วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำบูชาพระรัตนตรัย

คำบูชาพระรัตนตรัย

           
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศราทธพรตคาถา

ศราทธพรตคาถาใช้สำหรับสวดในงานพระราช พิธีเผาศพ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
ภาสิตา  โข  เตนะ  ภะคะวะตา  ชานะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา  สัมมาสัมพุทเธนะ  อะยัง  ปัจฉิมา   วาจา  หันทะทานิ  ภิกขะเว  อามันตะ  ยามิ  โว  วะนะธัมมา  สังขารา  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทถาติ ฯ
            สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ               ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข                             เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ                                ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข                             เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ                               ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข                             เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ
วิสุทธิ สัพพักเลเสหิ                                    โหติ ทุกเขหิ นิพพุติ
เจตะโส โหติ สา สันติ                                 นิพพานะมีติ วุจจะติ ฯ
เย จะ โข สัมมะทักขาเต                              ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
เต ชะนา ปาระเมสสันติ                              มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง ฯ
อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง                       ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง
อัปปะมัตตา นะ มียันติ                                เย ปะมัตตา ยะถา มะตา ฯ
อัปปะมัตโต อุโภ อัตเถ                               อะธิคัณหาติ ปัณฑิโต
ทิฏเฐ ธัมเม จะ โย อัตโถ                             โย จัตโถ สัมปะรายิโก
อัตถาภิสะมะยา ธีโร                                    ปัณฑิโตติ ปะวุจจะติ ฯ
เอตตะกานัมปิ ปาฐานัง                               อัตถัง อัญญายะ สาธุกัง
ปะฏิปัชเชถะ เมธาวี                                     อะโมฆัง ชีวิตัง ยะถาติ  ฯ
ศราทธพรตคาถาแปล
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ
(ขออภัย คำแปลบทภาสิตาหาไม่เจอ)
สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ชรํปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลายจักตายด้วยกันทั้งสิ้น เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา
ทหรา จ มหนฺตา จ เยพาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ ปจฺจุปรายนา
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนเขลาและฉลาด ย่อมไปสู่ความตายทั้งสิ้น มีความตายอยู่เบื้องหน้าหมดทุกคน
ยถาปิ อญฺยตรํ พีชํ เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ ปฐวีรสยฺจ อาคมฺม สิเนหยฺจ ตทูภยํ
เหมือนพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่หว่านลงในนา เพราะรสแห่งแผ่นดิน และยางในพืชทั้งสองประการนั้น
เอวํ ขนฺธา จ ธาตุโย ฉ จ อายตนานิเม เหตํ ปฏิจฺจ สมฺภูตา เหตุภงฺคา นิรุชฺฌเร
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นอย่างนี้เมื่อเหตุสลายก็ย่อมดับไป
ยถา หิ องฺคสมฺภารา โหติ สมฺโท รโถ อิติ เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุโหติ สตฺโตติ สมฺมติ
เหมือนอย่างว่า เพราะรวมเครื่องสัมภาระที่เป็นเครื่องประกอบของรถ จึงมีเสียงเรียกว่ารถ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ ก็เรียกว่าสัตว์ฉันนั้น
อายุ อุสฺมา จ วิญฺญาณํ ยทา กายํ ชหนฺติมํ อปวิทฺโธ ตทา เสติ เอตฺถ สาโร น วิชฺชติ
เมื่อใดอายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้เสียแล้ว เมื่อนั้นกายนั้นย่อมนอนทอด สาระในกายนี้ย่อมไม่มี
ยถา ยถา นิชฺฌายติ โยนิโส อุปปริกฺขติ ริตฺตกํ ตุจฺฉกํ โหติ โย นํ ปสฺสติ โยนิโส
ผู้มีปัญญาเพ่งพิจารณาโดยแยบคายด้วยประการใด ก็เป็นของว่างเปล่าปรากฏแก่ผู้เห็นโดยแยบคายฉะนั้น
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺยตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
อันที่จริง ทุกข์เหล่านั้นเกิดขึ้นเอง ตั้งอยู่และดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
เอตฺตกานมฺปิ ปาฐนํ อตฺถํ ญตฺวา ยถากฺกมํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อปฺปมาเทน สพฺพทาติ

ปราชญ์รู้เนื้อความแห่งพระบาลีแม้มีประมาณเพียงนี้โดยลำดับแล้ว พึงปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท เทอญ.

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา

บทบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา

ใช้ในวันมาฆบูชา

บทสวด
          อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาฏิโมกขัง อุททิสิ ตะทาหิ อัฑฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาหะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวาวิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัพฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ
ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล
          วันนี้มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ
 ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมาประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมี,  แลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมแห่งนั้น การประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ
  บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบมาฆปุรณมีนักขัตต์สมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปแลดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยสาวกสงฆ์ แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ

คาถาสวดในวันมาฆบูชา

คาถาสวดในวันมาฆบูชา

มาฏะนักขัตตะยุตตายะ                   ปุณณายะปุณณะมายัง โย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ                ภะคะวา โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาญาโณ                 สัตถา โลเก อะนุตตโร
วิหะรันโต ราชะคะเห                     มาฆะทานัง ศีริพภะเย
วิหาเร เวฬุวะนัมหิ                           กะลันทะกะนิวาปิเย
สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ                   อุตตะเม จะตุรังคิเก
อัฑฒะเตระสะสะหัสเสหิ              ภิกขูหิ ปริวาริโต
ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง           สัพพัง            พุทธานะสาสะนัง
สะโมสาเรหิ โอวาทัง                      ปาฏิโมกขัง อนุตตะรัง
สะเมวัมภูตะสัมพุทธัง                     สักขีณาสะวะสาวะกัง
จิระการะมะตี ตัมปิ                          ปสาเทนะ อนุตตะรัง
อยัมปิ ปะริสา สัพพา                       ปสันนา ธัมมะคามินี
สัมปัตตาตาทิสักการัง                     สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
ทีปะฑูปาทิสักกาเร                          อะภิสัชชิ ยะถาผะลัง
เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ                         ตุฏฐา อิธะ สะมาคะตา
อภิวันทะติ ปุเชติ                              ภะคะวันตัง   สะสาวะกัง
กาเลนะ สัมมุขีภูตัง                          อตีตารัมมะนัตตะนา
โอสาเรนตัง ปาฏิโมกขัง                 วิสุทธักขะมุโปสะเถ
อิโตชะเน สุปุญเญนะ                      โสตถี โหนตุ สะทาปิ โน

สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง                  จีรัง ติฏฐตุ ตาทิโน....ติ

ชราสูตรแปล

ชราสูตรแปล

อปฺปํ วต ชีวิตํ อิทํ โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ สเจปิ อติจฺจ ชีรติ อถ โข โส ชรสาปิ มิยฺยติ
ชีวิตนี้น้อยหนักหนาจะตายภายในแค่ร้อยปีเป็นแท้แม้ถ้าว่าเขาเป็นอยู่ได้เกินกว่านั้นเขา ย่อมตาย แม้เพราะชราโดยแท้แล
โสจนฺติ ชนา มมายิเต น หิ สนฺติ นิจฺจา ปริคฺคหา วินาภาวสนฺตเมวิทํ อิติ ทิสฺวา นาคารมาวเส
หมู่ชนย่อมเศร้าโศก เพราะยึดถือว่าของเราก็เพราะตามยึดถือทั้ง หลายจะเป็นความ เที่ยงแท้ย่อมไม่มี เพราะความเป็นต่าง ๆ ที่มีอยู่แน่แท้บัณฑิตเห็นดังนี้แล้ว จึงไม่อยู่ครองเรือน
มรเณนปิ ตํ ปหิยฺยติ ยํ ปุริโส มม ยิทนฺติ มญฺญติ เอตมฺปิ วิทิตฺวา ปัณฑิโต นมมตฺตาย นเมถ นามโก
บุรุษสำคัญอยู่ซึ่งสิ่งใดว่า นี้เป็นของเราสิ่งนั้นเขาต้องละไป เพราะมรณะเป็นแท้บัณฑิตผู้มีความนับถือ ทราบอาทีนพโทษถึงเพียงนี้แล้ว ไม่พึงน้อมใจเพื่อจะยึดถือว่าเป็นของเรา
สุปิเณน ยถา สํคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ เอวมฺปิ ปิยาติตํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ
บุรุษตื่นนอนแล้วย่อมไม่เห็นอะไร ๆ อันได้ประสบแล้ว เพราะความฝัน แม้ฉันใด แม้บุคคลก็จะไม่เห็นชนอันตนเคยรักใคร่ที่ทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
ทิฏฺฐาปิ สุตาปิ เต ชนา เยสํ นามปิทํ ปวุจฺจติ นามเวม สิสฺสติ อกฺเขยฺยํ เปตสฺส ชนฺตุโน
หมู่ชนที่เรียกได้ว่า ชื่อนี้ เมื่อเขาล่วงไปแล้วชื่อเท่านั้นจะปรากฏเหลืออยู่ชนผู้เกาะเกี่ยวในอารมณ์อันถือว่าของเรา ละไม่ได้
โสกปริเทวมจฺเฉรํ น ชนฺติ คิทฺธา มมายิเต ตสฺมา มุนโน ปริคฺคหํ หิตฺวา อจรึสุ เขมทสฺสิโน
ซึ่งความโศกความคร่ำครวญและความหวงแหนเพราะฉะนั้น พระมุนีผู้เห็นที่อันนเกษมจึงได้ละความยึดถือเที่ยวไปแล้ว
ปฏิลีนจรสฺส ภิกฺขุโน ภชมานสฺส วิวิตฺตมานสํ มามคฺคิยมาหุตสฺสตํ โย อตฺตานํ ภาวเนน ทสฺสเส
เมื่อภิกษุมีความประพฤติหลีกเล้นบริโภคเสนาสนะอันสงัดอยู่ปราชญ์กล่าวการปฎิบัติของท่านผู้ไม่แสดงตนในภพนั้นว่า เป็นความพร้อมเพรียงแล้ว
สพฺพตฺถ มุนิ อนิสสิโต น ปิยํ กุพฺพติ โนปิ อปฺปิยํ สตฺมึ ปริเทวมจฺฉรํ ปณฺเณ วาริ ยถา น ลิปฺปติ
พระมุนีผู้ไม่อาศัยอะไรทั้งสิ้นแล้วย่อมไม่ทำใคร ๆและอะไร ๆ ให้เป็นที่รักหรือให้เป็นที่ไม่น่ารัก ความคร่ำครวญและความหวงแหน ก็ไม่ซึมซาบในท่านได้ เหมือนนน้ำบนใบบัวฉะนั้น
อุทพินฺทุ ยถาปิ โปกฺขเร ปทุเม วาริ ยถา น ลิปฺปติ เอวํ มุนิโน ปลิปฺปติ ยทิทํ ทิฏฺฐํ สุตํ มุเตสุ วา
เปรียบเหมือนหยาดน้ำในใบบัวและในดอกบัวย่อมไม่ซึมซาบฉันใดพระมุนีย่อมมไม่ติดข้องอยู่ในอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้มรสแล้วฉันนั้น
โธโน น หิเต น มญฺญติ ยทิทํ ทิฏฺฐํ สุตํ มุเตสุ วา นาญฺเญน วิสุทฺธิมิจฺฉติ น หิ โส รชฺชติ โน วิรชฺชติ
ท่านผู้มีปัญญากำจัดกิเลสได้ ย่อมไม่สำคัญตามอารมณ์ ที่ได้เห็น ได้ฟังได้ดมและลิ้มรสนั้นเลย ท่านไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยมิจฉาปฏิบัติอย่างอื่นทั้งไม่ยินดียินร้าย
เอตฺตกานมฺปิ ฐานานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ

ปราชญ์รู้เนื้อความแห่งพระบาลีแม้เหล่านี้ดีแล้ว พึงปฏิบัติโดยทางที่ชีวิตจักไม่เปล่าจากประโยชน์ ดังนี้แล

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภะวะตุสัพ

ภะวะตุสัพ

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง    
    ขอสรรพมงคล  จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ   สัพพะเทวะตา                  
    ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ              
    ด้วยอานุภาพ     แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี  ภะวันตุ  เต           
    ขอความสวัสดีทั้งหลาย  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง    
    ขอสรรพมงคล  จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ   สัพพะเทวะตา                  
    ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ              
    ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี  ภะวันตุ  เต           
    ขอความสวัสดีทั้งหลาย  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง    
    ขอสรรพมงคล  จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ   สัพพะเทวะตา              
    ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ              
    ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี  ภะวันตุ  เต           
    ขอความสวัสดีทั้งหลาย  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

บทสวดกาละทานะสุตตะคาถา พร้อมคำแปล


บทสวดกาละทานะสุตตะคาถา พร้อมคำแปล
กาเล ทะทันติ สะปัญญา วะทัญญู วีตะมัจฉะรา ผู้มีปัญญารอบรู้และปราศจากความตระหนี่
กาเลนะ ทินนัง อะริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ
 ย่อมถวายทานตามกาละสมัย ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประพฤติตรงคงที่
วิปปะสันนะมะนาตัสสะ วิปุลา โหติ ทักขิณา
 เมื่อมีใจเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ทักษิณาทานย่อมมีผลอันไพบูลย์
เย ตัตถะ อะนุโมทันติ เวยยาวัจจังกะโรนติ วา
 ชนทั้งหลายเหล่าใดร่วมอนุโมทนา หรือช่วยกระทำการขวนขวายในทานนี้
นะ เตนะ ทักขิณา โอนา เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน,ทักษิณานั้นมิได้พร่องไปด้วยเหตุแห่งการอนุโมทนานั้นเลย
ตัส์มา ทะเท อัปปะฏิวานะจิตโต ยัตถะ ทินนัง มหัปผะลัง เพราะฉะนั้นเมื่อบุคคลใดไม่มีจิตท้อถอยในทาน ทานนั้นย่อมมีผลมาก
ปุญญานิ ปะระโลกัส์มิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินันติฯ

 บุญที่ทำแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของท่านทั้งหลาย ในกาลข้างหน้าได้แล

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มงคลจักรวาฬน้อยแปล

มงคลจักรวาฬน้อยแปล

สัพพะพุทธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สัพพะสั งฆานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง
ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งระตะนะสาม คือ
พุทธรตนะ ธรรมรตนะ สังฆรตนะ
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน
ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ   ชินะสาวะกานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฏก ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า
สัพเพ เต โรคา สัพเพเต ภะยา
สรรพโรคทั้งหลายของท่าน สรรพภัยทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา
สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน สรรพอุปัทวะทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เตทุนนิมิ ตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา
สรรพนิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน
วินัสสั นตุ อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิ ริวัฑฒะโก
จงพินาศไป ความเจริญอายุ ความเจริญทรัพย์ ความเจริญศิริ
ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก
ความเจริญยศ ความเจริญกำลัง ความเจริญวรรณะ
สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทา ฯ
ความเจริญสุข จงมี (แก่ท่าน) ในกาลทั้งปวง
ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
ทุกข์โรคภัย แลเวรทั้งหลาย ความโศกศัตรูแลอุปัทวะทั้งหลาย
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา
ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก จงพินาศไปด้วยเดช
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิ ภาคยัง สุขัง พะลัง
ความชำนะความสำเร็จทรัพย์ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุช กำลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา
ศิริอายุแลวรรณะ โภคะความเจริญแลความเป็นผู้มียศ
สะตะวัสสา จะ อายู จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต ฯ
แลอายุยืนร้อยปี แลความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่าน ฯ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สามัญญานุโมทนาคาถา(สัพพีติโย) แปล

สามัญญานุโมทนาคาถา(สัพพีติโย)
แปล   
สัพพีติโย วิวัชชันตุ
 ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป
 สัพพะโรโค วินัสสะตุ
โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย
 อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
 สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
 ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
 อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ฯ


วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แปลยะถา วาริวะหา (อนุโมทนารัมคาถาแปล)

แปลยะถา วาริวะหา

ยะถา วาริวะหา ปูรา                        ปะริปูเรนติ สาคะรัง
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มได้ฉันใด
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง         เปตานัง อุปะกัปปะติ
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้, ย่อมสำเร็จ
ประโยชน์แก่ผูที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง        ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา       จันโท ปัณณะระโส ยะถา
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ
เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มะหาการุณิโก

มะหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
คำแปล
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ


พาหุง

พาหุง

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
คำแปล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น จัดเป็นบุรุษสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทิกษิณา เป็นผู้ควรกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้
สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคิรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น และด้วยเดชะของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปอันโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธี และ อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตร ให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพรหม ชื่อ ท้าวพูกะ ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือ เทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

แม้นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้มีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อิติปิโส

อิติปิโส
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

คำแปล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (สามครั้ง)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้ ควรนอบน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตนเอง