วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โภชะนะทานานุโมทะนาคาถา

โภชะนะทานานุโมทะนาคาถา
อายุโท  พะละโท  ธีโร                                             วัณณะโท  ปะฎิภาณะโท
สุขัสสะ  ทาตา  เมธาวี                                             สุขัง  โส  อะธิคัจฉะติ
อายุง  ทัตํวา  พะลัง  วัณณัง                                      สุขัญจะ  ปะฎิภาณะโท

ทีฆายุ  ยะวะวา  โหติ                                               ยัตถะ  ยัตถูปะปัชชะตีติ ฯ

โภชนทานานุโมทนาคาถาแปล
            อายุโท  พะละโท ธีโร 
ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง
วัณณะโทปะฏิภาณะโท
ให้วรรณะ  ให้ปฏิภาณ 
สุขัสสะ ทาตา  เมธาวี 
ผู้มีปัญญา ให้ความสุข 
สุขัง โส  อะธิคัจฉะติ
ย่อมได้ประสพสุข 
อายุง  ทัตวา  พะลัง  วัณณัง  สุขัญจะ  ปะฏิภาณะโท 
บุคคลผู้ให้อายุ พละ  วรรณะ สุขะ แลปฏิภาณ 
ทีฆายุ  ยะสะวา โหติ  ยัตถะ  ยัตถูปะปัชชะตีติ 

บังเกิดในที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน  มียศในที่นั้น ๆ ดังนี้

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มงคลจักรวาลน้อย

มงคลจักรวาลน้อย
            สัพพะพุทธานุภาเวนะ  สัพพะธัมมานุภาเวนะ  สัพพะสังฆานุภาเวนะ  พุทธะระตะนัง  ธัมมะระตะนัง  สังฆะระตะนัง  สังฆะระตะนัง  ติณณัง  ระตะนานัง  อานุภาเวนะ  จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ  ปิฎะกัตตะยานุภาเวนะ  ชินะสาวะกานุภาเวนะ  สัพเพ  เต  โรคา  สัพเพ  เต  ภะยะ  สัพเพ เต อันตะรายา  สัพเพ  เต  อุปัททะวา  สัพเพ  เต  ทุนนิมิตตา  สัพเพ  เต  อะวะมังคะลา  วินัสสันตุ  อายุวัฑฒะโก  ธะนะวัฑฒะโก  ยะสะวัฑฒะโก  พะละวัฑฒะโก  วัณณะวัฑฒะโก  สุขะวัฑฒะโก  โหตุ  สัพพะทาฯ
ทุกขะโรคะภะยา  เวรา                                            โสกา  สัตตุ  จุปัททะวา
อาเนกา  อันตะรายาปิ                                              วินัสสันตุ  จะ  เตชะสา
ชะยะสิทธิ  ธะนัง  ลาภัง                                          โสตถิ  ภาคํยัง  สุขัง  พะลัง
สิริ  อายุ  จะ  วัณโณ  จะ                                          โภคัง  วุฑฒี  จะ  ยะสะวา

สะตะวัสสา  จะ  อายู  จะ                                        ชีวะสิทธี  ภะวันตุ  เตฯ

คำแปล
                   ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง  ด้วยอานุภาพแห่งธรรมทั้งปวง  ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง  ด้วยอานุภาพแห่ง  รัตนะ  คือ  พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์  ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฎก  ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า  ขอโรคทั้งหลายทั้งปวงของท่าน  ขอภัยทั้งหลายทั้งปวงของท่าน  ขออันตรายทั้งหลายทั้งปวงของท่าน  ขออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงของท่าน  ขอลางร้ายทั้งปวงของท่าน ขอ อวมงคลทั้งหลายทั้งปวงของท่าน  จงพินาศไป 
                   ขอท่านจงเจริญด้วยอายุ  เจริญด้วยทรัพย์  เจริญด้วยศิริ  เจริญด้วยยศ  เจริญด้วยกำลัง  เจริญด้วยวรรณะ  เจริญด้วยสุข  ในกาลทั้งปวง     
                   ขอทุกข์  โรคภัย  และเวรทั้งหลาย  ขอความโศก  ศัตรูแลอุปัทวะ  ทั้งหลาย  ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก  จงพินาศไปด้วยเดช
                   ขอความชนะ  ความสำเร็จแห่งทรัพย์  ลาภ  ความสวัสดี  ความมีโชค  ความสุข  กำลัง  ศิริ  อายุ  และวรรณะ  โภคะ  ความเจริญแลเป็นผู้มียศ  ขอความเป็นผู้มีอายุยืนร้อยปี  และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่านฯ


วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุโมทนาวิธี

อนุโมทนาวิธี
(ผู้เป็นพระประธานเริ่มต้น)
ยะถา  วาริวะหา  ปูรา                                              ปะริปูเรนติ  สาคะรัง
เอวะเมวะ  อิโต  ทินนัง                                           เปตานัง  อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง  ปัตถิตัง  ตุมหัง                                          ขิปปะเมวะ  สะมิชฌะตุ
สัพเพ  ปูเรนตุ  สังกัปปา                                         จันโท  ปัณณะระโส  ยะถา
                                                                                    มะณิ  โชติระโส  ยะถาฯ
(รับพร้อมกัน)
สัพพีติโย  วิวัชชันตุ                                                 สัพพะโรโค  วินัสสะตุ
มา  เต  ภะวัตวันตะราโย                                         สุขี  ทีฆายุโก  ภะวะ
สัพพีติโย  วิวัชชันตุ                                                 สัพพะโรโค  วินัสสะตุ
มา  เต  ภะวัตวันตะราโย                                         สุขี  ทีฆายุโก  ภะวะ
สัพพีติโย  วิวัชชันตุ                                                 สัพพะโรโค  วินัสสะตุ
มา  เต  ภะวัตวันตะราโย                                         สุขี  ทีฆายุโก  ภะวะฯ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ                                              นิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ                                        อายุ  วัณโณ  สุขัง  พะลังฯ

แปล
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทร สาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น
ขออิฏฐะผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว  จงสำเร็จโดยฉับพลัน  ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ  เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสวควรยินดี  ความจัญไรทั้งปวงจงหายไป

โรคทั้งปวงของท่านจงหาย  อันตรายอย่ามีแก่ท่าน  ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน  พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล  ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์ ด้วยประการฉะนี้แล

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำสวดโอวาทะปาฎิโมกขาทิปาโฐ

คำสวดโอวาทะปาฎิโมกขาทิปาโฐ
            อุททิฎฐัง  โข  เตนะ  ภะคะวะตา  ชะนะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา  สัมมาสัมพุทเธนะ  โอวาทะปาฎิโมกขัง  ตีหิ   คาถาหิ
                                    ขันติ  ปะระมัง  ตะโป  ตีติกขา
                                    นิพพานัง  ปะระมัง  วะทันติ  พุทธา
                                    นะ  หิ  ปัพพะชิโต  ปะรูปะฆาตี
                                    สะมะโณ  โหติ  ปะรัง  วิเหฐะยันโต
            สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง                     กุสะลัสสูปะสัมปะทา
            สะจิตตะปะริโยทะปะนัง                            เอตัง  พุทธานะ  สาสะนัง
            อะนูปะวาโท  อะนูปะฆาโต                       ปาฎิโมกเข  จะ  สังวะโร
            มัตตัญญุตา  จะ  ภัตตัสํมิง                           ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง
            อะธิจิตเต  จะ  อาโยโค                                เอตัง  พุทธานะ  สาสะนันติ
            อะเนกะปะริยาเยนะ  โข  ปะนะ  เตนะ  ภะคะวะตา  ชะนะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา  สัมมาสัมพุทเธนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ปัญญา  สัมมะทักขาตา
            กะถัญจะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.  เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา. กะถัญจะ  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา  อิธะ  อะริยะสาวะโก  ปาณาติปาตา  ปะฎิวิระโต  โหติ  อะทินนาทานา  ปะฎิวิระโต  โหติ  กาเมสุ  มิจฉาจารา  ปะฎิวิระโต  โหติ  มุสาวาทา  ปะฎิวิระโต  โหติ  สุราเมระยะมัชชัปปะมาทัฎฐานา  ปะฎิวิระโต  โหตีติ.  เอวัง  โข  เหฏฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา  กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.  อิธะ  ภิกขุ  สีละวา  โหติ  ปาฎิโมกขะสังวะระสังวุโต  วิหะระติ  อาจาระโคจะระสัมปันโน  อะณุมัตเตสุ  วัชเชสุ  ภะยะทัสสาวี  สะมาทายะ  สิกขะติ  สิกขาปะเทสูติ  เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปาริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.
            กะถัญจะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  กะถัญจะ  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  อิธะ  อะริยะสาวะโก  โวสสัคคารัมมะณัง  กะริตํวา  ละภะติ  สะมาธิง  ละภะติ  จิตตัสเสกัคคะตันติ.  เอวัง  โข  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวาตา.  กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  อิธะ  ภิกขุ  วิวิจเจวะ  กาเมหิ  วิวิจจะ  อะกุสะเลหิ  ธัมเมหิ  สะวิตักกัง  สะวิจารัง  วิเวกะชัมปีติสุขัง  ปะฐะมัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ  วิตักกะวิจารานัง  วูปะสะมา  อัชฌัตตัง  สัมปะสาทะนัง  เจตะโส  เอโกทิภาวัง  อะวิตักกัง  อะวิจารัง  สะมาธิชัมปีติสุขัง  ทุติยัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ  ปีติยา  จะ  วิราคา  อุเปกขะโก  จะ  วิหะระติ  สะโต  จะ  สัมปะชาโน  สุขัญจะ  กาเยนะ  ปะฎิสังเวเทติ  ยันตัง  อะริยา  อาจิกขันติ  อุเปกขะโก  สะติมา  สุขะวิหารีติ  ตะติยัง  ฌานัง   อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ.สุขัสสะ  จะ  ปะหานา  ทุกขัสสะ  จะ  ปะหานา  ปุพเพ  วะ  โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมา  อะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง  จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะอะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง  จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระตีติ.เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.
            กะถัญจะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา .เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.กะถัญจะเหฎฐิเมนะ  ปะริเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.อิธะอะริยะสาวะโก  ปัญญะวา  โหติ  อุทะยัตถะคามินิยา  ปัญญายะ  สะมันนาคะโต  อะริยายะ  นิพเพธิกายะ  สัมมา  ทุกขักขะยะคามินิยาติ.  เอวัง  โข  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา. อิธะ  ภิกขุ  อิทัง  ทุกขันติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.อะยัง  ทุกขะสะมุทะโยติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.  อะยัง  ทุกขะนิโรโธติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.  อะยัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฎิปะทาติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาตีติ.เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.

            สีละปะริภาวิโต  สะมาธิ  มะหัปผะโล  โหติ  มะหานิสังโส  สะมาธิปะริภาวิตา  ปัญญา  มะหัปผะลา  โหติ  มะหานิสังสา  ปัญญาปะริภาวิตัง  จิตตัง  สัมมะเทวะ  อาสะเวหิ  วิมุจจะติ.เสยยะถีทัง.กามาสะวา  ภะวาสะวา  อะวิชชาสะวา.ภาสิตา  โข  ปะนะ  ภะคะวะตา  ปะรินิพพานะสะมะเย  อะยัง  ปัจฉิมะวาจา  หันทะทานิ  ภิกขะเว  อามันตะยามิ  โว  วะยะธัมมา  สังขารา  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทถาติ.ภาสิตัญจิทัง  ภะคะวะตา  เสยยะถาปิ  ภิกขะเว  ยานิ  กานิจิ  ชังคะลานัง  ปาณานัง  ปะทะชาตานิ  สัพพานิ  ตานิ  หัตถิปะเท  สะโมธานัง  คัจฉันติ  หัตถิปะทัง  เตสัง  อัคคะมักขายะติ  ยะทิทัง  มะหันตัตเตนะ  เอวะเมวะ  โข  ภิกขะเว  เย  เกจิ  กุสะลา  ธัมมา  สัพเพ  เต  อัปปะมาทะมูละกา  อัปปะมาทะสะโมสะระณา  อัปปะมาโท  เตสัง  อัคคะมัคขายะตีติ.ตัสํมาติหัมํเหหิ  สิกขิตัพพัง  ติพพาเปกขา  ภะวิสสามะ  อะธิสีละสิกขาสะมาทาเน  อะธิจิตตะสิกขาสะมาทาเน  อะธิปัญญาสิกขาสะมาทาเน  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทสสามาติ. เอวัญหิ  โน  สิกขิตัพพัง

คำแปล โอวาทะปาฏิโมกข์
พระผู้มีพระเจ้า  อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงยกโอวาทปาฏิโมกข์  (พระโอวาทสำคัญ)ขึ้นแสดงแล้ว  ด้วยพระคาถา  ๓ บทว่า  ความอดทน  ความอดกลั้นเป็นตบะ  (เครื่องแผดเผากิเลส)  อย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า  เป็นพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง  ผู้ทำร้ายผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต  เป็นสมณะเลย
               การไม่ทำบาปทั้งปวง  การยังกุศลให้ถึงพร้อม  การทำจิตของตนให้ผ่องใส  นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  การไม่กล่าวร้าย  การไม่ทำร้าย  ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์  ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัตตาหาร  ที่นั่งที่นอนอันสงัด  การประกอบความเพียรในอธิจิต  (คือการทำจิตให้เป้นสมาธิ)  นี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  พระผู้มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสศีล  สมาธิ ปัญญา  ไว้โดยชอบแล้ว  โดยเอนกปริยาย  ก็พระผู้มีพระภาค  ตรัสถึงศีลไว้โดยชอบแล้ว  อย่างไร พระองค์ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายเบื้องต่ำบ้าง  โดยบรรยายเบื้องสูงบ้าง  พระผู้มีพระภาค  ตรัสถึงศีลไว้แล้วโดยชอบโดยบรรยายเบื้องต่ำอย่างไร  ตรัสโดยชอบแล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในพระศาสนานี้  เว้นขาดจากปาณาติบาต  อทินนาทาน  กาเมสุมิจฉาจาร  มุสาวาท และการดื่มสุราเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
               พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสถึงศีลไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงอย่างไร  พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์  สมบูรณ์ด้วยอาจาระ  (ความประพฤติ) และโคจร  (ที่บิณฑบาตเลี้ยงชีพ) อยู่ เห็นภัยในโทษเล็กน้อย  สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย  พระผู้มีพระภาค  ตรัสแสดงสมาธิไว้โดยชอบแล้ว อย่างไร  พระองค์  ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  ทั้งโดยบรรยายอย่างต่ำและโดยบรรยายอย่างสูง  พระผู้มีภาคเจ้า  ตรัสสมาธิไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างต่ำอย่างไร 
               พระองค์ตัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในธรรวินัยนี้  ทำการสละอารมณ์ได้แล้ว  ได้สมาธิ ได้ความที่จิตเป็นเอกัคคตา  (มีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง คือไม่ฟุ้งซ่าน)  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสสมาธิไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงอย่างไร  พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  สงัดจากกามทั้งหลาย  สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว  บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร  มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่  เธอบรรลุทุติยฌาน  มีความผ่องใสแห่งใจเป็นไปในภายใน  เป็นธรรมอันเกิดผุดขึ้น  ไม่มีวิตกวิจาร  เพราะสงบวิตกวิจารไว้ได้  มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่  เธอเป็นผู้ว่างเฉย  เพราะปีติหมดไป  มีสติสัมปชัญญะอยู่  เสวยสุขด้วยนามกาย  บรรลุตติยฌาน  ซึ่งพระอริยบุคคลทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้วางเฉย  มีสติ  มีปกติอยู่ด้วยสุขวิหารธรรม  (คือธรรมะเครื่องให้อยู่อย่างสงบสุข)  เธอบรรลจตุตถฌาน  อันไรทุกข์ไร้สุข  มีอุเบกขาและความบริสุทธิ์แห่งสติ  เพราะละสุขทุกข์เสียได้  เพราะดับโสมนัส  (ความดีใจ)  และโทมนัส (ความเสียใจ)  ตั้งแต่ตอนแรกเสียได้
              พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้วอย่างไร  พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว  ทั้งโดยบรรยายอย่างต่ำ  และโดยบรรยายอย่างสูง  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างต่ำอย่างไร  พระองค์ตรัสไว้โดยชอบแล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้มีปัญญา  พร้อมด้วยปัญญาเครื่องดับกิเลส  ปัญญาเครื่องแทงกิเลสชั้นยอด  อันเป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้อย่างดี  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงไว้อย่างไร  พระองค์ตรัสไว้แล้วโดยชอบ  อย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  รู้ชัดความเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้สมุทัย เหตุเกิดทุกข์  นี้ทุกขนิโรธ  ความดับทุกข์  นี้ทุกข์นิโรธคามีนีปฏิปทา  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้
            สมาธิที่ศีลอบรมมีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่  ปัญญาที่สมาธิอบรมมีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่  จิตที่ปัญญาอบรม  ย่อมพ้นจากอาสวะกิเลส  คืออาสวะที่เกิดจากกาม  อาสวะที่เกิดจากภพ  อาสวะที่เกิดจากอวิชชา  ก็ในเวลาใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระผู้มีพระภาค  ตรัสพระวาจาเป็นครั้งสุดท้าย (ปัจฉิมวาจา)  ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราขอเตื่อนพวกเธอ  สังขารทั้งหลาย  มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา  ขอพวกเธอจงยังชีวิตให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด   พระองค์ตรัสเปรียยบเที่ยบไว้ดังนี้ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่คืบคลานไปบนแผ่นดิน  รอยเท้าเหล่านั้นทุกชนิดรวมลงที่รอยเท้าช้าง  บัณฑิตกล่าว่า  รอยเท้าช้างเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น  เพราะว่าใหญ่ข้อนี้ฉันใด
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย  กุศลธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  เหล่านั้นทั้งหมดมีความไม่ประมาท  เป็นเค้ามูล  รวมลงที่ความไม่ประมาท  บัณฑิตกล่าวกล่าวความไม่ประมาทว่า  เป็นยอดแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น  เพราะเหตุนั้น  พวกเราพึงทำความศึกษาว่า  เราจักเป็นผู้มีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้า  จักทำชีวิตให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทในการศึกษาสมาทานในอธิศีล  ในอธิจิต ในอธิปัญญา


บทขัดคำสวดโอวาทปาฎิโมกข์

บทขัดคำสวดโอวาทปาฎิโมกข์
สัตตันนัง  ภะคะวันตานัง                                       สัมพุทธานัง  มะเหสินัง
โอวาทะปาฎิโมกขัสสะ                                          อุทเทสัตเตนะ  ทัสสิตา
มะหาปะทานะสุตตันเต                                          ติสโส  คาถาติ  โน  สุตัง
ตีหิ  สิกขาหิ  สังขิตตัง                                             ยาสุ  พุทธานะ  สาสะนัง

ตาสัมปะกาสะกัง  ธัมมะ-                                       ปะริยายัง  ภะณามะ  เส.

คาถาสวดบูชามาฆะบูชา

คาถาสวดบูชามาฆะบูชา
มาฆะนักขัตตะยุตตายะ                                           ปุณณายะปุณณะมายังโย
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ                                       ภะคะวา  โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาญาโณ                                         สัตถา  โลเก  อะนุตตะโร
วิหะรันโต  ราชะคะเห                                            มาฆะทานัง  คิริพภะเย
วิหาเร  เวฬุวันนัมหิ                                                  กะลันทะกะนิวาปิเย
สังฆัสสะสันนิปาตัมหิ                                            อุตตะเม  จะตุรังคิเก
อัฑฒะเตระสะหัสเสหิ                                            ภิกขูหิ  ปะริวาริโต
ตีหิ  คาถาหิ  สังขิปปัง                                             สัพพัง  พุทธานะสาสะนัง
สะโมสาเรหิ  โอวาทัง                                             ปาฎิโมกขัง  อะนุตตะรัง
ตะเมวัมภูตะสัมพุทธัง                                             สักขีณาสะวะสาวะกัง
จิระการะมะตี  ตัมปิ                                                 ปะสาเทนะ  อะนุตตะรัง
อะยัมปิ  ปะริสา  สัพพา                                           ปะสันนา  ธัมมะคามินี
สัมปัตตาตาทิสักการัง                                             สุนักขัตตัง   สุมังคะลัง
ทีปะธูปาทิสักกาเร                                                   อะภิสัชชิ  ยะภาผะลัง
เตหิ  ปูเชตะเวหัตถะ                                                 ตุฎฐา  อิธะ  สะมาคะตา
อะภิวันทะติ  ปูเชติ                                                   ภะคะวันตัง  สะสาวะกัง
กาเลนะ  สัมมุขีภูตัง                                                 อะตีตารัมมะนัตตะนา
โอสาเรนตัง  ปาฎิโมกขัง                                        วิสุทธักขะมุโปสะเถ
อิโตชะเน  สุปุญเญนะ                                             โสตถี  โหนตุ  สะทาปิโน

สาสะนัง  สัตถุ  อัมหากัง                                        จิรัง  ติฎฐะตุ  ตาทิโน...ติ

คำแปล 
          วันนี้มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ
          ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมาประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมี,  แลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมแห่งนั้น การประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ
          บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบมาฆปุรณมีนักขัตต์สมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปแลดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น 
          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยสาวกสงฆ์ แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.


วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ถวายพรพระ

ถวายพรพระ
            นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ หน)
            อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมมาสัมพุทโธ  วิชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถาเทวะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติฯ
            สํวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฎฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติฯ
            สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฎิปันโน   ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฎฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเนยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติฯ
                                                พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
                                    คํรีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
                                    ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
                                    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถักธะยักขัง
                                    ขันตีสุทันตะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง
                                    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณณันตัง
                                    เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
                                    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
                                    อิทธิภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                กัตํวานะ  กัฎฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา
                                    จิญจายะ  ทุฎฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ
                                    สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
                                    วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
                                    ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                นันโทปนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง
                                    ปุตเตนะ  เถรภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต
                                    อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                ทุคคาหะทิฎฐิภุชะเคนะ  สุทัฎฐะหัตถัง
                                    พํรัหํมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
                                    ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
                                    ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิฯ
                                                เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฎฐะคาถา
                                    โย  วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
                                    หิตํวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ
                                    โมกขัง  สุขัง  อิธธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญฯ
            มะหาการุณิโก  นาโถ                                  หิตายะ  สัพพะปาณินัง
ปูเรตํวา  ปาระมี  สัพพา                                          ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                                           โหตุ  เต  ชะยะมังคะลังฯ
            ชะยันโต  โพธิยา  มูเล                                  สักํยานัง  นันทิวัฑฒะโน
เอวัง  ตํวัง  วิชะโย  โหหิ                                         ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก                                              สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                                      อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง                                             สุปะภาตัง  สุหุฎฐิตัง
สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ                                            สุยิฎฐัง  พํรัหํมะจาริสุ
ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                                          วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                                         ปะณิธี  เต  ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ  กัตํวานะ                                            ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณฯ
            ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                              รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                                            สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เตฯ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                                          รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                                             สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                                          รักขันตุ  สัพพะเทวะตา

สัพพะสังฆานุภาเวนะ                                             สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เตฯ

คำแปล
     พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
     พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้ ควรนอบน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตนเอง       
     พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น จัดเป็นบุรุษสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทิกษิณา เป็นผู้ควรกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้\
พระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
พระ ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้ ควรนอบน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตนเอง
พระ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น จัดเป็นบุรุษสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทิกษิณา เป็นผู้ควรกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคิรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น และด้วยเดชะของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปอันโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธี และ อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตร ให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพรหม ชื่อ ท้าวพูกะ ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือ เทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
แม้น รชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้มีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข
สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอ ข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ
ขอ สรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอ สรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอ สรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