรงอยู่ในดุสิตภพครบ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์

       บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ตามเรื่องความในดุสิตปริวรรคเดิมนั้นสืบต่อไปในลําดับนี้พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาซ้ําสรรเสริญพระบารมีอีกสองบทว่า คมฺภีรปารทานาทิ เป็นอาทิอรรถาธิบายว่า พระมหาสัตว์ทรงบําเพ็ญพระบารมีทั้ง ๑๐ มีทานเป๐นต้นเหมือนดุจฝ๎งมหาสาครอันลึก ทรงว่ายข้ามด้วยกําลังถึงฝ๎งสงสารมหรรณพด้วยบริจาคภริยาทานคือพระมัทรี ยังพระทศบารมีให้สําเร็จแล้วเสด็จสถิตในดุสิตเทวพิภพบรรลุซึ่งกาลอันแก่กล้าแห่งพระโพธิญาณ เทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาให้จุติลงสู่พระครรภ์แห่งพระพุทธมารดาในป๎จฉิมชาตินั้นแท้จริง พระมหาบุรุษราชเจ้าเบื้องว่าบําเพ็ญพระบารมียังมิได้บริบูรณ์ แม้ถึงจะบังเกิดในดุสิตเทวโลก ก็มิได้สถิตอยู่จนตราบเท่าสิ้นพระชนมายุเหตุฤา? เหตุใดในเทวพิภพนั้นยากที่จะบําเพ็ญพระบารมีให้บริบูรณ์ได้ ย่อมกระทําอธิมุตตกาลกลั้นพระทัยให้วายชีพจุติลงมาเกิดในมนุษยโลกจะได้สืบสร้างพระบารมีให้บริบูรณ์ ในกาลครั้งนั้น พระบารมีนั้นแก่กล้าบริบูรณ์อยู่แล้ว อาจสามารถจะได้ตรัสแก่พระสัพพัญํุตญาณในอนันตรภพเป็นแท้ จึงเสด็จสถิตอยู่ในดุสิตเทวโลกตราบเท่าถ้วนกําหนดชนมายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์
สุทธาวาสพรหมแจ้งข่าวแก่มนุษย์ว่าอีกแสนปี
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ เกิดพุทธโกลาหล

ล้ำโกลาหล ๕ ประการอันมีในโลก คือ กัปโกลาหล ๑ พุทธโกลาหล ๑ จักรวรรดิโกลาหล ๑ มงคล  โกลาหล ๑ โมไนยโกลาหล ๑ ในกาลนั้น สุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายประดับซึ่งพรหมอาภรณ์อันเป็นทิพย์ ลงมาเที่ยวทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุอุโฆษณาการซึ่งเหตุแห่งพุทธโกลาหลแก่มนุษย์ว่า ดูกรท่านทั้งหลายผู้นฤทุกข์ เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอีกแสนปี พระสัพพัญํูจะบังเกิดในโลกถ้าจะใคร่พบเห็นจงเว้นจากเบญจพิธเวรทั้ง ๕ อุตส่าห์บําเพ็ญทานรักษาศีลเจริญภาวนา กระทําการกุศลต่างๆเหตุดังนั้น เทพยดาแลพรหมทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ ได้สดับซึ่งพุทธโกลาหลดังนี้จึงสโมสรสันนิบาตปรึกษาแก่กันว่าสัตว์ผู้ใดหนอจะได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูในโลก
หมู่เทพรู้ว่าสันตุสิตเทพบุตรจะเป็นพระพุทธเจ้า
จึงเข้าเฝ้าทูลเชิญจุติ
ครั้นลุกาลแสนปีล่วงไป ป๎ญจบุพนิมิตทั้ง ๕ ก็บังเกิดมีแก่พระมหาสัตว์ คือทิพยบุปผาที่ประดับพระกายนั้นเหี่ยวแห้ง ๑ ทิพยพัสตรภูษาที่ทรงนั้นมีสีอันเศร้าหมอง ๑ พระเสโทบังเกิดไหลออกจากพระกัจฉประเทศ ๑ พระสรีรกายกอปรด้วยอาการชราปรากฏ ๑ มีพระทัยพระสันเป็นทุกข์เหนื่อยหน่ายจากเทวโลกมิได้มีความยินดีที่จะสถิตย์ในทิพยอาสน์นั้น ๑
เมื่อป๎ญจบุพนิมิตบังเกิดแก่พระมหาสัตว์ดังนี้ เทพยเจ้าทั้งหลายก็รู้แจ้งประจักษ์ว่าสันตุสิตเทวราชองค์นี้ คือองค์พระสัพพัญญูโพธิสัตว์อันจะได้ตรัสในโลกเป็นแท้ แลท้าวมหาพรหมทั้งหมื่นจักรวาฬกับฉกามาพจรเทวราชทั้ง ๖ ชั้น แลท้าวจาตุมหาราชจักรวาฬละสี่ๆ สิริเป็นท้าวมหาราช ๔ หมื่นพระองค์

