วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

มัคคะวิภังคะสุตตัง

มัคคะวิภังคะสุตตัง
เอวัมเม   สุตัง  เอกัง   สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม  ตัตํระ  โข  ภะคะวา  ภิกขู  อามันเตสิ  ภิกขะโวติ.ภะทันเตติ  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง  ภะคะวา  เอตะทะโวจะ  อะริยัง   โว  ภิกขะเว  อัฎฐังคิกัง  มัคคัง  เทสิสสามิ  วิภะชิสสามิ  ตัง  สุณาถะ  สาธุกัง  มะนะสิกะโรถะ   ภาสิสสามีติ.  เอวัมภันเตติ  โข  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง.ภะคะวา  เอตะทะโวจะ.กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  อะริโย  อัฎฐังคิโก  มัคโค  เสยยะถีทัง  สัมมาทิฎฐิ  สัมมาสังกัปโป  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว  สัมมาวายาโม  สัมมาสะติ  สัมมาสะมาธิ.
กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาทิฎฐิ  ยัง  โข  ภิกขะเว  ทุกเข  ญาณัง  ทุกขะนิโรเธ  ญาณัง  ทุกขะนิโรธะคามินิยา  ปะฎิปะทายะ  ญาณัง  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาทิฎฐิ.
กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสังกัปโป  โย  โข  ภิกขะเว  เนกขัมมะสังกัปโป  อัพํยาปาทะสังกัปโป  อะวิหิงสาสังกัปโป.อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสังกัปโป.
กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาวาจา  ยา  โข  ภิกขะเว  มุสาวาทา  เวระมะณี  ปิสุณายะ  วาจายะ  เวระมะณี  ผะรุสายะ  วาจายะ  เวระมะณี  สัมผัปปะลาปา  เวระมะณี. อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาวาจา.
กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมากัมมันโต.  ยา  โข  ภิกขะเว  ปาณาติปาตา  เวระมะณี  อะทินนาทานา  เวระมะณี   อะพํรัหํมะจะริยา  เวระมะณี  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมากัมมันโต.
กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาอาชีโว.  อิธะ  ภิกขะเว  อะริยะสาวะโก  มิจฉาอาชีวัง   ปะหายะ  สัมมาอาชีเวนะ   ชีวิกัง  กัปเปติ  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาอาชีโว.
กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาวายาโม  อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ  อะนุปปันนานัง  ปาปะกานัง  อะกุสะลานัง  ธัมมานัง  อะนุปปาทายะ  ฉันทัง  ชะเนติ   วายะมะติ  วิริยัง   อาระภะติ  จิตตัง  ปัคคัณหาติ  ปะทะหะติ.  อุปปันนานัง  ปาปะกานัง   อะกุสะลานัง   ธัมมานัง  ปะหานายะ  ฉันทัง  ชะเนติ  วายะมะติ  วิริยัง  อาระภะติ  จิตตัง  ปัคคัณหาติ   ปะทะหะติ   อะนุปปันนานัง   กุสะลานัง   ธัมมานัง  อุปปาทะยะ   ฉันทัง  ชะเนติ  วายะมะติ  วิริยัง  อาระภะติ  จิตตัง  ปัคคัณหาติ  ปะทะหะติ . อุปปันนานัง   กุสะลานัง  ธัมมานัง  ฐิติยา   อะสัมโมสายะ  ภิยโยภาวายะ  เวปุลลายะ  ภาวะนายะ   ปาริปูริยา   ฉันทัง  ชะเนติ  วายะมะติ  วิริยัง  อาระภะติ  จิตตัง  ปัคคัณหาติ   ปะทะหะติ .  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาวายาโม.
กะตะมา  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสะติ.  อิธะ  ภิกขะเว   ภิกขุ  กาเย  กายานุปัสสี  วิหะระติ  อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา  วิเนยยะ  โลเก  อะภิชฌาโทมะนัสสัง  เวทะนาสุ  เวทะนานุปัสสี  วิหะระติ  อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา  วิเนยยะ  โลเก  อะภิชฌาโทมะนัสสัง  จิตเต  จิตตานุปัสสี  วิหะระติ  อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา  วิเนยยะ  โลเก  ภิชฌาโทมะนัสสัง.  ธัมเมสุ  ธัมมานุปัสสี  วิหะระติ  อาตาปี  สัมปะชาโน  สะติมา  วิเนยยะ  โลเก  อะภิชฌาโทมะนัสสัง.  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสะติ.

   กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสะมาธิ  อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ   วิวิจเจวะ  กาเมหิ  วิวิจจะ  อะกุสะเลหิ  ธัมเมหิ  สะวิตักกัง   สะวิจารัง   วอเวกะชัมปีติสุขัง   ปะฐะมัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ   วิหะระติ  วิตักกะวิจารานัง  วูปะสะมา   อัชณัตตัง   สัมปะสาทะนัง  เจตะโส  เอโกทิภาวัง  อะวิตักกัง  อะวิจารัง  สะมาธิชัมปีติสุขัง  ทุติยัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ  ปีติยา   จะ  วิราคา  อุเปกขะโก  จะ  วิหะระติ   สะโต  จะ  สัมปะชาโน  สุขัญจะ  กาเยนะ  ปะฎิสังเวเทติ  ยันตัง   อะริยา  อาจิกขันติ  อุเปกขะโก   สะติมา   สุขะวิหารีติ  ตะติยัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ   สุขัสสะ  จะ  ปะหานา  ทุกขัสสะ  จะ  ปะหานา  ปุพเพ  วะ  โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมา  อะทุกขะมะสุขัง   อุเปกขาสะติปาริสุทธิง  จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ   วิหะระติ  อะยัง  วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสะมาธีติ.  อิทะมะโวจะ  ภะคะวา  อัตตะมะนา  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต   ภาสิตัง   อะภินันทุนติ.

คำแปล  มัคคะวิภังคะสุตตัง
           ข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) สดับมาแล้วอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า  เสด็จประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้วกรุงสาวัตถี  ณ ที่นั้นแล พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย  ด้วยพระดำรัสว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  พวกภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับแล้วพระองค์จึงตรัสคำต่อไปนี้ 
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงจำแนกทางอันประเสริฐ  มีองค์ ๘ ขอพวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดี  เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับแล้วพระองค์จึงตรัสต่อไป  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ทางอันประเสริญมี องค์ ๘ เป็นไฉน  คือ ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ  การเจรจาชอบ  การงานชอบ  อาชีพชอบ  การพรยายามชอบ  การระลึกชอบ การตั้งใจชอบ
            ๑.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นไฉน  ญาณ คือความรู้ในทุกข์ ในสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ในทุกขนิโรธ  ความดับทุกข์  ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
              ๒. ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ เป็นไฉน  ความดำริออกจากกาม  ความดำริในการไม่เบียดเบียนอันใด  นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
             ๓.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาวาจา  การเจรจาชอบ เป็นไฉน  เจรจาเว้นจากการพูดเท็จ  พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ  นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
             ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ  เป็นไฉน  เจตนาเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ลักขโมย  การประพฤติล่วงพรหมจรรย์  (คือเสพกามอันใด) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
             ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ  เป็นไฉน  พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ละอาชีพผิด สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
              ๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาวายามะ  ความพยายามชอบ  เป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ทำความพอใจให้เกิดเพียรพยายามริเริ่มความเพียร  ประคองจิต  ตั้งจิตเพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว  เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น  ทำความพอใจให้เกิด  เพียรพยายามริเริ่มความเพียร  ประคองจิต  ตั้งจิตเพื่อความดำรงอยู่  เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขี้น  แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกสัมมาวายามะ
               ๗.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติ การระลึกชอบ เป็นไฉน  ภิกษในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนีองๆอยู่มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  พึงกำจัดอภิชฌา (ความโลภอยากได้)  และโทมนัส(ความทุกข์ทางใจ) ในโลกเสียได้  ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเนืองๆอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้  ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนีองๆอยู่  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่  นี้เรียกว่า สัมมาสติ

               ๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสมาธิ  การตั้งใจมั่นชอบ  เป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน  มีวิตกวิจาร  ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่  เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน  เป็นธรรมเอกผุดขึ้นไร้วิตก วิจาร  เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป  มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา  มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป  บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข  เธอบรรลุจตุตถฌาน  ปลอดทุกข์ และสุข เพราะละสุขและทุกข์  ดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆได้มีอุเบกขาและความบริสุทธิ์แห่งสตินี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ  พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านี้นพอใจ จึงชื่นชมภาษิตของพระองค์ด้วยประการฉะนี้

บทขัดมัคคะวิภังคะสูตร

บทขัดมัคคะวิภังคะสูตร
สะเทวะโก  อะยัง  โลโก                                         สะมาระโก  สะพํรัหมะโก
ยัมมัคคัง  อัปปะชานันโต                                        สัพพะทุกขา  นะ  มุจจะติ
มัคคักขายีนะมัคโค  โส                                           ภะคะวา  มัคคะโกวิโท
ตัง  เว  มัคคัง  อะภิญญายะ                                     ทุกขะสังขะยะคามินัง
สะยัง  เตเนวะ  คันตํวานะ                                      ปัตโต  โพธิมานุตตะรัง
สัมมานุปะฎิปัตํยัตถัง                                               สัตตานัง  โพธิกามินัง
นานาวิเธหุปาเยภิ                                                     ปะเวเทสิ  หิเตสะโก
ตัมมัคคะทีปะกัง  สุตตัง                                          ยัง  สัมพุทเธนะ  ภาสิตัง
วัตถุตตะเย  ปะสันนานัง                                         สาธูนัง  ธัมมะกามินัง
ภิยโย  ปะสาทุปปาเทนะ                                         ทิฎโฐชุกะระเณนะ  จะ

สุวัตถิสาธะนัตถังปิ                                                 ตัง  สุตตันตัง  ภะณามะ  เส.

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

คิริมานันทะสุตตะปาโฐ

คิริมานันทะสุตตะปาโฐ
            เอวัมเม  สุตังฯ  เอกัง  สะมะยัง   ภะคะวา   สาวัตถิยัง   วิหะระติ   เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม   เตนะ  โข  ปะนะ   สะมะเยนะ   อายัสํมา   คิริมานันโท   อาพาธิโก   โหติ   ทุกขิโต  พาฬํหะคิลาโน   อะถะโข  อายัสํมา   อานันโท   เยนะ   ภะคะวา   เตนุปะสังกะมิ   อุปะสังกะมิตํวา   ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตํวา   เอกกะมันตัง  นิสีทิ  เอกะมันตัง   นิสินโท   โข   อายัสํมา   อานันโท   ภะคะวันตัง   เอตะทะโวจะฯ
            อายัสํมา  ภันเต  คิริมานันโท   อาพาธิโก   ทุกขิโต   พาฬํหะคิลาโน  สาธุ  ภันเต   ภะคะวา   เยนายัสํมา   คิริมานันโท   เตนุปะสังกะมะตุ  อะนุกัมปัง   อุปาทายาติฯ  สะเจ  โข  ตํวัง  อานันทะ  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน   อุปะสังกะมิตํวา   ทะสะ  สัญญา  ภาเสยยาสิ   ฐานัง  โข  ปะเนตัง  วิชชะติ  ยัง  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน  ทะสะ  สัญญา  สุตํวา  โส  อาพาโธ  ฐานะโส  ปะฎิปปัสสัมเภยยะฯ  กะตะมา  ทะสะฯ  อะนิจจะสัญญา  อะนัตตะสัญญา  อะสุกะสัญญา  อาทีนะวะสัญญา  ปะหานะสัญญา  วิราคะสัญญา   นิโรธะสัญญา  สัพพะโลเก  อะนะภิระตะสัญญา  สัพพะสังขาเรสุ  อะนิจจะสัญญา  อานาปานัสสะติฯ
            กะตะมา  จานันทะ  อะนิจจะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต   วา  สุญญาคาระคะโต  วา  อิติ  ปะฎิสัญจิกขะติ  รูปัง  อะนิจจัง  เวทะนา  อะนิจจา   สัญญา  อะนิจจา   สังขารา  อะนิจจา  วิญญาฌัง  อะนิจจันติฯ  อิติ  อิเมสุ   ปัญจะสุ  อุปาทานักขันเธสุ  อะนิจจานุปัสสี  วิหะระติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  อะนิจจะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  อะนัตตะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา  อิติ  ปะฎิสัญจิกขะติ  จักขุง  อะนัตตา   รูปา  อะนัตตา  โสตัง  อะนัตตา  สัททา  อะนัตตา  ฆานัง  อะนัตตา  คันธา  อะนัตตา   ชิวหา  อะนัตตา  ระสา  อะนัตตา  กาโย  อะนัตตา  โผฎฐัพพา  อะนัตตา  มะโน  อะนัตตา  ธัมมา   อะนัตตาติฯ  อิติ  อิเมสุ  ฉะสุ   อัชฌัตติกะพาหิเรสุ  อายะตะเนสุ  อะนัตตานุปัสสี  วิหะระติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  อะนัตตะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  อะสุภะสัญญาฯ  อิผานันทะ  ภิกขุ  อิมะเมวะ  กายัง  อุทธัง  ปาทะตะลา  อะโธ  เกสะมัตถะกา  ตะจะปะริยันตัง  ปูรันนานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน  ปัจจะเวกขะติ  อัตถิ  อิมัสํมิง  กาเย  เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ  มังสัง  นะหารู   อัฎฐี  อัฎฐิมิญชัง  วักกัง  หะทะยัง   ยะกะนัง  กิโลมะกัง   ปิหะกัง  ปัปผาสัง  อันตัง  อันตะคุณัง  อุทะริยัง  กะรีสัง  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ  โลหิตัง  เสโท  เมโท  อัสสุ  วะสา  เขโฬ  สิงฆาณิกา  ละสิกา  มุตตันติฯ  อิติ  อิมัสํมิง  กาเย  อะสุภานุปัสสี  วิหะระติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  อะสุภะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  อาทีนะวะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา  อิติปะฎิสัญจิกขะติ  พะหุทุกโข  โข  อะยัง  กาโย  พะหุอาทีนะโวติฯ  อิติ  อิมัสํมิง  กาเย  วิวิธา  อาพาธา  อุปปัชชันติฯ  เสยยะถีทังฯ  จักขุโรโค  โสตะโรโค  ฆานะโรโค  ชิวหาโรโค  กายะโรโค  สีสะโรโค  กัณณะโรโค  มุขะโรโค  ทันตะโรโค  กาโส  สาโส  ปินาโส  ฑะโห  ชะโร  กุจฉิโรโค  มุจฉา  ปักขันทิกา  สุลา  วิสูจิกา  กูฎฐัง  คัณโฑ  กิลาโส  โสโส  อะปะมาโร  ทันทุ  กัณฑุ  กัจฉุ  ระขะสา  วิตัจฉิกา  โลหิตัง  ปิตตัง  มะ  ธุเมโห  อังสา  ปิฬะกา  ภะคัณฑะลาฯ  ปิตตะสะมุฎฐานา  อาพาธา  เสมหะสะมุฎฐานา  อาพาธา  วาตะสะมุญฐานา  อาพาธา  สันติปาติกา  อาพาธา  อุตุปะริณามะชา  อาพาธา  วิสะมะปะริหาระชา  อาพาธา  โอปักกะมิกา  อาพาธา  กัมมะวิปากะชา  อาพาธา  สีตัง  อุณหัง  ชิฆัจฉา  ปิปาสา  อุจจาโร  ปัสสาโวติฯ  อิติ  อิมัสํมิง  กาเย  อาทีนะวานุปัสสี  วิหะระติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  อาทีนะวะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  ปะหานะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อุปปันนัง  กามะวิตักกัง  นาธิวาเสติ  ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พํยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง  คะเมติ  อุปปันนัง  พํยาปาทะวิตักกัง  นาธิวาเสติ  ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พํยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง  คะเมติ  อุปปันนัง  วิหิงสาวิตักกัง  นาธิวาเสติ  ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พํยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง
คะเติ  อุปปันนุปปันเน  ปาปะเก  อะกุสะเล  ธัมเม  นาธิวาเสติ  ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พํยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง  คะเมติ ฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  ปะหานะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  วิราคะสัญญา  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา  อิติ  ปะฎิสัญจิกขะติ  เอตัง  สันตัง  เอตัง  ปะณีตัง  ยะทิทัง  สัพพะสังขา  ระสะมะโถ  สัพพูปะธิปะฎินิสสัคโค  ตัณหักขะโย  วิราโค  นิพพานันติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  วิราคะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  นิโรธะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา  อิติ  ปะฎิสัญจิกขะติ  เอตัง  สันตัง  เอตัง  ปะณีตัง  ยะทิทัง  สัพพะสังขาระสะมะโถ  สัพพูปะฎินิสสัคโค  ตัณหักขะโย  นิโรโธ  นิพพานันติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  นิโรธะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  สัพพะโลเก  อะนะภิระตะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  เย  โลเก  อุปายุปาทานา  เจตะโส  อะธิฎฐานาภินิเวสานุสะยา  เต  ปะชะหันโต  วิระมะติ  นะ  อุปาทิยันโต  อะยัง  วุจจะตานันทะ  สัพพะโลเก  อะนะภิระตะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  สัพพะสังขาเรสุ  อะนิจจะสัญญาฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ  สัพพะสังขาเรหิ  อัฎฎิยะติ  หะรายะติ  ชิคุจฉะติฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  สัพพะสังขาเรสุ  อะนิจจะสัญญาฯ
            กะตะมา  จานันทะ  อานาปานัสสะติ  อิธานันทะ  ภิกขุ  อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา  นิสีทะติ  ปัลลังกัง  อาภุชิตํวา  อุชุง  กายัง  ปะณิธายะ  ปะริมุขัง  สะติง  อุปัฏฐะเปตํวา ฯ  โส  สะโต  วะ  อัสสะสะติ  สะโต  ปัสสะสะติฯ
            ฑีฆัง  วา  อัสสะสันโต  ทีฆัง  อัสสะสามีติ  ปะชานาติ
            ฑีฆัง  วา  ปัสสะสันโต  ทีฆัง  ปัสสะสามีติ  ปะชานาติ
            รัสสัง  วา  อัสสะสันโต  รัสสัง   อัสสะสามีติ  ปะชานาติ
            รัสสัง  วา   ปัสสะสันโต  รัสสัง  ปัสสะสามีติ  ปะชานาติ
            สัพพะกายะปะฎิสังเวที  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            สัพพะกายะปะฎิสังเวที  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปัสสัมภะยัง  กายะสังขารัง  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปัสสัมภะยัง  กายะสังขารัง  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปีติปะฎิสังเวที  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปีติปะฎิสังเวที  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            สุขะปะฎิสังเวที  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            สุขะปะฎิสังเวที  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            จิตตะสังขาระปะฎิสังเวที  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            จิตตะสังขาระปะฎิสังเวที  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปัสสัมภะยัง   จิตตะสังขารัง  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            ปัสสัมภะยัง   จิตตะสังขารัง  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            จิตตะปะฎิสังเวที  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
            จิตตะปะฎิสังเวที  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง  จิตตัง   อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง  จิตตัง  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
สะมาทะหัง  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
สะมาทะหัง  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
วิโมจะยัง  จิตตัง  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
วิโมจะยัง  จิตตัง  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
วิราคานุปัสสี  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
วิราคานุปัสสี  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
ปะฎินิสสัคคานุปัสสี  อัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
ปะฎินิสสัคคานุปัสสี  ปัสสะสิสสามีติ  สิกขะติ
อะยัง  วุจจะตานันทะ  อานาปานัสสะติ ฯ
สะเจ  โข  ตํวัง อานันทะ  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน   อุปะสังกะมิตํวา  อิมา  ทะสะ  สัญญา  ภาเสยยาสิ  ฐานัง  โข  ปะเนตัง  วิชชะติ  ยัง  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน อิมา  ทะสะ  สัญญา  สุตํวา  โส  อาพาโธ  ฐานะโส  ปะฎิปปัสสัมเภยยาติฯ
อะถะโข  อายัสํมา  อานันโท  ภะคะวะโต  สันติเก  อิมา  ทะสะ  สัญญา  อุคคะเหตํวา  เยนายัสํมา  คิริมานันโท  เตนุปะสังกะมิ  อุปะสังกะมิตํวา  อายัสํมะโต  คิริมานันทัสสะ  อิมา  ทะสะ  สัญญา  อะภาสิฯ

            อะถะโข  อายัสํมะโต  คิริมานันทัสสะ  อิมา  ทะสะ  สัญญา  สุตํวา  โส  อาพาโธ  ฐานะโส  ปะฎิปัสสัมภิฯ  วุฎฐะหิ  จายัสํมา  คิริมานันโท  ตัมหา  อาพาธา  ตะถาปะหีโน  จะ  ปะนายัสํมะโต  คิริมานันทัสสะ  โส  อาพาโธ  อะโหสีติฯ


คำแปลคิริมานนทสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็น
ไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา๑๐ ประการ
แก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟัง
สัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ประการเป็นไฉน คือ 
อนิจจสัญญา
อนัตตสัญญา
อสุภสัญญา
อาทีนวสัญญา  
ปหานสัญญา  
วิราคสัญญา  
นิโรธสัญญา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
อานาปานัสสติ

1. ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา
2. ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
1. จักษุเป็นอนัตตา 

2. รูปเป็นอนัตตา

3. หูเป็นอนัตตา 

4. เสียงเป็นอนัตตา 

5. จมูกเป็นอนัตตา 

6. กลิ่นเป็นอนัตตา 

7. ลิ้นเป็นอนัตตา 

8. รสเป็นอนัตตา 

9. กายเป็นอนัตตา

10. โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา 

11. ใจเป็นอนัตตา 

12. ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ประการเหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา
3. ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณา

เห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตาเปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าอสุภสัญญา
4. ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก
เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย
โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปากโรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึมโรคในท้องโรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคสมองฝ่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม  โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต
อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความ
เพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา
5. ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่ยินดี

ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาท
วิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความ
ไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป
ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้วดูกรอานนท์
นี้เรียกว่าปหานสัญญา
6. ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้
เรียกว่าวิราคสัญญา
7. ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาติ
นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์
นี้เรียกว่านิโรธสัญญา
8. ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ละอุบาย และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อม งดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา
9. ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินั

นี้ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุ
อนิจจสัญญาฯ
10. ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่า

ก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า 
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่าจักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่าจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่าจักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)หายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่าจักระงับจิตตสังขารหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจเข้า 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก 
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ  
ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนทภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็น
ฐานะที่จะมีได้  
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระ
คิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา
๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล
จบสูตรที่ ๑๐