วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทขัดชะยะปะริตตัง

บทขัดชะยะปะริตตัง
ชะยัง  เทวะมะนุสสานัง                                          ชะโย  โหตุ  ปะราชิโต
มาระเสนา  อะภิกกันตา                                          สะมันตา  ทํวาทะสะโยชะนา
ขันติเมตตาอะธิฎฐานา                                            วิทธังเสตํวานะ  จักขุมา
ภะวาภะเว  สังสะรันโต                                          ทิพพะจักขุง  วิโสธะยิ
ปะริยาปันนาทิโสตถานัง                                        หิตายะ  จะ  สุขายะ  จะ

พุทธะกิจจัง  วิโสเธตํวา                                          ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

ความเป็นมา
คาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์บทหนึ่ง ที่ยกย่องสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา บำเพ็ญบารมีธรรมทั้งสิ้นให้เต็มแล้ว เพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง

พระมหากรุณาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสร้างสั่งสมมานาน แม้เมื่อเสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ได้พบพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยอมทอดกายของตนลงบเปือกตมให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหมู่ภิกษุได้เหยียบเดินไปมิให้เปื้อนด้วยโคลนตม เวลานั้น พระองค์ทรงมีพระบารมีแก่กล้าพอที่จะบรรลุพระอรหันต์ได้ แต่ด้วยความที่ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลก จึงตั้งความปรารถนาเฉพาะพระพักตร์พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อจะได้นำหมู่สัตว์ให้ได้ข้ามโอฆะสงสาร ได้รับการพยากรณ์ว่า จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ในอนาคต

พระมหากรุณานี้ได้สั่งสมมาจนได้บรรลุปรมาภิเษกสัมโพธิญาณใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ อันเต็มไปด้วยพระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ พระองค์ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ บริเวณนั้นนาน ๗ สัปดาห์ ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย จึงได้ตัดสินพระทัยเสด็จออกแสดงธรรม ประกาศพระสัทธรรม นำพาหมู่สัตว์น้อยใหญ่ข้ามพ้นวัฏฏทุกข์จนตลอดพระชนมชีพของพระองค์โดยมิได้หยุดหย่อน ในแต่ละวันทรงบำเพ็ญพุทธกิจเป็นอเนกอนันต์ตั้งแต่เช้ายันค่ำ เริ่มจากทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้ควรแก่การรู้ธรรม เสด็จไปบิณฑบาตโปรดสัตว์ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย โปรดให้เหล่ากษัตริย์ทั้งหลายได้เข้าเฝ้า ในเวลาดึกโปรดแสดงธรรมและแก้ปัญหาแก่เหล่าเทวดา

คราวครั้งหนึ่ง อาณาจักรโลกโกศลเกิดฝนแล้ง มหาชนจึงทูลวิงวอนเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตและจำพรรษาในชนบทนั้น พระพุทธองค์ทรงพระมหากรุณาแก่มหาชนเหล่านั้น ได้เสด็จไปรับบิณฑบาตพร้อมด้วยพุทธบริวารในนครสาวัตถี เมื่อภายหลังแห่งการบิณฑบาตและภัตกิจเสร็จแล้ว ได้เสด็จไปยังพระเชตวันมหาวิหาร ประทับยืนอยู่ที่บันไดสระโบกขรณีอันมีน้ำในสระนั้นแห้งไปแล้ว ฝูงนกทั้งหลายกำลังจิกปลาและเต่าที่นอนจมเปือกตมให้ดิ้นรนอยู่ ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมครูทรงเผยพระพุทธพจน์ว่า เราจะอาบน้ำในเชตวันโบกขรณี พระพุทธประสงค์นี้ทราบถึงท้าววัชรินทร์ จึงมีเทวบัญชาให้ววัสสวลาหกเทวราชไปบันดาลให้มหาเมฆตั้งขึ้นทางทิศปัจจิม แล้วยังฝนให้ตกเต็มภูมิภาคที่แห้งแล้งนั้น มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็พากันพ้นจากทุกข์ภัยด้วยพระมหากรุณาเป็นมหัศจรรย์

อีกสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถึ ทรงปรารภวันดีของสัตว์ทั้งหลาย จึงมีพระพุทธฎีกาเรียกพระภิกษุทั้งหลายประชุมแล้วตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ในสมัยเบื้องต้นแห่งวัน คือตอนเช้า สมัยนั้นแหละเป็นเบื้องต้นแห่งวันดีของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ในสมัยสิ้นไปแห่งวัน คือตอนเย็น สมัยนั้นแหละเป็นสมัยที่สิ้นไปแห่งวันดีของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น “

บทว่า “ ชะยันโต โพธิยา มูเล....” เป็นคาถาแสดงชัยชนะของพระพุทธเจ้า คือเมื่อใกล้จะได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้น พญามารวัสสวดีผู้มีใจริษยา ได้ยกพยุหแสนยากรมาผจญพระองค์เพื่อให้คลายจากโพธิญาณ พระองค์ทรงนึกถึงสมติงสบารมี มีทานบารมี(สมติงสบารมี หรือ สมตึสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน คือ ทศบารมี หรือบารมีทั้ง ๑๐ แต่ละบารมีต้องปฏิบัติครบ ๓ ขั้น คือ ขั้นต้นเรียกว่า บารมี ขั้นจวนจะสูงสุดเรียก อุปบารมี และขั้นสูงสุดเรียก ปรมัตถบารมี)
ธรรมปริทรรศน์

ชัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อใกล้จะได้บรรลุเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครั้งนั้นพญามารวสวัสดีผู้มีน้ำใจริษยาพระองค์ ได้ยกพยุหแสนยากรมาผจญพระองค์เพื่อให้คลายเสียจากโพธิญาณ พระองค์ทรงนึถึงสมติงบารมี มีทานบารมี เป็นต้น เป็นกำลังคุ้มครองพระองค์ และทั้งทรงระลึกถึงนางพระธรณีขอให้มาเป็นทิพยพยาน ในการที่พระองค์ได้ทรงบริจาคทานมาแล้วช้านาน นางพระธรณีก็ได้มาสำแดงตนให้ปรากฏ แล้วบิดน้ำทักษิโณทกของพระองค์ ที่ได้ทรงหลั่งไว้ทุกครั้งทุกคราวที่สร้างพระบารมีออกมาจากมวยผมของตน ทำให้น้ำท่วมหมู่มารที่มาผจญกระจัดกระจายไป พญามารและไพร่พลก็ถึงซึ่งความปราชัย และมารทั้งหลายก็ได้รู้แก่ใจว่า ทานบารมีนี้มีอานุภาพมาก ตนมิอาจที่จะต่อสู้ได้ ก็เกิดความเลื่อมใสได้กระทำความนอบน้อมแด่พระองค์แล้วจึงกลับไป

ในส่วนของฤกษ์ยาม มีคนจำนวนมากได้ให้ความสำคัญจนต้องมีการดูหมอทายดวง และเชื่อตามที่หมอทำนายทายทัก หรือบางทีอาจทำให้ไร้ซึ่งผลอันดีงามได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนเกี่ยวกับฤกษ์ยามว่า ควรประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจในเวลาเช้า จะทำให้เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดี ถ้าประพฤติสุจริตเวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดี ถ้าประพฤติสุจริตในเวลาเย็น ก็เป็นเวลาเย็นที่ดี ถ้าประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นก็ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี

แนวทางปฏิบัติ

บทชะยะปริตรนี้ นับเป็นปริตรสุดท้ายในสิบสองตำนาน แต่เป็นมนต์ที่ใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ เป็นการบอกปฐมฤกษ์แห่งความสำเร็จ เป็นการเปิดประตูชัยให้ปลอดโปร่งสาธุการ จะเป็นงานเปิดร้าน รดน้ำสังข์คู่บ่าวสาว โกนจุก ตัดผมไฟ ประพรมน้ำพุทธมนต์ พระคาถานี้จะกึกก้องสาธยาย เพราะเป็นคำอวยชัยให้พรเป็นสิริมงคล ดุจดังสมเด็จพระทศพลทรงชนะหมู่มาร ประกาศความเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ควงไม้โพธิ์ บทชะยะปริตร หรือ บทชะยันโต นี้เป็นมนต์บทเฉลิมฉลองความสำเร็จในกิจน้อยใหญ่

ในหมู่ผู้นิยมดำรงตนอยู่โดยชัยมงคล จะนำบทนี้มาสาธยายโดยแบ่งส่วนเป็น ๓ คือ

อัตถายะ หิตายะ สุขายะ เรียกว่าการ สวดชะยันโต เสริมสิริมงคล ๓ กาล

ยามใดที่เรามีจิตหวั่นไหว การงานที่ตั้งใจไว้ไม่เป็นไปตามปรารถนา ขอจงระลึกถึงพระกรุณาอันยิ่งกว่ามหรรณพของพระพุทธเจ้า โดยตั้งจิตไว้ที่พุทธานุสสติแล้วสาธยายบท มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สุขายะ... เป็นลำดับ เพื่อให้เกิดพลังจากความกรุณาของพระพุทธองค์ และให้เกิดความกรุณาเปิดทางให้ผ่านอุปสรรคความลำบากสู่ทางสำเร็จ

คราวใดที่ความตั้งใจไว้ในสิ่งใดบรรลุผลแล้ว นำความเบิกบานหรือนำบทเฉลิมฉลองที่ขึ้นว่า ชะยันโต โพธิยา... เป็นต้น ไปจนจบ อันจะเกิดพลังแห่งการขยายผลในความสำเร็จนั้นให้ไพศาลยิ่งขึ้น

อานิสงส์

๑. ย่อมไดรับความกรุณาเกื้อกูลจากผู้ใหญ่ เปิดทางให้ผ่านสู่ความสำเร็จ

๒. ย่อมได้รับชัยชนะตามพุทธบารมี หมู่มารน้อยใหญ่พ่ายแพ้ อุปสรรคทั้งปวงพ้นไป

๓. ย่อมได้รับดิถีฤกษ์อันเป็นสิริมงคล เริ่มต้นงานใด ภารกิจใด สู่เส้นชัยโดยสวัสดี

๔. ย่อมได้รับประโยชน์ ความสุข และการสรรเสริญจากชนหมู่ใหญ่

ข้อควรรู้


๑. โดยทั่วไปเรียกบท มหากาฯ หรือ มหาการุณิโก มีลักษณะการประพันธ์เป็นฉันทลักษณ์ชื่อปัฐยาวัตรฉันท์ มี ๖ พระคาถา

๒. เป็นคาถาแสดงชัยชนะของพระพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

๓. ฤกษ์ดียามดีในพระพุทธศาสนา คือฤกษ์หรือเวลาที่กาย วาจา และใจ ได้กระทำ กล่าว และคิดดี

วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เทวะตาอุยโยชะนะคาถา

เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
            ทุกขัปปัตตา  จะ  นิททุกขา                         ภะยัปปัตตา   จะ  นิพภะยา
โสกัปปัตตา  จะ  นิสโสกา                                      โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน
เอตตาวะตา  จะ  อัมเหหิ                                         สัมภะตัง  ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ  เทวานุโมทันตุ                                              สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง  ทะทันตุ  สัทธายะ                                        สีลัง  รักขันตุ  สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา  โหนตุ                                            คัจฉันตุ  เทวะตาคะตา ฯ
            สัพเพ  พุทธา  พะลัปปัตตา                         ปัจเจกานัญจะ  ยัง  พะลัง

อะระหันตานัญจะ  เตเชนะ                                     รักขัง  พันธามิ  สัพพะโส ฯ


ความเป็นมา



เทวะตาอุยโยชะนะคาถา คือคาถาส่งเทวดา ซึ่งคาถานี้กล่าวถึงการแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ แล้วอัญเชิญเทวดาให้อนุโมทนาบุญและกลับไปสู่นิเวศน์ของตน รวมทั้งผูกมนต์คุ้มครองด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ท่านอาจารย์ธัมมานันทามหาเถระสันนิษฐานว่า คาถานี้คงรจนาโดยพระเถระชาวสิงหลในสมัยก่อน ถือว่าเป็นบทสวดส่งเทวดาที่ได้อัญเชิญมาร่วมในงานมงคล ร่วมฟังสวด ร่วมรับสิ่งที่เป็นมงคลให้กลับวิมานไปด้วย ที่ต้องสวดส่งนั้นเพราะ แรกสวดมนต์ได้กล่าวอัญเชิญชุมนุมเทวดาไว้ ครั้นเสร็จพิธีแล้วจึงเชิญกลับตามธรรมเนียมด้วยคาถาบทนี้ ดังนั้น คาถาบทนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และในตอนท้ายเป็นการสวดเพื่อให้อานุภาพของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหมด ได้ปกป้องคุ้มครอง รักษาให้แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

บทสวดเทวะตาอุยโยชะนะคาถานี้ มีคำสวดขึ้นต้นว่า “ ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา ฯลฯ รักขัง พันธามิ สัพพะโส “ คาถานี้ยังไม่ได้พบที่มาจากพระสูตร มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นคาถาแผ่กรุณาพรหมวิหารและให้ส่วนกุศล พร้อมกับตักเตือนมนุษย์ทั้งหลายให้ประกอบการกุศล



คำแปล



ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์ จงพ้นจากทุกข์ ที่ประสบภัย จงพ้นจากภัย ที่ประสบกับความโศก จงพ้นจากความโศกเสียเถิด และขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงได้อนุโมทนาซึ่งบุญสมบัติ อันข้าพเจ้าทั้งหลายได้สร้างสมไว้แล้ว เพื่อความสำเร็จ แห่งสมบัติทั้งปวงเถิด

มนุษย์ทั้งหลายจงให้ทานด้วยใจศรัทธา จงรักษาศีล และยินดียิ่งในการภาวนาตลอดกาลทุกเมื่อ เทวดาทั้งหลาย ที่มาชุมนุมแล้วขอเชิญกลับเถิด

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ล้วนทรงพระกำลังทั้งหมด กำลังใดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และกำลังแห่งพระอรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ ข้าพเจ้าขอผูกรักษา ด้วยเดชแห่งกำลังนั้นโดยประการทั้งปวง

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อะภะยะปะริตตัง

อะภะยะปะริตตัง
                                                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
                                    โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
                                    ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
                                    พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                                                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
                                    โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
                                    ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
                                    ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                                                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
                                    โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
                                    ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
                                    สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ



แปล


นิมิตที่ชั่วร้ายก็ดี อวมงคลใด ๆ ก็ดี
เสียงนกที่ไม่น่าชอบใจก็ดี
บาปเคราะห์ใด ๆ ก็ดี ความฝันร้ายซึ่งไม่น่าปรารถนาก็ดี ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านี้จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า
นิมิตที่ชั่วร้ายก็ดี อวมงคลใด ๆ ก็ดี
เสียงนกที่ไม่น่าชอบใจก็ดี
บาปเคราะห์ใด ๆ ก็ดี ความฝันร้ายซึ่งไม่น่าปรารถนาก็ดี ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านี้จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระธรรม
นิมิตที่ชั่วร้ายก็ดี อวมงคลใด ๆ ก็ดี
เสียงนกที่ไม่น่าชอบใจก็ดี
บาปเคราะห์ใด ๆ ก็ดี ความฝันร้ายซึ่งไม่น่าปรารถนาก็ดี ที่มีอยู่

ขอสิ่งเหล่านี้จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระสงฆ์

บทขัดอะภะยะปะริตตัง

บทขัดอะภะยะปะริตตัง
ปุญญะลาภัง  มะหาเตชัง                                        วัณณะกิตติมะหายะสัง
สัพพะสัตตะหิตัง  ชาตัง                                         ตัง  สุณันตุ  อะเสสะโต

อัตตัปปะระหิตัง  ชาตัง                                           ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ




คำแปล
    ขอสาธุชนจงฟังปริตรอันได้บุญ มีเดชมาก มีคุณ มีเกียรติ และมียศอันยิ่งใหญ่ เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวง พวกเราจงสวดปริตรนั้นอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง และผู้อื่นกันเถิด

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โพชฌังคะปะริตตัง

โพชฌังคะปะริตตัง
            โพชณังโค  สะติสังขาโต                            ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ                                                      โพชณังคา  จะ  ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชณังคา                                        สัตเตเต  สัพพะทัสสินา
มุนิตา  สัมมะทักขาตา                                             ภาวิตา  พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ  อะภิญญายะ                                         นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                                           โสตถิ  เต  โหตุ   สัพพะทา ฯ
            เอกัสํมิง  สะมะเย  นาโถ                             โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
คิลาเน  ทุกขิเต   ทิสํวา                                            โพชณังเค  สัตตะ  เทสะยิ
เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตํวา                                        โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                                           โสตถิ  เต   โหตุ  สัพพะทา ฯ
            เอกะทา  ธัมมะราชาปิ                                 เคลัญเญนาภิปิฬิโต
จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ                                          ภะณาเปตํวานะ  สาทะรัง
สัมโมทิตํวา  จะ  อาพาธา                                        ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ                                          โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา  ฯ
            ปะหีนา  เต  จะ  อาพาธา                             ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา  วะ                                            ปัตตานุปปัตติธัมมะนัง

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                                           โสตถิ  เต  โหนตุ  สัพพะทา ฯ


บทแปล
   โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
   
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทขัดโพชฌังคะปะริตตัง

บทขัดโพชฌังคะปะริตตัง
สังสาเร  สังสะรันตานัง                                          สัพพะทุกขะวินาสะเน
สัตตะ  ธัมเม  จะ  โพชณังเค                                   มาระเสนัปปะมัททิโน
พุชฌิตํวา  เยปิเม  สัตตา                                          ติภะวามุตตะกุตตะมา
อะชาติง  อะชะราพยาธิง                                        อะมะตัง  นิพภะยัง  คะตา
เอวะมาทิคุณูเปตัง                                                    อะเนกะคุณะสังคะหัง

โอสะถัญจะ  อิมัง  มันตัง                                        โพชณังคันตัมภะณามะ  เห ฯ


คำแปล

    สัตว์ทั้งหลายรู้โพชฌงคธรรม  ประการ อันเป็นเครื่องบำบัดทุกข์ทั้งปวงของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ และอันกำจัดมารและเสนามาร จึงเป็นผู้หลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยมจากภพทั้ง  ได้ บรรลุพระนิพพานอันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีภัย พวกเราจงสวดโพชฌงค์นั้นอันประกอบด้วยคุณมีอาทิดังกล่าวมาแล้วนี้ ซึ่งเป็นทั้งโอสถและมนต์ที่รวบรวมสรรพคุณเป็นอเนกกันเถิด

อังคุลิมาละปะริตตัง

อังคุลิมาละปะริตตัง
            ยะโตหัง  ภะคินี  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ
            ยะโตหัง  ภะคินี  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ   สัจเจนะ  โสตถิ  เต   โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

            ยะโตหัง  ภะคินี  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ   สัจเจนะ  โสตถิ  เต   โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ


อังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลิมาล ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่าย

อังคุลิมาลปริตร มี ๒ ปริตร รวมกัน คือ อังคุลิมาลปริตร และ โพชฌงคปริตร โดยมีการเล่าเรื่องขององคุลีมาล ผู้เป็นบุตรของปุโรหิตนามว่า อหิงสกกุมาร (อ่านว่า อะ-หิง-สะ-กะ-กุ-มาร) ได้ร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีความเก่งกาจปัญญาดีจนเป็นทีอิจฉาริษยาของศิษย์ร่วมสำนัก บรรดาศิษย์เหล่านั้นได้ไปยุยงอาจารย์จนหลงเชื่อหาทางกำจัดอหิงสก โดยหลอกให้ไปฆ่าคนมาพันคนแล้วจะบอกวิชาให้ อหิงสกอยากได้วิชาก็ทำตามที่อาจารย์บอก เที่ยววิ่งไล่ฆ่าคนไปทั่ว ฆ่าแล้วก็ตัดนิ้วร้อยห้อยเป็นมาลัยสวมคอ จนเป็นที่หวาดกลัวของคนทั่วไปจนได้รับการขนานนามว่า “ องคุลิมาล “ อันหมายถึงโจรที่ตัดนิ้วนั่นเอง อหิงสกฆ่าคนได้ถึง ๙๙๙ คน ขาดอีกคนเดียวเท่านั้น 

วันหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องและหยั่งรู้ด้วยญาณว่าอหิงสกนี้ยังมีทางจะโปรดได้ ก็เลยเสด็จบิณฑบาตผ่านหน้าอหิงสกไป อหิงสกเห็นก็ดีใจคิดว่าจะได้ฆ่าคนที่หนึ่งพันแล้วก็ตามพระพุทธองค์ไป แต่ปรากฏว่าเดินตามวิ่งตามอย่างไรก็ไม่ทันพระพุทธองค์ จึงตะโกนร้องเรียกให้พระพุทธองค์หยุด พระองค์ตรัสว่า “ เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุด “ ในที่สุดพระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนพระธรรมและอหิงสกก็ได้บวชเป็นสาวกของพระองค์ แต่เนื่องจากกรรมที่ฆ่าคนไว้มาก พอไปบิณฑบาตที่ไหนคนเห็นก็กลัววิ่งหนี ทำให้พระองคุลิมาลไม่ได้ข้าวแม้แต่ทัพพีเดียว วันหนึ่งมีหญิงท้องแก่ใกล้คลอดเห็นพระองคุลิมาล จึงวิ่งหนีไปลอดรั้วด้วยความกลัว แต่ลอดไม่ได้ ทำให้ต่อมาเกิดความยากลำบากในการคลอดลูก บรรดาญาติจึงต่างปรึกษากัน ว่ามีสาเหตุมาจากการหนีพระองคุลิมาลและเห็นว่าพระองคุลิมาลคงไม่ฆ่าใครแล้ว จึงนิมนต์พระองคุลิมาลมาเล่าสาเหตุให้ฟัง ท่านจึงได้อธิษฐานว่า ตนเองเกิดมาไม่เคยคิดฆ่าสัตว์โดยเจตนา ด้วยความสัตย์นี้ขอให้ความสวัสดิ์จงมีแก่ครรภ์หญิงนั้น ก็ปรากฏว่าทำให้นางคลอดลูกได้สะดวกปลอดภัย พระปริตรบทนี้ถือว่าสวดแล้วจะมีความสวัสดีและคลอดลูกง่าย นิยมสวดในพิธีมงคลสมรสด้วย

ดูก่อน น้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดโดยชาติอริยะ ไม่รู้จักแกล้ง ปลงสัตว์มีชีวิตจากชีวิต
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดี จงมีแก่ครรภ์ของท่าน




บทขัดอังคุลิมาละปะริตตัง

บทขัดอังคุลิมาละปะริตตัง
            ปะริตตัง  ยัมภะณันตัสสะ                           นิสินนัฎฐานะโธวะนัง
            อุทะกัมปิ  วินาเสติ                                       สัพพะเมวะ  ปะริสสะยัง
            โสตถินา  คัพภะวุฎฐานัง                            ยัญจะ  สาเธติ  ตังขะเณ
            เถรัสสังคุลิมาลัสสะ                                    โลกะนาเถนะ  ภาสิตัง

            กัปปัฎฐายิ  มะหาเตชัง                                ปะริตตันภะณามะ  เห ฯ

แปล
 น้ำล้างที่นั่งของพระองคุลิมาลผู้สวดพระปริตรใด สามารถขจัดอันตรายทั้งปวงให้หมดไปได้   พระปริตรใดที่พระมหาโลกนาถทรงภาษิตไว้แก่พระองคุลิมาลเถระ สามารถยังการคลอดบุตรให้เป็นไปได้โดยสวัสดีในทันที ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรซึ่งมีเดชใหญ่ คงอยู่ตลอดกัปนั้นเถิด