แลเทพยดาทั้งหลายอันเศษชวนกันมาสันนิบาตในมงคลจักรวาฬนี้ พาเอาเทพยเจ้าในจักรวาลนี้มีสมเด็จอมรินทราธิราชเป็นอาทิไปสู่ดุสิตเทวโลก เข้าสู่ทิพยวิมานแห่งพระโพธิสัตว์กราบทูลอาราธนา เหตุดังนั้น พระสัพพัญญูเมื่อได้ตรัสรู้แล้วจึงบัณฑูรพระคาถาสำแดงเหตุในหนหลังว่า ยทา ห ตุสิเต กาเย เป็นอาทิ แปลเนื้อความว่า กาลเมื่อตถาคตเป็นสันตุสิตเทวราชอยู่ในดุสิตเทวโลก เทพยบรรษัทมาทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีเพียรเป็นอันมาก กาลบัดนี้สมควรที่พระองค์จะจุติลงไปบังเกิดในมาตุคัพโภทร จะได้ขนข้ามสัตวนิกรในมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้พ้นจากโอฆสงสารวัฏ ให้ได้ตรัสรู้ซึ่งทางปฏิบัติอันจะเข้าสู่พระอมตมหานฤพาน แล้วมีคำอธิบายสืบต่อไปว่าเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬ มายกขึ้นซึ่งทศนขสโมธานสมุชลิตอัญชลีทูลอาราธนาวิงวอนพระมหาบุรุษราชเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ พระองค์ทรงบำเพ็ญพระทศบารมีมา ใช่จะปรารถนาซึ่งสักกสมบัติแลมารสมบัติ พรหมสมบัติแลจักรวรรดิสมบัตินั้นหามิได้ ตั้งพระทัยปรารถนาซึ่งภาวะจะตรัสเป็นพระสัพพัญญูจะกู้ขนสัตวโลกให้บรรลุพระอมตมหานฤพาน เหตุดังนั้น กาลบัดนี้ก็เป็นสมัยเพื่อประโยชน์ จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้โปรดสัตว์โลกในครั้งนี้
สันตุสิตเทพทรงใคร่ครวญอันยิ่งใหญ่ ๕ ประการ
ในลำดับนั้น สมเด็จพระมหาสัตว์ยังมิได้รับปฏิญาณแก่เทพยนิกรอันมาทูลอาราธนา ทรงพิจารณาดูซึ่งป๎ญจมหาวิโลกนะทั้ง ๕ ประการ ด้วยสามารถทรงกำหนดซึ่งกาลแลทวีป แลประเทศ และตระกูลกับทั้งพระมารดา
แลพิจารณาดูซึ่งกาลทั้งนั้นเป็นปฐมว่า กาลเมื่ออายุแห่งสัตว์ในมนุษยโลกเจริญมากขึ้นไปกว่าแสนปีก็ใช่กาลที่พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลกเหตุฤา? เหตุว่า สัตว์ทั้งหลายจะมิได้รู้ซึ่งชาติ ชรา มรณะ มากไปด้วยความประมาทในสันดาน เบื้องว่าพระศาสดาจารย์จะตรัสเทศนาซึ่งพระไตรลักษณ์ก็จะไม่สำคัญสัญญาที่จะสดับจักมิได้เชื่อฟ๎ง อภิสมัยมรรคผลก็จักมิได้บังเกิด พระพุทธศาสนาก็จะมิได้เป็นนิยานิกธรรม เหตุดังนั้นจึงใช่กาลที่พระพุทธเจ้าจะบังเกิดในโลก ประการหนึ่ง กาลเมื่ออายุสัตว์ลดถอยน้อยลงไปกว่า ๑๐๐ ปี ก็ใช่กาลที่พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก เหตุฤา? เหตุว่าสัตว์ทั้งหลายในกาลนั้นมีสันดานหนาไปด้วยกิเลส จะมิได้ตั้งอยู่ในพุทธานุศาสนกถา ครุวนาดุจเอาท่อนไม้ขีดลงในน้ำพลันที่จะอันตรธานมิได้ปรากฏ เหตุดังนั้นใช่กาลที่พระสุคตจะบังเกิดในโลก แลกาลเมื่ออายุสัตว์ตั้งอยู่จำเดิมแต่แสนปีลงมาตราบเท่ากำหนด ๑๐๐ ปี จะมีสันดานสดับรับรสพระสัทธรรมควรแก่กาลที่พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก เมื่อพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาเห็นอายุสัตว์ในกาลนั้นตั้งอยู่ ๑๐๐ ปีเป็นกำหนดเห็นสมควรที่จะจุติลงไปบังเกิด
แล้วทรงพิจารณาดูซึ่งทวีปทั้ง ๔ เห็นทวีปทั้ง ๓ มิได้เป็นที่บังเกิดแห่งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบังเกิดแต่ในชมพูทวีปอันเดียวทุกๆ พระองค์
แล้วทรงพิจารณาซึ่งประเทศสืบต่อไป เห็นในมัชฉิมประเทศเป็นที่บังเกิดแห่งพระอริยเจ้าทั้งปวง มีพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นอาทิ อนึ่ง สมเด็จบรมจักรพรรดิแลกษัตริย์พราหมณ์คหบดีมหาศาล มเหสักข์ที่มีบุญมาก ก็ล้วนบังเกิดแต่ในมัชฌิมประเทศนั้นทั้งสิ้น จะได้บังเกิดในประจันตประเทศทั้งปวงนั้นหามิได้ และกรุงกบิลพัสดุ์ประดิษฐานอยู่ในที่ภูมิภาคแห่งมัชฌิมประเทศ ควรที่อาตมาจะบังเกิดในพระนครนั้น
แล้วทรงพิจารณาดูซึ่งตระกูลสืบไปว่า ธรรมดาพระสัพพัญญูเจ้า จะได้บังเกิดในตระกูลเศรษฐี คหบดีแลพ่อค้าพ่อครัวนั้นหามิได้ ย่อมบังเกิดในตระกูลทั้งสองคือ ขัตติยตระกูล ๑ แลพราหมณตระกูล ๑ อันโลกสมมตินับถือว่าประเสริฐ กาลบัดนี้โลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ ควรที่อาตมะจะบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ แลสมเด็จพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราชนั้นจะเป็นบิดาแห่งอาตมา

แล้วทรงพิจารณาดูซึ่งพระชนนีสืบไปว่า ธรรมดาพุทธมารดาซึ่งจะเป็นสตรีมีสันดานอันต่ำช้าชาติโลเลต่างๆ มีเป็นนักเลงสุราเป็นอาทินั้นหามิได้ ย่อมบำเพ็ญพระบารมีมาถึงแสนกัปบริบูรณ์ จำเดิมแต่บังเกิดมาก็รักษาเบญจศีลบริสุทธิ์มิได้ด่างพร้อยเป็นนิจกาล ทอดพระเนตรเห็นพระสิริมหามายาราชเทวี พระอัครมเหสีกรุงสิริสุทโธทนมหาราช มีพระบารมีครบแสนกัปบริบูรณ์แล้ว ทรงรักษาเบญจศีลาจารวัตรอันบริสุทธิ์ พระราชเทวีองค์นี้จะเป็นพระมารดาแห่งอาตมา
ทรงรับคาอาราธนาจุติจากเทวดา ปฏิสนธิในพระครรภ์พระสิริมหามายา
เมื่อทรงพิจารณาซึ่งป๎ญจมหาวิโลกนะทั้ง ๕ บริบูรณ์แล้วก็กระทำสงเคราะห์แก่เทพยดาทั้งปวง โปรดประทานปฏิญาณว่า ดูกรท่านทั้งหลายผู้นฤทุกข์ กาลนี้ควรที่อาตมาจะจุติลงไปบังเกิดเป็นพระสัพพัญํูโปรดสัตวโลกทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงกลับไปสู่นิวาสฐานแห่งตนๆ เถิด
เมื่อส่งเทพยเจ้าทั้งหลายไปสิ้นแล้ว ก็เสด็จแวดล้อมด้วยเทพยบริวารไปสู่ทิพยนันทวันอุทยาน อันมีในดุสิตเทวโลก เสด็จเที่ยวประพาสชมซึ่งทิพยพฤกษชาติมีพรรณต่างๆ เทพยบริวารทั้งหลายกราบทูลตักเตือนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขออัญเชิญเสด็จพระองค์จงจุติจากดุสิตเทวโลกนี้เถิด จงไปบังเกิดในมนุษย์สุคติจะได้ตรัสเป็นพระสัพพัญํูโปรดสัตวโลก แล้วก็ทูลสรรเสริญสรรพกุศลซึ่งทรงบำเพ็ญสั่งสมมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาสัตว์ก็จุติในทิพยอุทยานนั้น ลงมาสู่ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระสิริมหามายาราชเทวี พระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าสุทโธทนมหาราชกรุงกบิลพัสดุ์ เหตุดังนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวนิคมคาถาในที่สุดปริเฉทว่า กตญฺชลีหิ เทวหิ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความก็ซ้ำเหมือนนัยถวายวิสัชนามาแล้วแต่หลังฯ

ดุสิตปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒ จบ