วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปฐมสมโพธิกถา

ปฐมสมโพธิกถา
คัดลอกจาก สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงแปลจากภาษาบาลี  ผู้แต่ง  ไม่ทราบว่าผู้ใดแต่ง  จากผู้คัดลอกขอแก้บางส่วนให้อ่านง่ายตามยุคสมัย
บทที่หนึ่ง
งานมงคลแต่งงานที่ผ่านไป
พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา
ปฐมกษัตริย์ “มหาสมมติวงศ์”
ดังที่เราได้รู้ว่า ในต้นกัปนี้  พระพุทธเจ้าพระโคดมในศาสนาของเรา เกิดเป็นพระราชาองค์แรกของตระกูลพระราชาที่เป็นสมมติเทพ  เป็นพระมหาจักรพรรดิในชมพูทวีปนี้  พระโอรสทรงพระนามว่า  โรชราช  พระเจ้าโรชราชทรงมีพระโอรสพระนามว่า  วรโรชราช  พระเจ้าวรโรชราชทรงมีพระโอรสนามว่า  กัลยานราช  พระเจ้ากัลยานราชทรงมีพระโอรสพระนามว่า   สกมันธาตุราช(ภาษาบาลีเป็น วรมนุธาตุ)  พระเจ้าสกมันธาตุราชทรงมีพระโอรสนามว่า  อุโบสถ  พระเจ้าอุโบสถราชทางมีพระโอรสพระนามว่า  วรราช  พระเจ้าวรราชทรงมีพระโอรสพระนามว่า  อุปวรราช  พระเจ้าอุปวรราชทรงมีพระโอรสพระนามว่า  มฆเทวราช  ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์เป็นลำดับด้วยกัน ๑๑ พระองค์ด้วยกัน 
เกิดโอกกากราชวงศ์
ตั้งแต่นั้นมาพระราชวงศานุวงศ์ได้ครองราชย์สมบัติได้ครองราชย์สมบัติติดต่อกันมา ๘๔,๐๐๐ พระองค์  จนมาถึงโอกกากวงศ์ทั้งสาม  และพระเจ้าปฐมโอกกากราชย์ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์มาหลายชั่วกษัตริย์  จนมาถึงพระเจ้าทุติยโอกกากราช  พระเจ้าทุติยโอกกากราชเป็นบรมกษัตริย์ สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมา จนมาถึงพระเจ้าตติยโอกกากราช  พระเจ้าตติยโอกกากราชมีพระมเหสี ๕ พระองค์ คือ พระนางหัฏฐา ๑ พระนางจิตตา ๑ พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑ พระนางวิสาขา ๑ พระมเหสีองค์หนึ่งๆ มีนางสนมเป็นบริวาร ๕๐๐ๆ ก็แลพระนางหัฏฐาซึ่งเป็นพระเชษฐอัครมเหสีใหญ่นั้นมีพระราชบุตร ๔ พระองค์ คือ โอกกากมุขราชกุมาร ๑ กรัณฑราชกุมาร ๑ หัตถินิเกสิราชกุมาร ๑ นิปุรราชกุมาร ๑ แลมีพระราชบุตรีอีก ๕ พระองค์ คือ นางปิยาราชกุมารี ๑ นางสุปิยาราชกุมารี ๑ นางอานันทาราชกุมารี ๑ นางวิชิตาราชกุมารี ๑ นางวิชิตาเสนาราชกุมารี ๑ รวมพระบุตรแลพระบุตรีเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน
พระเจ้าโอกกากราชที่ ๓ ยกราชสมบัติให้พระโอรสองค์เล็ก
ครั้นสืบมา ณ กาลภายหน้า พระมเหสีผู้ใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ลง สมเด็จบรมกษัตริย์จึงไปนำมาซึ่งนางราชธิดาองค์อื่นอันทรงอุดมรูป ตั้งไว้ ณ ที่เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่ แลนางนั้นมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง ทรงนามชันตุราชกุมาร ครั้นพระราชกุมารนั้นพระชนม์ได้ ๕ เดือน พระมารดาจึงประดับด้วยเครื่องราชกุมารปิลันธนาภรณ์นำขึ้นเฝ้าพระราชบิดา พระราชบิดาได้ทอดพระเนตรพระราชโอรสอันทรงสรีรรูปอันงาม ก็ทรงพระสิเนหปราโมทย์ จึงดำรัสพระราชทานพรแก่พระนางผู้เป็นมารดาว่า เจ้าจะปรารถนาพรอันใดก็จะให้สำเร็จมโนรถ
แลนางนั้นได้โอกาสจึงคบคิดกับหมู่ญาติทั้งปวงทูลขอราชสมบัติให้แก่บุตรของตน สมเด็จบรมกษัตริย์ตรัสคุกคามว่า หญิงร้าย ไฉนเจ้ามากล่าวความพินาศฉิบหายปรารถนาจะกระทำอันตรายแก่โอรสผู้ใหญ่ของเราดังนี้ แลนางนั้นก็คอยท่วงที เมื่อเสด็จเข้าสู่ที่สิริครรภไสยาสน์ กระทำประโลมด้วยอิตถีมายายังพระภัสดาให้ยินดีด้วยวิธีกามเสวนกิจ แล้วพิดทูลวิงวอนว่า พระองค์เป็นบรมกษัตริย์ ได้ออกพระโอษฐ์พระราชทานพรอนุญาตแก่ข้าพระบาทแล้ว ซึ่งจะมิได้โปรดพระราชทานให้สมซึ่งประสงค์แห่งข้าพระองค์นั้นมิสมควร
พระโอรสพระธิดา ๙ พระองค์ต้องออกจากเมือง
สมเด็จพระเจ้าโอกกากราชทรงคิดละอายพระทัยด้วยได้ลั่นพระโอษฐ์ออกแล้วเกรงจะเสียสัตย์ จึงดำรัสให้หาพระราชโอรสทั้ง ๔ มาเฝ้า แล้วตรัสเล่าความตามนัยหนหลัง แล้วตรัสสั่งว่าเจ้าจะปรารถนาช้างม้าแลรถรี้พลสักเท่าใด ก็จงนำไปเท่านั้น เหลือไว้แต่คชาชาติราชอัสสดุรงครถซึ่งสำหรับพระนคร จงพาจตุรงคนิกรทั้งปวงไปจากราชพารา ช่วยรักษาสัตย์ของบิดาไว้ ต่อเมื่อบิดาสวรรคาลัยแล้ว จึงกลับมาคืนเอาราชสมบัติ แล้วตรัสสั่งอมาตย์ ๘ นาย ให้ไปกับพระราชโอรสช่วยทำนุบำรุงรักษาอย่าให้มีภัยอันตรายได้
พระราชกุมารทั้ง ๔ รับพระราชปริหารแล้ว กราบถวายบังคมลา ต่างองค์ทรงพระโสกาดูรพิลาปด้วยปิยวิปโยคทุกข์ซึ่งจะจำจากกัน แล้วทูลขอขมาโทษพระราชบิดา แลอำลาพระราชวงศานุวงศ์กับทั้งหมู่อนงค์นางสนมทั้งปวง แล้วพาพระเชษฐภคินีแลพระกนิษฐภคินีทั้ง ๕ พระองค์ออกจากพระนคร กับด้วยจตุรงคนิกรและอมาตย์ทั้ง ๘ เป็นบริวาร
ส่วนประชาชนหญิงชายทั้งหลายได้แจ้งเหตุว่า พระราชกุมารจะเสด็จคืนมาครอบครองราชสมบัติในกาลเมื่อพระบรมกษัตริย์ราชบิดาทิวงคตแล้ว ก็ชวนกันดำริว่า เราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระราชกุมาร ก็พากันตามเสด็จไปจากพระนครเป็นอันมาก แล้วเดินทางไปล่วง ๓ วันแล้ว สิ้นหนทางถึง ๓ โยชน์ ก็ยังไม่สิ้นรี้พลประชาชนอันตามเสด็จ

จึงพระราชกุมารทั้ง ๔ มี พระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน ก็ตรัสปรึกษากันว่า พลนิกายของเรามากกว่ามาก แม้จะยกไปย่ำยีตีพระยาสามนตราชเมืองหนึ่งเมืองใด ชิงเอาบ้านเมืองแลชนบทแว่นแคว้น ก็จะได้สมความปรารถนาแลท้าวพระยาทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะสู้รบเราไม่ได้ คงจะปราชัยพ่ายแพ้ แต่ทว่าจะประโยชน์อันใดด้วยจะเบียดเบียนเอาสมบัติบ้านเมืองของผู้อื่น และแผ่นพื้นชมพูทวีปก็ใหญ่กว้างควรจะไปสร้างนครในอรัญประเทศ ให้พ้นเขตแดนท้าวพระยาสามนตราชทั้งปวง ก็ดำเนินพลบ่ายหน้าเฉพาะป่าหิมพานต์ เที่ยวแสวงหาที่ภูมิสถานอันจะสร้างพระนครใหม่
กบิลพราหมณ์โพธิสัตว์แนะให้สร้างเมืองใหม่
ในกาลนั้น พระบรมโพธิ์สัตว์แห่งเรา บังเกิดในสกุลพราหมณมหาศาลมีนามกบิลพราหมณ์ พิจารณาเห็นโทษในเบญจกามคุณจึงเสียสละสมบัติออกบรรพชาเป็นดาบส ไปสร้างบรรณศาลาสถิตอยู่ในสากพนสณฑ์ แทบใกล้ฝั่งสระโบกขรณี อันมีอยู่ ณ ชายป่าหิมวันตประเทศ แลพระผู้เป็นเจ้ารู้ในภูมิดลมงคลวิทยา พิจารณาเห็นคุณแลโทษในโอกาสสูงขึ้นไปได้ ๘๐ ศอก ในภายใต้ปฐพีลึกลงไปได้ ๘๐ ศอกดุจกัน และในภูมิประเทศที่แห่งนั้นมีกอหญ้าแลกอลดาวัลย์เวียนเป็นทักษิณาวรรตผันไปฝ่ายปราจีนทิศทั้งสิ้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่าสีหพยัคฆ์ไล่ซึ่งมฤคสุกรมาแลวิฬาร์ไล่ซึ่งหนู งูไล่ซึ่งมณฑกชาติมาถึงที่นั่น แล้วก็มิอาจติดตามต่อไปได้ สัตว์ที่แพ้นั้นกลับไล่คุกคามเอาสัตว์ที่มีอำนาจให้ปลาตนาการกลับไป เป็นที่ชัยมงคลภูมิประเทศพระดาบสแจ้งเหตุฉะนี้จึงจัดแจงสร้างบรรณศาลาอาศัยอยู่ในที่นั้น

ครั้นพระผู้เป็นเจ้าเห็นพระราชกุมารทั้งหลายยาตราพลาพลนิกายมาเป็นอันมาก จึงได้ถามทราบความว่าสืบแสวงหาที่จะสร้างพระนคร ก็มีความกรุณาปรารถนาจะอนุเคราะห์ให้เป็นประโยชน์แก่พระราชกุมารทั้งปวง จึงบอกเหตุว่า บพิตรจงสร้างพระนครลงในที่บริเวณบรรณศาลาของอาตมานี้เถิด แลเมืองอันนี้นานไปภายหน้าจะเป็นอัครนครปรากฏในชมพูทวีป ผิวบุรุษบังเกิดในพระนครนี้จะมีอานุภาพมาก คนเดียวก็อาจสามารถจะข่มขี่ผจญเสียได้ซึ่งบุรุษอื่นร้อยคนพันคนให้พ่ายแพ้อำนาจ จงสร้างปราสาทราชคฤหสถานลงตรงที่บรรณศาลานี้ ผิวผู้ใดสถิตในที่นี้ถึงแม้นมาตรว่าเป็นบุตรคนจัณฑาลก็จะมีพลานุภาพมาก อาจข่มขี่เสียได้ซึ่งปัจจามิตร ดุจพลานุภาพแห่งบรมจักรพรรดิเป็นแท้ พระราชกุมารจึงเผดียงถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไปอยู่ ณ ที่ใด ดูก่อนบพิตร อย่าได้ทรงพระปริวิตกเลยด้วยที่อยู่ของอาตมา แลอาตมาก็จะไปสร้างบรรณศาลาอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่งนอกพระนคร บพิตรจงตั้งนามกรเมืองนี้ชื่อกรุงกบิลพัสดุ์เถิด
เกิดพระนครกบิลพัสดุ์

และพระพระกุมารทั้ง ๔  มีพระโอกกากมุขผู้เป็นพี่ใหญ่เป็นประธาน ทำการสร้างนคร  สร้างปราสาทพระราชวังตามคำแนะนำของดาบส ก็ตั้งชื่อว่านครกบิลพัสดุ์ตามชื่อพระดาบสที่แนะนำให้สร้างนคร แล้วก็อาศัยในนครดังที่มานี้    
เกิดศักยราชตระกูลอภิเษกสมรสกันเอง

เนื่องจากเกรงว่าสมรสกับกษัตริย์ตระกูลอื่น  อาจมีเชื้อสายไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็เกรงจะเสื่อมเสีย   พระโอรสทั้ง ๔ พระองค์และพระธิดาทั้ง ๔ พระองค์จึงอภิเษกสมรสกันเอง  เพื่อจะได้เชื้อสายที่บริสุทธิ์
พระโพธิสัตว์เคยอุบัติในราชวงศ์นี้เป็นพระเวสสันดร

พระโพธิสัตว์เคยเกิดในราชวงศ์นี้  เป็นพระเวสสันดรบริจาคทรัพย์เมื่อมีชีวิตจนตายเป็นจำนวนมาก  จนมาถึงพระเจ้าไชยเสนราช มีพระราชบุตรชื่อว่าพระเจ้าสีหหนุได้เสวยราชพระเจ้าสีหหนุศักยะให้เหล่าอำมาตย์เสาะหาหญิงงามเพื่อพระโอรสสุทโธทนะ
พระเจ้าสีหหนุให้เหล่าอำมาตย์ทั้ง ๘  เสาะหาหญิงงามที่มีลักษณะ ๖๔ ประการ  เพื่ออภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะสมบัติสืบต่อกันมา
ความงดงามของเจ้าหญิงสิริมหามายาแห่งเทวทหะ

ในกาลนั้นพระนางสิริมหามายาเทวี ได้บำเพ็ญเพียนมาตั้งแต่พระพุทธเจ้าวิปัสสี  ทรงมีสิริโฉมอันงดงามมีลักษณะของนารีที่สมบูรณ์ ๖๔ ประการและมีเบญจกัลยานีมิมีผู้ใดหาเปรียบได้และจะให้ความสุขทั้ง ๓ ประการ กล่าวคือ มนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข
พวกพราหมณ์ทำนายว่าจะเป็นพุทธมารดา

เหล่าพราหมณ์ก็ทำนายว่า  พระธิดาจะได้เป็นพุทธมารดา  พระเจ้าชนาธิปก็ดีใจอย่างยิ่ง  จึงให้กระทำอู่แก้ว ๗ ประการ  แล้วถวายพระนามว่าสิริมหามายาราชกุมารี  เพราะมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งนัก  เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษาก็หาหญิงใดในโลกธาตุที่มีความงามเสมอเหมือนหรืองามกว่ามิได้
ความอัศจรรย์  ๑๒ ประการของพระนางสิริมหามายา
       ๑. เมื่อพระนางถือถาดทองที่เต็มไปด้วยภัตตาหารเลิศรส ทรงสามารถตักอาหารนั้นให้แก่มนุษย์ทั่วทั้งชมพูทวีปให้อิ่มได้ทุกคน อาหารนั้นก็มิได้บกพร่องไปเลย มนุษย์ทั้งหลายที่บริโภคอาหารของพระนางก็มีอายุยืนยาวทั้งสิ้น 

       ๒. เมื่อพระนางทรงสัมผัสกายของผู้เจ็บป่วยคนใดก็ตาม หากผู้นั้นไม่ถึงกาลหมดอายุขัย โรคทั้งหลายก็จะหายไปในทันที

          . เมื่อพระนางจับใบไม้ทั้งหลาย ใบไม้นั้นก็กลับกลายเป็นทองไปทั้งสิ้น

       . เมื่อพระนางนำพืชผลใดลงเพาะปลูกลงในดิน ทันทีที่พระนางได้เทน้ำลงไป พืชนั้นก็จะผุดขึ้นเติบใหญ่แตกกิ่งก้าน ผลิดอกออกผลในทันที

          . หากพระนางเสด็จขึ้นไปบนภูเขา และเอ่ยว่าทรงกระหายน้ำ ทันใดท่อธารน้ำร้อนและน้ำเย็นก็จะปรากฏขึ้นมาถวายแด่พระนาง

       . เมื่อพระนางเสด็จไปในที่ใด เหล่าภุมมเทวาและรุกขเทวาก็จะเนรมิตซึ่งทิพยอาหารถวายแด่พระนางและบริวาร
      ๗. เมื่อพระนางเสด็จประพาสอุทยาน เหล่าเทวดาก็จะนำมาซึ่งน้ำทิพย์ให้สรงสนานและนำอาภรณ์ทิพย์มาตกแต่งให้พระนาง

      ๘. เมื่อพระนางบรรทม ราชายักษ์ทั้ง ๘ ก็จะถือพระขรรค์มายืนเฝ้าแวดล้อมอารักขาในทิศทั้งหลาย 

         . เมื่อพระนางเสด็จไปพักเล่นในตำบลใด เหล่าเทวดาก็จะแปลงเพศมาเล่นมหรสพถวายแด่พระนางให้เพลิดเพลิน

    ๑๐. เมื่อถึงยามเย็น เทวดาที่สถิตในป่าหิมพานต์ก็จะนำมาซึ่งน้ำจากสัตตะมหาสระ ใส่หม้อทองมาสรงสนานให้แก่พระนาง

    ๑๑. ในกาลที่ทรงเกิด เทวดาได้นำพระแท่นอันเป็นทิพย์ที่เกิดจากไม้กัลปพฤกษ์ ยาว ๘๐ ศอก กว้าง ๘๐ ศอก ถวายให้พระนางได้บรรทมบนแท่นอันเป็นสิริโดยตลอด

     ๑๒. เมื่อพระนางทอดพระเนตรสมณชีพราหมณ์และชาวประชาทั้งปวง หากประสงค์จะบริจาคทาน ฝนรัตนชาติก็จะตกลงจากอากาศให้พระนางแจกจ่ายได้ดังประสงค์ คำว่าอดอยากมิได้มี

    
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระนางสิริมหามายาทรงบำเพ็ญทานเพราะปรารถนาเป็นพระพุทธมารดาในอดีต
บุรุษและมนุษย์เห็นพระนางสิริมหามยาต่างหลงใหล

เมื่อพระธิดาเจริญวัย บุรุษและมนุษย์เมื่อเห็นพระนางสิริมหามายาต่างก็หลงใหลในความงามไม่ได้สติทุกคน
พระนางสิริมหามายาเสด็จสรงน้ำพักผ่อนในอุทยาน

มีอยู่ครั้งหนึ่งพระนางสิริมหามายาอยากไปอุทยาน  เหล่านางกำนัลข้ารับใช้ก็เตรียมสิ่งของไป  ทรงสนุกสนานสำราญที่อุทยาน
พวกพราหมณ์ไม่พบสตรีงามตามที่ต้องการจึงมาค้นหาสตรีในเมืองเทวทหะ

พวกพราหมณ์ไม่เจอสตรีงามที่มีลักษณะ ๖๔ ประการครบถ้วน  เจอสตรีที่มีลักษณะอื่นอยู่บ้างแต่เจอไม่ครบ  จนกระทั่งเดินทางมาถึงเมืองเทวทหะ  ได้ยินเสียงมาจากอุทยานก็พบพระธิดาที่แวดล้อมด้วยข้าราชบริพารที่เหมือนเทพอัปสรแวดล้อมเทพธิดา และมีรัศมีล้อมรอบตัวพระธิดา  
พวกพราหมณ์พบพระธิดากลับลืมตัว

เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ พบพระธิดากลับลืมตัว ไม่ได้สติเนื่องจากความงามของพระธิดา  พระธิดาจึงให้นางข้ารับใช้ไปถามดู โกญฑัญญพราหมณ์นั้นเคยบำเพ็ญบุญจึงได้สติก่อน  จึงบอกนางข้าราชบริพารถึงสิ่งที่พระเจ้าสีหหนุใช้มาให้ทราบ  และนางข้าราชบริพารก็นำความไปทูลพระธิดา
โกญฑัญญพราหมณ์หลงใหลจนสลบ

โกญฑัญญพราหมณ์ก็ถูกพระธิดาเชิญไปถามว่า แคว้นใดสั่งท่านมา เมื่อได้ฟังโกญฑัญญพราหมณ์ก็หลงใหลจนสลบไป
ฟื้นแล้วกราบทูลเหตุผลที่บอกมา
เมื่อพระธิดาเห็นเช่นนั้นก็ให้เอาน้ำเย็นมารดโกญฑัญญพราหมณ์  เมื่อสติก็บอกพระธิดาว่า พระโอรสสุทโธทนะถึงเวลาที่จะอภิเษกแล้ว จึงให้มาตามหาหญิงงามที่มีลักษณะ ๖๔ ประการเพื่ออภิเษกกับพระโอรส เมื่อมาเจอพระธิดาก็ได้มาพบหญิงที่มีลักษณะตามที่ต้องการ
เพียงสดับพระคุณของพระกุมาร  เจ้าหญิงก็ทรงหลงรัก

เมื่อได้ฟังพระคุณของพระกุมารก็ทรงหลงรัก เนื่องด้วยบุพเพสันนิวาสในอดีต แต่ปิดบังเอาไว้แล้วให้โกญฑัญญพราหมณ์ไปเจรจากับพระมารดา
ทรงรับมณีปิลันธนคีวะ (เครื่องประดับสวมพระศอ)

พราหมณ์ก็ได้บอกต่อไปว่าพระเจ้าสีหหนุราชได้สั่งว่าเมื่อพบหญิงสาวที่ตามหาก็ให้มอบเครื่องประดับสวมพระศอให้  พระธิดาจึงมีรับสั่งให้ส่งมาเถิด นางข้ารับใช้ก็เอามณีนั้นมาล้างนำแล้วประพรมด้วยของหอม ใส่ไว้ในกล่องแก้วแล้วให้พราหมณ์ไปที่อยู่ของพระบิดา เมื่อไปถึงก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระเจ้าชนาธิปทราบ 
พวกพราหมณ์ทูลคุณสมบัติของพระราชกุมาร

เหล่าพราหมณ์ก็ทูลคุณสมบัติของพระโอรสสุทโธทนะให้พระเจ้าชนาธิปทราบ
ทรงพิจารณาเห็นทั้งสองเหมาะสมกันยิ่ง

เมื่อได้ฟังดังนั้นพระเจ้าชนาธิปก็พิจารณาว่าพระธิดาและพระโอรสสุทโธทนะเหมาะสมกันยิ่ง
ตรัสให้เลี้ยงดูพวกพราหมณ์ แล้วทรงประชุมสโมสรสันนิบาตพิจารณาการสู่ขอ

พระเจ้าชนาธิปจึงสั่งให้เหล่าอมาตย์นำความไปทูลพระมเหสี  และสั่งให้ข้าราชบริพารเอาอาหารมาเลี้ยงเหล่าพราหมณ์ แล้วสั่งให้มีการประชุมพิจารณาการสู่ขอ
ที่ประชุมเห็นชอบถวายพระราชธิดาสิริมหามายา

เมื่อประชุมกันที่ประชุมก็เห็นชอบด้วย  วันรุ่งขึ้นก็ให้พราหมณ์กินข้าว  ให้รางวัลพราหมณ์  และให้ของแก่พระเจ้าสีหหนุ  อนุญาตถวายพระธิดา แล้วส่งพราหมณ์กลับเมือง
พระเจ้าสีหหนุทรงพระสุบิน ๒ ข้อ

เมื่อพระเจ้าสีหหนุทรงบรรทมก็ทรงสุบินสองข้อที่ทั่วโลกธาตุไม่มีสิ่งใดเคยฝันแบบนั้น
พระสุบินข้อหนึ่ง ทรงเห็นวิมานรัตนะ ๗ ผุดขึ้นกลางชมพูทวีป
ข้อหนึ่งว่ามีสัตตรัตนพิมานอันหนึ่ง ผุดขึ้นมาแต่พื้นภูมิภาคประดิษฐานในที่ท่ามกลางชมพูทวีป สูงพ้นภวัครพรหมมีพื้นที่ถึง ๒๘ ชั้น แลพื้นชั้นต่ำใหญ่กว้างแผ่ไปปกปิดเสียทั่วทั้งหมื่นจักรวาฬแลพื้นชั้น ๒ ปกปิดเสียซึ่งชั้นจาตุมหาราช พื้นชั้น ๓ ปกปิดเสียซึ่งชั้นดาวดึงส์ พื้นอันเศษถัดๆ ขึ้นไปนั้น ก็ปิดปิดเสียซึ่งกามาพจรเทวโลกพื้นละชั้นโดยลําดับ ตราบเท่าถึงรูปาพจรพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น รุ่งเรืองงามยิ่งนัก แลยอดวิมานนั้นล้วนแล้วด้วยแก้วมณีโอภาสส่องสว่างไปทั่วทวิเขตทั้ง ๒ คือ หมื่นจักรวาลอันเป็นชาติเขต แลแสนโกฏิจักรวาฬเป็นอาณาเขต ภายในวิมานนั้น มีรัตนบัลลังก์อันหนึ่งสูงได้ ๓๔ แสนโยชน์ โดยกว้างได้ ๗ แสนโยชน์ แลมีอัครบุรุษผู้หนึ่งอยู่บนบัลลังก์แก้วกับด้วยนางเทพอัปสรกัญญาบริวารเป็นอันมากดําริที่จะเปิดประตูพระอมตมหานฤพาน ตสฺมึ ขเณมหาเมโฆ ขณะนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้นหลั่งลงซึ่งหยาดเมล็ดฝนทั่วทั้ง
ห้องจักรวาฬ แลเมล็ดฝนนั้นปรากฏเป็นรูปต่างๆ ตกลงมาแทบบาทมูลแห่งอัครบุรุษผู้นั้น แล้วก็กลับกลายเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น และอัครบุรุษนั้นก็สั่งสอนให้เล่าเรียนศิลปศาสตร์เป็นอันมาก จะให้ชนทั้งหลายเหล่านั้นได้ซึ่งอดุลยสุข
พระสุบินข้อสอง ทรงเห็นหมู่สัตว์กลายเป็นมนุษย์
มีอัครบุรุษพาข้ามแม่น้ำหลายเที่ยว

แลพระสุบินนิมิตอื่นข้อหนึ่งเป็นคํารบ ๒ ว่ายังมีมหาคงคาอันหนึ่งกว้างลึกยิ่งนัก ดาษไปด้วยระเบียบคลื่นอันใหญ่ แลอัครบุรุษนั้นตกแต่งผูกซึ่งเรือขนานอันล้วนแล้วด้วยแก้ว ประทับอยู่ที่ฝั่งมหาคงคาแลมีฝูงสัตว์ทั้งหลายผุดขึ้นมาจากน้ำแล้วกลับกลายเป็นมนุษย์ แล้วมีสัตว์เป็นอันมากมีรูปต่างๆ ผุดขึ้นมาจากภายใต้แผ่นดินแล้วก็กลายเป็นมนุษย์มาสู่สํานักอัครบุรุษ อัครบุรุษก็สั่งสอนให้เรียนซึ่งมนต์ทั้งสิ้นด้วยกัน แล้วก็พาชนบริษัทเหล่านั้นลงสู่รัตนมหานาวา แล่นข้ามมหาคงคานั้นไป แลโลโณทกวารีในมหานทีนั้น จะได้เข้าไปในลํานาวาแก้วแต่มาตรว่าหยาดหนึ่งก็หามิได้ ส่วนองค์อัครบุรุษก็ทรงจังกูฏนั่งถือท้ายเรือแก้วนั้นไปจนถึงฝั่งฟากโพ้น แล้วนํามหาชนขึ้นสู่ฝ๎๑ง พาเข้าไปในเมืองหนึ่งมีนามอนาลัยนคร ประกอบด้วย ปราการ ๗ ชั้น แลมีทั้งปรางคปราสาทอันรจนา แล้วพระองค์ก็กลับลงสู่รัตนนาวา ข้ามกลับมาบรรทุกชน ทั้งหลายขนข้ามไปสู่พระนครนั้นเนืองๆ เป็นหลายครั้ง สิ้นข้อความในสุบินเป็น ๒ ข้อเท่านั้นก็พอบรรทม ตื่นในเวลาปัจจุสสมัยกาล
พราหมณ์ทำนายว่า หาคู่ให้พระราชกุมารได้แล้ว
และพระนางจะเป็นพระพุทธมารดา

พอรุ่งเช้าก็ให้บิดาโกณฑัญญพราหมณ์มาทำนายฝัน พราหมณ์ทำนายว่า หาคู่ให้พระราชกุมารได้แล้วและพระนางจะเป็นพระพุทธมารดา  เมื่อได้ฟังก็ทรงดีใจ
พราหมณ์อำมาตย์ ๘ คน กลับเข้าเฝ้าถวายรายงาน

เมื่อพราหมณ์กลับมาถึงกรุงกบิลพัสดุ์  จึงนำเครื่องบรรณาการมาถวาย แล้วเล่าเรื่องทั้งหมด  แล้วเล่าเรื่องพระเจ้าชนาธิปประทานพระธิดาให้
นัดวันวิวาหมงคล

สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชจึงรับสั่งให้ประชุมกษัตริย์ศักยราชทั้ง ๖๐๐,๐๐๐ พระองค์ ปรึกษาพร้อมกันแล้วก็จัดให้กษัตริย์ ๓ พระองค์กับสุดิตมัตตเสนาบดีแลสุทธิยอมาตย์ คุมเครื่องราชบรรณาการไปกับพราหมณ์ทั้ง ๘ สู่เมืองเทวทหนคร กราบทูลนัดการวิวาหมังคลาภิเษก  พระเจ้าชนาธิปราชก็ทรงพระโสมนัส จึงตรัสส่งกษัตริย์ ๓ พระองค์ กับอุปาหนเสนาบดีแลสุปดิษฐอมาตย์ให้คุมเครื่องราชบรรณาการตอบไปถวายสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราช กําหนดการวิวาหมงคล
ขบวนเสด็จไปกรุงเทวทหะ

พระเจ้าสีหหนุราชจึงได้ตกแต่งมรรคาแต่กบิลพัสดุ์ไปตราบเท่าถึงเมืองเทวทหนคร ประดับด้วยอลังการต่างๆ แล้วจัดกษัตริย์ศักยราชวงศ์ขึ้นทรงกุญชรชาติ ๒,๐๐๐ ประดับหัตถาภรณ์ แล้วให้พระสิริสุทโธทนราชโอรสทรงช้างต้นพระยาเศวตไอยรารัตนป๎จจัย แวดล้อมไปด้วยกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์เป็นบริวารแล้วจัดสินธพยาน ๓,๐๐๐ ให้ศักยราชกุมารขึ้นทรงถ้วนทุกตัวม้าแห่เสด็จโดยขบวนหน้าหลังแลมีพลเดินเท้าล้วนถือธนู ๙๐๐,๐๐๐ แห่ไปเบื้องหน้าแห่งคชาพาหนยาตร แล้วให้จัดเกวียนบรรทุกข้าวสารสัญชาตสาลี ๓๐,๐๐๐ เล่ม แลเกวียนบรรทุกทรัพย์พัสดุสิ่งของต่างๆ ๔,๐๐๐ เล่มเกวียน บรรทุกมัจฉมังสาผลาผลสิ่งของบริโภคทั้งปวง ๖,๐๐๐ เล่ม ให้ล่วงหน้าไปก่อน สยํ ส่วนองค์พระเจ้าสีหหนุราชก็ทรงมงคลหัตถีแลช้างพระประเทียบทั้งปวงตามเสด็จแวดล้อมด้วยหมู่มุขเสนามาตย์ คหบดี เศรษฐี ทวิชาจารย์ แลจตุรงคโยธาหาญเป็นอันมาก เสด็จยาตราพลาพลไปเบื้องหลัง
พระเจ้าชนาธิปราชารับเสด็จ ณ อโสกอุทยาน (อยู่ในป่าลุมพินี)

ชนาธิปราชา ส่วนสมเด็จพระเจ้าชนาธิปราชทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าสีหหนุราชเสด็จยาตราพลมา ก็เสด็จทรงพระราชยานน้อยแวดล้อมด้วยเสนามาตย์ราชพิริยโยธาหาญ ออกจากพระนครไปถึงอโสกอุทยาน ยานา  โอตาเรตฺวา จึงเสด็จลงจากพระราชยานเสด็จดําเนินด้วยพระบาทไปทําป๎จจุคมนาการรับเสด็จสมเด็จพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์ ถวายบังคมทูลเชิญเสด็จประเวสพระนคร สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชทอดพระเนตรเห็นปุาลุมพินีอันใหญ่กว้าง เป๐นที่รัมณียสถาน จึงตรัสแก่พระเจ้าชนาธิปราช ขอพักพลประทับอยู่ในที่นั้น พระเจ้าชนาธิปราชให้รี้พลแผ้วถางภูมิประเทศที่นั้นถวาย
พระเจ้าสีหหนุตรัสให้สร้างมหามณฑปและปราสาท ๑ องค์
ส่วนพระเจ้าชนาธิปทรงให้สร้างปราสาท ๒ องค์

พระเจ้าสีหหนุราชจึงตรัสสั่งสุรัตนวัฒกีอมาตย์ นายช่างผู้ใหญ่ให้กระทํามหามณฑปกว้างถึงกึ่งประโยชน์ กอปรด้วยเสาถึง ๘๐๐ ต้น แล้วให้กระทําปราสาททององค์หนึ่งมีพื้น ๑๙ ชั้น ในอโสกอุทยานให้นามโกกนุทปราสาท ส่วนพระเจ้าชนาธิปราชก็ให้สร้างปราสาท ๒ องค์ได้นามธัญมุตปราสาทองค์ ๑ เวฬุป๎ตปราสาทองค์ ๑ ณ พระอุทยานนั้น
สร้างเพื่อใช้เป็นสถานมหามงคลวิวาหะในเดือน ๔
แลการปราสาททั้ง ๓ สําเร็จในเดือนหนึ่งบริบูรณ์ ครั้งถึงผคุณมาส พระเจ้าชนาธิปราช จึงให้ตกแต่งพระนครงามดุจดาวดึงส์เทวโลก แล้วให้ตกแต่งปราสาททั้ง ๓ และมหามณฑปในอโสกอุทยาน ในท่ามกลางมหามณฑปนั้นตั้งไว้ซึ่งกองแก้ว ๗ ประการ สูงประมาณชั่วลําตาลหนึ่ง ลาดด้วยผ้ากัมพลอันหาราคามิได้ เป็นบัลลังก์สําหรับจะราชาภิเษก ครั้นเวลารุ่งเช้าก็อัญเชิญพระสิริมหามายาราชธิดา ให้โสรจสรงเสาวคนธ์จันทโนทกธารา แล้วทรงเครื่องสิริราชกัญญาวิภูสนาภรณ์พร้อมเสด็จแวดล้อมด้วยคณาเนกนางขัตติยราชกุมารีแสนหนึ่งเป็นบริวาร

ราชา ส่วนสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชก็อันเชิญพระเจ้าสิริสุทโธทนราชโอรส ให้โสรจสรงสุคนโธทกธารา แล้วทรงราชาภิษิกพัสตร์รัตนราชปิลันธนาภรณ์พร้อมเสร็จ พออุตมฤกษ์ก็อัญเชิญเสด็จขึ้นทรงอลงกตมหามงคลราชรถ อันห้อยย้อยไปด้วยแก้วมีประการต่างๆ เทียมด้วยสินธพชาติทั้ง ๔ มีสีดังดอกกุมุทเสด็จไปสู่มหามงคลมณฑปที่ราชาภิเษก

หมู่เทวดาและพรหมร่วมยินดี แสดงตัวให้พระราชาทอดพระเนตร
ตสฺมึ  ขเณ ขณะนั้นก็ร้อนถึงบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ สมเด็จอมรินทราธิราชทรงพระอาวัชนาการทราบเหตุ จึงเสด็จแวดล้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมาก ดํารัสให้พระวิสสุกรรมเทพบุตรถือเอาซึ่งทิพยภูษาแล้วให้นางสุชาดาเทพอัปสรกัญญานําหน้าอมรบรรษัทลงสู่กรุงเทวทหนคร ในกาลนั้น หมู่ภุมเทพยดา และรุกขเทพยดา อากาศเทพยดาทั้งหลาย ก็ชวนกันอุโฆษณาสาธุการโกลาหลนี่สนั่น เทพยดาในชั้นฉกามาพจรสวรรค์แลมหาพรหมตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชตลอดถึงภวัครอกนิษฐภพ ได้สดับศัพท์สาธุการก็ชวนกันโสมนัสปรีดา แลท้าวสหัมบดีมหาพรหมพระหัตถ์เบื้องขวาทรงรัตนภิงคารพระเต้าแก้ว เต็มไปด้วยทิพยสุคนโธทกพระหัตถ์เบื้องซ้ายทรงรัตนจังโกฏก์ผอบแก้วเต็มไปด้วยสัตตรัตนมณี แลท้าวสุทธาวาสมหาพรหมพระกรทรงทิพย์เศวตฉัตรอันใหญ่ดุจบุรุณจันทรมณฑลลงสู่เทวทหนคร สมเด็จพระเจ้าชนาธิปราชได้ทอดพระเนตรเห็นเทพยคณะบรรษัททั้งหลาย ลงมาเป็นอันมาก ก็ทรงพระโสมนัสตรัสสรรเสริญบุญบารมีพระราชธิดาแห่งพระองค์อันเป็นมหัศจรรย์
สกฺโก วิสฺสุกมฺมํ อาณาเปตฺวา สมเด็จอมรินทราธิราชจึงตรัสสั่งวิสสุกรรมเทพบุตรให้กระทําพื้นลานรอบมหามณฑป แลมรรคากึ่งโยชน์อันจะมาแต่พระนคร ตราบเท่าถึงพระอุทยานนั้น ให้ราบรื่นพื้นเสมอเป็นอันดี เทพยดาทั้งหลายก็มาประชุมเล่นมหรสพภิเษกสมโภชในที่นั้นๆ
ขบวนพระราชธิดามายามีพระอินทร์

ส่วนพระสิริมหามายาทรงเครื่องแล้วแวดล้อมด้วยนางขัตติยกัญญาแสนหนึ่งเป็นบริวาร เสด็จลงจากปราสาทมาทรงราชรถ แลนางสุชาดาเทพอัปสรอสุรธิดา ก็ทรงทิพยรถยานออกจากพระนครไปสู่อุทยานแวดล้อมด้วยคณาเนกนางเทพอัปสรเป็นบริวารนําหน้ารถพระสิริมหามายาราชบุตรี สมเด็จท้าวโกสีย์แลพระเจ้าชนาธิปราช กับทั้งสุนันทาเทวีราชชนนีแลหมู่นางสนมนารีนิกรกัญญา กับกษัตริย์ขัตติยวงศาทั้งหลายเป็นอันมากก็ตามไปในเบื้องหลัง หมู่เทพบรรษัททั้งหลายก็ถือฉัตรแลธงชายธงปฏากแห่ไปทั้งสองฟากถนนวิถี เทพยดามนุษย์ทั้งปวงก็มาสโมสรสันนิบาต นั่งแวดล้อมมหามงคลวิวาหมณฑปอยู่โดยรอบในขณะนั้น อันว่าทิพยมณฑาบุบผชาติ แลนานาทิพยกุสุมวัสสธารก็บันดาลตกเต็มทั่วพื้นภูมิสถานโดยยาวได้สองโยชน์กว้างได้โยชน์หนึ่งแต่ล้วนกองดอกไม้ทิพย์อันตกลงมาสูงเสมอหลังม้า
ขบวนพระราชกุมารสุทโธทนะมีท้าวมหาพรหม

ส่วนสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชก็ให้ตรวจเตรียมพลสารสินธพพยุหยาตร แลให้พระสิริสุทโธทนราชกุมารลงจากราชรถ เสด็จขึ้นทรงมงคลเศวตหัตถี อันมีนามรัตนป๎จจัยกุญชร เบื้องบนหลังดาดด้วยข่ายเงินทองแก้วทั้ง ๗ ประการ แลตั้งซึ่งสุวรรณรัตนปราสารทเป็นราชาอาสน์ที่สถิต มีกษัตริย์ศักยราชวงศ์ ๑๐๑ พระองค์แวดล้อมเป็นบริวาร แลท้าวสุทธาวาสมหาพรหมทรงซึ่งทิพยเศวตฉัตรอันใหญ่นําเสด็จไปในเบื้องหน้า และราชกุมารทั้งสอง คือ พระสุกโกทนะแลอมิโตทนะผู้เป็นพระอนุชาเสด็จทรงมงคลราชรถอันเดียวกัน พร้อมด้วยจตุรงคโยธาหาญแห่ตามท้าวมหาพรหมไปในเบื้องหน้าพระคชาธารพระสิริสุทโธทนเชษฐา สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชก็เสด็จแวดล้อมด้วยขัตติยวงศ์ศักยราช ๖๐๐,๐๐๐ ไปในเบื้องหลัง ช้างพระที่นั่งพระราชโอรส แลหมู่เทพยดาทั้งหลายก็แวดล้อมไปเป็นอันมาก กษัตริย์ทั้งสองฝ่าย เสด็จมาถึงซุ้มทวารพระอุทยานแล้วเสด็จเข้าสู่มหามณฑปกับด้วยเทพยเจ้าทั้งปวง
พรหมสุทธาวาสจูงพระสุทโธทนราชกุมาร นางสุชาดาธิดาอสูร
จูงพระราชธิดามายาให้ทรงจับพระหัตถ์อภิเษกสมรส

ฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมกําหนดซึ่งกาลอันได้อุดมมหุติฤกษ์แล้ว ก็จูงพระหัตถ์พระสิริสุทโธทนราชกุมารขึ้นสถิต ณ เบื้องบนกองแก้ว นางสุชาดาอสุรินทรธาดาก็จูงพระหัตถ์พระสิริมหามายาขึ้นสถิตบนรัตนราศีที่อภิเษกนั้น แลกษัตริย์ทั้งสองก็จับพระหัตถ์ซึ่งกันและกัน สมเด็จท้าวสหัสนัยน์ ก็เปุาทิพย์วิไชยุตมหาสังข์ทักขิณาวัฏ ป๎ญจสิขคันธรรพเทพบุตรก็ดีดซึ่งพิณสามสาย เทพยดา มนุษย์ทั้งหลายก็ประโคมทิพยดุริยางค์แลมนุษย์ดุริยางค์ บันลือศัพท์โกลาหลนี่สนั่นพร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว แลท้าวสุทธาวาสมหาพรหมก็หลั่งทิพย์อุทกธาราจากรัตนภิงคาร ถวายมุทธาภิสิญจนาการแล้วกล่าวมงคลสาประสิทธิ์พรโดยอเนกบรรยาย
เกิดแผ่นดินไหวและพระราชมารดาบูชาหมู่เทพ
ขอให้พระธิดาประสูติพระโอรสแล้วได้เป็นพระสัพพัญญู

ขณะนั้น ก็บังเกิดมหัศจรรย์ต่างๆ มีพื้นพสุนธรากัมปนาทเป็นต้น อันว่าห่าฝนแก้ว ๗ ประการก็บันดาลตกลงจากอากาศเต็มตลอดปริเวณโยชน์หนึ่ง โดยรอบมหามณฑปนั้น เทพยดาทั้งหลายทั่วจักรวาฬก็โปรยปรายสัตตรัตนมณี นฤโฆษศัพท์สาธุการเอิกเกริกโกลาหลบันลือลั่นเป็นอันเดียว ตั้งแต่พื้นภูมิภาคตลอดถึงภวัครพรหม แลกษัตริย์ทั้งหลายมีสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชเป็นอาทิ แลมหาชนบรรษัทเห็นมหัศจรรย์ดังนั้น ก็มีโลมชาติสยดสยอง แซ่ซ้องสรรเสริญพระกฤษดาภินิหารแห่งกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์เสียงนฤโฆษ ครุวนาดุจเสียงมหาเมฆอันกึกก้องในท้องมหาสมุทรส่วนพระสุนันทาเทวีก็จุดธูปเทียนกับทั้งสุคนธบุปผชาติบูชาเทพยดาทั้งหลาย แล้วตรัสประกาศด้วยบาทพระคาถาว่า สพฺเพ เทวา จ นาคา จ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่เทพยดาทั้งหลายอันมีมหิทธิฤทธิ์ จงสดับคําแห่งข้าพเจ้า ขอให้ราชธิดาของข้าพเจ้าประสูติพระโอรส ให้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญํูพุทธเจ้าในโลก เป็นอาทิดังนี้ วนฺทิตฺวา แล้วถวายวันทนาบูชาแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ แลบรรดากษัตริย์ทั้งหลายมีสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชเป็นอาทิ ก็อภิวาทบูชาแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ ดุจนั้นท้าวมหาพรหมแลเทพยดาก็กระทําสักการบูชาด้วยนานาทิพยสุคนธ์ กุสุมชาติเหล่าอสุรราชทั้ง ๘ คนก็บูชาด้วยผลมะตูมสุกอันนํามาแต่ปุาหิมพานต์ ท้าวเวสวัณมหาราชก็บูชาด้วยทิพยภูษาต่างๆ อันตกลงแต่ไม้กัลปพฤกษ์ บนยอดหิมวันตบรรพตกับทั้งผลหว้าอันเกิดแต่ชมพูพฤกษ์ประจําทวีป แต่เครื่องสักการบูชาแห่งเทพยดาทั้งหลายกองสูงชั่วลําตาลหนึ่ง แลหมู่อมรินทรพรหมต่างถวายมงคลพรมีอเนกประการ แลเล่นมหรสพสมโภชถึง ๗ วันเป็นกําหนด แล้วท้าวเทพยดาทั้งหลายก็ถวายโอวาทนุศาสน์ให้ตั้งอยู่ในเบญจางคิกศีล แล้วก็นิวัตนาการสู่เทวโลก
ให้สร้างปราสาท ๓ องค์ในกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อคู่อภิเษก
ส่วนสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชและกษัตริย์ทั้งปวงยับยั้งอยู่ในมณฑป เล่นการมหรสพสมโภชทุกทิวาราตรีถ้วนถึงไตรมาส แล้วดําริกาลที่จะกลับยังกรุงกบิลพัสดุ์ในเชษฐมาสกาฬป๎กษ์ จึงตรัสสั่งกษัตริย์ศักยราช ๓๐๐,๐๐๐ กับสุทธิย์อมาตย์ให้ไปสร้างปราสาทองค์หนึ่ง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ มีพื้นได้ ๗ ชั้น มีเสา ๕๐๐ ต้น แล้วไปด้วยไม้จันทร์ถวายนามจันทนปราสาท แล้วให้พระสุกโกทนราชโอรสกับกษัตริย์ ๑๐๑ องค์ ไปสร้างปราสาทอีกองค์หนึ่ง มีพื้น ๙ ชั้น มีเสา ๕๐๐ ต้น แล้วไปด้วยไม้ราชพฤกษ์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าชนาธิปราชก็ตรัสใช้พระขัตติยวงศ์ทั้งหลายกับสุปดิษฐอมาตย์ไปสร้างปราสาท ณ กรุงกบิลพัสดุ์อีกองค์หนึ่งมีพื้น ๗ ชั้น มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น แล้วไปด้วยไม้แก่นทั้งสิ้นแลการสร้างปราสาททั้ง ๓ สําเร็จแล้วก็กลับสู่เมืองเทวทหนคร สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชก็ให้ตกแต่งประดับมรรคาตั้งแต่เมืองเทวทหนครถึงกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วให้ราชโอรสแลพระสุณิสาขึ้นทรงอลงกตกาญจนราชอันเดียวกัน มีอเนกนิกรคณานางกํานัล ๑๐๐,๐๐๐ กับกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ แลขัตติวงศาศักยราช ๖๐๐,๐๐๐ ตามเสด็จแวดล้อมเป็นบริวาร ส่วนพระองค์ก็ทรงคชาธารแวดล้อมด้วยจตุรงคโยธาหาญ เสด็จยกพยุหะแสนยาพลากรไปในเบื้องหน้า
ใช้เวลา ๔ เดือนครึ่งขนสิ่งต่างๆ ไปกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ฝ่ายพระเจ้าชนาธิปราชก็เสด็จยาตราพลาพลไปในเบื้องหลัง ให้นําเอาสรรพสวิญญาณวัตถุแลอวิญญาณวัตถุซึ่งจะพระราชทานแก่พระราชธิดา เป็นต้นว่าทาสีทาสาสิ่งละแสนโกฏิแลช้างพัง ๑,๐๐๐ ช้างพลาย ๑,๐๐๐ สินธพชาติ ๘๔,๐๐๐ อุสุภกาสรสิ่งละอักโขเภณีตามไปภายหลัง แลหนทางตั้งแต่เมืองเทวทหนครจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์นั้น โดยกว้างถึง ๓ โยชน์เต็มไปด้วยสัตว์แลมนุษย์ทั้งหลายหาระหว่างมิได้แลหมู่มหาชนนําไปซึ่งพัสดุสิ่งของทั้งปวงสู่กรุงกบิลพัสดุ์ถึง ๔ เดือนกึ่ง จึงถึงพร้อมบริบูรณ์สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชทรงทํามงคลราชาภิเษกกษัตริย์ทั้ง ๒ เหนือรัตนบัลลังก์ถึงสามครั้ง แล้วอัญเชิญเสด็จขึ้นสถิต ณ จันทนปราสาท แล้วมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสครองมไหศวริยสมบัติแทนพระองค์ บรรดากษัตริย์ทั้งหลายมีสมเด็จพระเจ้าชนาธิปราชเป๐นอาทิ ก็ถวายบังคมลากลับไปสู่พระนครแห่งตนๆ สมเด็จพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราชและพระสิริมหามายาเทวี ก็ทรงอุป๎ฏฐากพระราชชนกชนนีโดยเคารพแลทรงปฏิบัติในเบญจางคิกศีล แลทศพิธราชธรรมโดยโบราณราชประเพณีทุกประการราชา สมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชทรงพระชราโรคาเบียดเบียนก็เสด็จทิวงคต สมเด็จพระราชโอรสและพระราชสุณิสา กับพระขัตติยประยูรคณามัจจามาตย์ทั้งปวง ก็ประชุมกระทําการฌาปนกิจถวายเพลิงพระบรมศพโดยอุฬาริกกราชสักการบูชา สิริสุทฺโธทโน สมเด็จพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราชก็เสวยมไหศวริยราชถวัลยรัชสืบสันตติวงศ์ดํารงพิภพกรุงกบิลพัสดุ์ เสวยสิริสมบัติกับด้วยพระสิริมหามายาสุขุมาลชาติราชเทวีเป็นบรมสุข

วิวาหมงคลปริวรรต ปริจเฉทที่ ๑ จบ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะของคนถ่อย

ลักษณะของคนถ่อย
       ๑.คนที่มีความโกรธ  ตามอาฆาต  มีความคิดความเข้าใจที่ไม่ดีคิดว่าสิ่งไม่ดีเป็นสิ่งดี  มีมารยา
       ๒.คนที่ฆ่าสัตว์  ไม่มีความเมตตาสัตว์
       ๓.ผู้ที่รักแกผู้อื่น  ฆ่าผู้อื่น  ปล้นผู้อื่น  ขโมยของผู้อื่น
       ๔.คนที่ลักทรัพย์ของผู้อื่น  ขโมยของผู้อื่นที่หวงเอาไว้  ของที่ผู้อื่นไม่ให้ก็เอาไป
       ๕.คนที่ยืมเงินหรือสิ่งของแล้วบอกว่า ไม่ได้ยืม  ไม้ได้เป็นหนี้ 
       ๖.คนที่ฆ่าคนที่กำลังเดินทางเอาสิ่งของ  ชิงสิ่งของคนที่กำลังเดินทาง  ขโมยสิ่งของคนที่กำลังเดินทาง
       ๗.เป็นพยานเพราะอยากได้สิ่งของไม่ว่าของตัวเองหรือของผู้อื่นเพราะอยากได้ทรัพย์สิน
       ๘.เป็นชู้หรือข่มขืนคนรักของผู้อื่น
       ๙.คนที่มีความสามารถไม่เลี้ยงดูบิดามารดาเมื่อผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว (หมายถึง: อายุเลย ๒๕ ปี แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ อ้างจากในพระไตรปิฎก อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค )
      ๑๐.คนที่ด่าว่า ทำร้ายร่างกายพ่อแม่ พี่น้อง  พ่อตาแม่ยาย พ่อสามีแม่สามี
๑๑.คนที่ถามเรื่องที่ดีมีประโยชน์  กลับบอกเรื่องที่ไม่มีประโยชน์  เรื่องไม่ดี พูดจากลอบเกลื่อนเสีย
๑๒.ทำชั่วแล้วปกปิดเรื่องที่ทำชั่ว
๑๓.ผู้ที่ไปบ้านคนอื่นแล้วคนอื่นต้อนรับอย่างดี เมื่อผู้อื่นไปบ้านกลับไม่ต้อนรับ
๑๔.ผู้ที่หลอกพระ ผู้มีศีล  นักบวช หรือผู้อื่น
๑๕.ผู้ด่าพระ  นักบวช  ผู้มีศีล เวลากินอาหารแล้วไม่ให้อาหาร
๑๖.คนที่ถูกความหลง ความเขลา ความโง่  คนที่อวดอ้างสิ่งที่ตัวเองไม่มี
๑๗.คนที่อวดตนว่าดีกว่าสำคัญกว่าผู้อื่น  ดูหมิ่นผู้อื่น
๑๘.คนที่ฉุนเฉียว  หยาบกระด้าง  มีความต้องการลามก  ขี้เหนียว  โอ้อวด  ไม่อาย ไม่กลัว
๑๙.ด่าพระพุทธเจ้า  ด่าผู้ทำดี  ด่าผู้มีศีล  ด่าสาวกพระพุทธเจ้า

๒๐.ไม่เป็นพระอรหันต์แล้วอวดว่าตนเป็นพระอรหันต์

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของการมีอยู่ของพระพุทธรูป

ความหมายของการมีอยู่ของพระพุทธรูป
       พระพุทธรูป  นอกจากใช้บูชาระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าที่เป็นผู้สอนธรรมแล้ว  พระพุทธรูปยังใช้เตือนสติผู้คนอีกด้วย
       ศีรษะของพระพุทธรูปมีก้นหอยร้อยแปดจุด  เพื่อบอกว่าคนเรามีปัญหาร้อยแปดต้องคิดหาทางแก้ปัญหา  และไตร่ตรองแก้ปัญหา
       หูของพระพุทธรูปยาวและมีติ่งหูใหญ่  หูใหญ่เพื่อบอกถึงการรับฟังปัญหาของผู้อื่น ติ่งที่ใหญ่ อย่าหูเบาเชื่ออะไรง่ายๆ

       นอกจากนี้มือเท่าและอวัยวะอื่นๆ ที่เท่ากัน มีความหมายแสดงความเป็นยุติธรรมมองสิ่งใดให้เป็นกลาง

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระพุทธเจ้าคืออะไร

พระพุทธเจ้าคืออะไร

       พระพุทธเจ้าคือ  ผู้หวังดีสั่งสอนธรรมให้เป็นทางพ้นทุก  พระพุทธเจ้าคือครูแห่งเหล่าพระอรหันต์  ทำไมถึงต้องเคารพพระพุทธเจ้า  เพราะพระพุทธเจ้าคือครูที่บอกพระธรรมให้ได้ทราบและเป็นผู้สร้างพระรัตนตรัย

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

รายชื่อถาวรวัตถุที่ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีได้สร้างไว้เพื่อศาสนประโยชน์และสาธารณประโยชน์อื่นๆ

รายชื่อถาวรวัตถุที่ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีได้สร้างไว้เพื่อศาสนประโยชน์และสาธารณประโยชน์อื่นๆ
บัญชีรายชื่อสถานที่ที่ท่านได้สร้างระหว่างอายุ  24-35 ปี
            1.กุฏิวัดบ้านหลวง  ต.ป่าพลู  กิ่ง อ.บ้านโอ่ง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน 500 บาท
            2.วิหารพระพุทธบาทสามยอด  ต.ป่าพลู กิ่ง อ.บ้านโอ่ง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน 1,500บาท
            3.ศาลาบาตรรอบวิหารวัดป่าพลู ต.ป่าพลู กิ่ง อ.บ้านโอ่ง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน 1,901บาท
            4.เจดีย์  ดอยไก่แจ้  บ้านสันกำแพง  ต.ป่าเทียง  อ.ห้างฉัตร  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน 1,600  บาท
            5.วิหารวัดมะกอก  ต.หล่ายหิน  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน  300  บาท
            6.พระเจดีย์พร้อมกำแพงทั้งสี่ด้าน  วัดสันทุ่งแฮ่ม  ต.หล่ายหิน  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน  6,000บาท
            7.พระเจดีย์  ดอยน้อยนางแตน  บ้านนางแตน   อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน 500 บาท
            8.วิหารวัดนากิ๋ม  บ้านนากิ๋ม  ต.แก้ว  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง   สิ้นเงิน 500 บาท
            9.กำแพงวัดบ้านจอมปิง  ต.นาแก้ว  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง   สิ้นเงิน 500 บาท
            10.พระเจดีย์วัดสมยอง  บ้านนาปราบ  กิ่ง อ.สบปราบ  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน 800 บาท
            11.พระเจดีย์  หลังดอยสบกึ้ด  บ้านแม่กึ้ด  ต.ทุ่งงามหลวง   อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน 800 บาท
12.พระเจดีย์  ม่อนปงแพ่ง  ต.ปงป่าป๋อ  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน  300 บาท
บัญชีรายชื่อสถานที่ที่ท่านได้สร้างระหว่างอายุ  35-42 ปี
            1.พระเจดีย์พร้อมทั้งวิหาร  ที่วัดพระนอน  ต.มะกอก  อ.ปากบ่อง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  2,500  บาท
            2.วิหารพระบาทสามยอด ต.ป่าพลู  กิ่ง  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  2,300 บาท
            3.วิหารวัดลำปางกลางหล่ายตะวันออก  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  สิ้นเงิน  500  บาท
            4.พระเจดีย์วัดนากลาง  ต.นากลาง  อ.เมืองตาก  จ.ตาก  สิ้นเงิน  300  บาท
            5.วิหารวัดแม่ระมาด  กิ่ง  อ.แม่ระมาด  จ.ตาก  สิ้นเงิน 1,200 บาท
            6.โรงเรียนแม่ระมาด  กิ่ง  อ.แม่ระมาด  จ.ตาก  สิ้นเงิน 1,439 บาท
            7.กุฎิวัดแม่สอดกลางทุ่ง  อ.แม่สอด  จ.ตาก  สิ้นเงิน 600  บาท
            8.พระเจดีย์ องค์  วิหาร หลัง  ในวัดมะละมะตี่ (เปียวดี) เขตพม่า สิ้นเงิน 6,000 รูปี
            9.พระเจดีย์แหล่งวะ  ในเมืองกุกกิก  เขตพม่า  สิ้นเงิน  500 รูปี
            10.พระเจดีย์  บ้านแม่ต่าน  อ.ท่าสองยาง  จ.แม่ฮ่องสอน  สิ้นเงิน 300 บาท
บัญชีรายชื่อสถานที่ที่ท่านได้สร้างระหว่างอายุ  42-65  ปี
            1.วิหารและกุฏิ  วัดพระบาทตะเมาะ  ต.ดอยเต่า  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน 16,000 บาท
            2.สะพานข้ามแม่น้ำฮอด  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  700  บาท
            3.กุฏิและศาลาในวัดบ้านปาง  ต.แม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน 2,400 บาท
            4.เมรุและปราสาทกับหีบสำหรับใส่ศพครูบาเจ้าศรีวิชัย  สิ้นเงิน  2,400 บาท
            5.ถนนตั้งแต่ป่าพลูต่อกับบ้านโฮ่ง  ยาว กิโลเมตร  ไม่สิ้นเงิน  ตามแรงศรัทธาของชาวบ้าน
            6.กุฏิวัดห้วยทราย  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  1,700  บาท
            7.สะพานข้ามร้อง  ขึ้นมาตลาดวังลุง  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน 1,700 บาท
            8.กุฏิวัดฮอดหลวง  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  1,270 บาท
            9.กำแพงวัดหนองอาบช้าง  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  1,400  บาท
            10.พระเจดีย์วัดสบเตี๊ยะ  อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน 2,400  บาท
            11.วิหารดอยแก้ว  บ้านแม่กลาง  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  10,100  บาท
            12.วิหารวัดท่าจุมปี  ต.ทุ่งสะโตก  อ.สันป่าตอง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  8,000 บาท
            13.วัดป่าพลู  กิ่ง อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  9,000  บาท
            14.อนุสาวรีย์  ครูบาศรีวิชัย  พร้อมซ่อมแซมวิหารวัดสวนดอก  และก่อยอดธาตุวัดสวนดอก  สิ้นเงิน  40,039 บาท
            15.ศาลาและโรงไฟ  ในวัดหมื่นสาร  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  2,700  บาท
            16.ซื้อวิทยุถวายไว้เป็นทานกับครูบาอินต๊ะ  เจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน 1,600  บาท
            17.พระพุทธรูป องค์  ในวัดแม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  2,800  บาท
            18.กุฎิวัดแม่เทย  ต.แม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  1,500  บาท
            19.อุโบสถวัดห้วยทราย  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  500  บาท
            20.ร่วมซื้อที่ดินในเขตวัดบ้านแอ่น  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  200  บาท
            21.วิหารวัดสารภี  ต.ทุ่งพี้  อ.สันป่าตอง  จ.เชียงใหม่  สิ้นเงิน  1,000  บาท
            22.วิหารวัดหนองหมู  หัวเวียง  จ.ลำพูน  สิ้นเงิน  1,000  บาท
            23.อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  ในวัดหมื่นสาร  อ.เมือง  จ.ชียงใหม่  สิ้นเงิน  2,200  บาท
            24.อุโบสถวัดห้วยกาน  กิ่ง อ.บ้านโฮ่ง  ระหว่างต่อมาได้สร้าง ร.ร. บ้านบ่อหิน  ต.ตลากขวัญ  อ.ดอยสะเก็ด  จ.เชียงใหม่  วันที่ 18  พ.ค.  พ.ศ.2502  สิ้นเงิน   8,738,575 บาท
            25.ร.ร.ปากเหมือง  ต.ขัวมุง  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่  วันที่ 19 ก.พ. 2499  สิ้นเงิน  150,000 บาท
            26.ร.ร.บ้านวังแดง  ต.ตะขิน  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่  วันที่ มีนาคม  พ.ศ.2496
            27.อนามัยบ้านช่อแล  ต.ช่อแล  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่  วันที่ 13  เมษายน  2496  สิ้นเงิน  20,000บาท
            28.ร.ร.บ้านกวน  ต.ป่าขามหลวง  อ.สันป่าตอง  จ.เชียงใหม่  วันที่  3  ธันวาคม พ.ศ. 2499  สิ้นเงิน 96,596  บาท
            29.ร.ร.บ้านสามหลัง  ต.สองแคว  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  วันที่  พฤษภาคม  2494   สิ้นเงิน 60,000  บาท
            30.ร.ร.บ้านห้วยน้ำดิบ  ต.ข่วงเปา  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่ วันที่  10  กันยายน  2495  สิ้นเงิน 73,191  บาท
            31.ร.ร.บ้านข่วงเปา  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  เมื่อ  พ.ศ.2500   สิ้นเงิน  100,000  บาท
            32.ร.ร.บ้านหลวงศรีจอมทอง  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  เมื่อ  พ.ศ. 2495 สิ้นเงิน  175,039.15  บาท
            33.ร.รงบ้านสบเตี๊ยะ    อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  วันที่  1  กรกฎาคม พ.ศ. 2494 สิ้นเงิน  40,272.50 บาท
            34.ร.ร.บ้านทุ่งหมากหนุ่ม  ต.สบเตี๊ยะ  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  เมื่อวันที่  15  กรกฏาคม  พ.ศ. 2496  สิ้นเงิน  43,677.40  บาท
            35.ที่ว่าการ  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  เมื่อ พ.ศ. 2495
            36.อนามัยบวกครก  ต.หนองลอง  อ.หางดง  จ.เชียงใหม่  เมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ. 2499  สิ้นเงิน 12,530  บาท
            37.วิหารบ่อนาฟ่อน  ต.บ่อหลวง  อ.ฮอด  จ.เชียงใหม่  เมื่อวันที่  6  กรกฎาคม พ.ศ.2511  สิ้นเงิน 164,518  บาท
            38.ร.ร.บ้านป่าตาล  ต.ม่วงน้อย  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อ  พ.ศ. 2497  สิ้นเงิน  170,0001  บาท
            39.ร.ร.บ้านร่องห้า  ต.ท่าตุ้ม  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  13 กันยายน  พ.ศ.2501  สิ้นเงิน 7,715.85  บาท
            40.ร.ร.บ้านไร่ดง  ต.น้ำดิบ  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อ พ.ศ.2498  สิ้นเงิน 80,000  บาท
            41.ร.ร.บ้านห้วยอ้อ  ต.น้ำดิบ  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  19  มีนาคม  พ.ศ.2498  สิ้นเงิน 71,221.15  บาท
            42.ร.ร.บ้านกลาง  ทุ่งท่าลี่  ต.วังผาง  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  พ.ศ.2497  สิ้นเงิน  157,113.75  บาท
            43.ร.ร.บ้านท่าช้าง  ต.หนองล่อง  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน พ.ศ. 2495  สิ้นเงิน  125,105.90  บาท
            44.ร.ร.บ้านทุงโป่ง  ต.เหล่ายาว  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  2  กุมภาพันธ์พ.ศ.2497  สิ้นเงิน 280,552.60  บาท
            45.ร.ร.บ้านน้ำเพอะพะ  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  16  มิถุนายน  พ.ศ.2499  สิ้นเงิน  87,874 บาท
            46.ร.ร.บ้านดอยก้อม  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  ธันวาคม  พ.ศ.2500  สิ้นเงิน  93,216  บาท
            47.ร.ร.บ้านป่าป๋วย  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  พ.ศ.2501  สิ้นเงิน  131,750  บาท
            48.ร.ร.บ้านห้วยกาน  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  เมื่อ พ.ศ. 2499  สิ้นเงิน  150,000  บาท
            49.ถนนเข้าค่ายลูกเสือชาวบ้านวังหลวง  ต.ป่าพลู  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  ระยะทาง  4  กิโลเมตร  ค่าแรงงาน  สิ้นเงิน 15,000  บาท
            50.ร.ร.วัดนาแก้ว  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  เมื่อ พ.ศ.2505  สิ้งเงิน  259,726  บาท
            51.ร.ร.บ้านนางแตน  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง    เมื่อวันที่  25  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2506  สิ้นเงิน 190,499.50  บาท
            52.สถูปเจดีย์วัดสบปุง  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง  เมื่อวันที่  5 พฤษภาคม  2519  สิ้นเงิน  102,2000 บาท
            53.วิหารวัดสันทุ่งแฮม  ต.หล่ายหิน    อ.เกาะคา  จ.ลำปาง    เมื่อวันที่  20  เมษายน  พ.ศ.2519  สิ้นเงิน  106,599  บาท
            54.ร.ร.บ้านล้อง    อ.เกาะคา  จ.ลำปาง    เมื่อ  พ.ศ.2503  สิ้นเงิน  69,074  บาท
            55.ร.ร.บ้านเหล่าปงเสือ  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อพ.ศ. 2503  สิ้นเงิน  67,729.50  บาท
            56.ร.ร.บ้านแม่อาวบวกกะตูย  ต.นครเจดีย์  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อ พ.ศ. 2503    สิ้นเงิน 67,729.50  บาท
            57.ป้อมตำรวจห้วยกาน  อ.บ้านโฮ่ง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  16 สิงหาคม พ.ศ. 2519    สิ้นเงิน  30,000 บาท
            58.ร.ร.บ้านไร่หลวง  ต.ม่วงน้อย  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  20  พฤษภาคม  พ.ศ.  2501  สิ้นเงิน  10,000  บาท  พร้อมกับสร้างเสาไฟฟ้าเข้าบ้านอีกสิ้นเงิน  22,000  บาท
            59.สะพานข้ามแม่น้ำทา  บ้านท่ากอม่วง  อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน  เมื่อ  พ.ศ. 2503  สิ้นเงิน  87,000  บาท
            60.ร.ร.บ้านแม่ป๊อก  ต.แม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  12  มิถุนายน  พ.ศ.2500    สิ้นเงิน 232,691.59  บาท
            61.ร.ร.บ้านแม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2500  สิ้นเงิน232,472.75  บาท
            62.ร.ร.บ้านแม่เทย  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เม่อวันที่ 13  ตุลาคม  พ.ศ. 2500 สิ้นเงิน 232,472.75 บาท
            63.ร.ร.บ้านวังมน  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อ พ.ศ. 2500  สิ้นเงิน  85,175  บาท
            64.ร.ร.บ้านศรีป้าน  ต.ทาขุมเงิน  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  31  มีนาคม พ.ศ. 2512  สิ้นเงิน 132,671.50  บาท
            65.ร.ร.บ้านปางส้าน  ต.ดงคำ  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500  สิ้นเงิน 97,537.75  บาท
            66.ร.ร.บ้านป่าคา  ต.ดงคำ  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  10 มกราคม  พ.ศ. 2503  สิ้นเงิน  112,507.75 บาท
            67.ร.ร.บ้านบวก  ต.ดงคำ  อ.ลี้  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  11  มกราคม  พ.ศ.  2501  สิ้นเงิน  60,000  บาท
            68.ร.ร.บ้านดอยเต่า  กิ่ง อ.ดอยเต่า  จ.เชียงใหม่  เมื่อ พ.ศ.2500  สิ้นเงิน 161,568.50  บาท
            69.ร.ร.บ้านดอยแช่  ต.ทากาศ  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน  เมื่อวันที่  25  พฤศิกายน พ.ศ. 2497   สิ้นเงิน  57,968.70  บาท
            70.ร.ร.บ้านเมืองกลาง  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2501 สิ้นเงิน 85,327  บาท
            71.วิหารบ้านท่าต้นธงชัย  ต.ไทยชนะศึก  อ.ทุ่งเสลี่ยม  จ.สุโขทัย  เมื่อ  พ.ศ.2516  สิ้นเงิน 750,000  บาท
            72.อนุสาวรีย์เจ้ากาวิละ  เจ้าเมืองเชียงใหม่  สิ้นเงิน  40,000  บาท
            73.ที่ว่าการนายอำเภอลี้และบ้านพักนายอำเภอ  เมื่อ  พ.ศ. 2495  จากนั้นท่านครูบาอภิชัย(ขาวปี)ได้สร้างไปมากกว่านี้จนอ่านนับไปไม่หมดจนถึงท่านได้มรณภาพไปบัดนี้
74.กุฏิและกำแพงวัดบ้านทาดอยคำ  ต.ทากาศ  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน
75.โรงเรียนบ้านทาหมื่นข้าว  ต.ทากาศ  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน
76.บ่อบาดาลบ้านทาสันหลวง  ต.ทาขุมเงิน  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน
77.สะพานท่ากอม่วง  อ.เมือง  จ.ลำพูน
78.ถนนสายม่วงสามปี-นาทราย  อ.ลี้  จ.เชียงใหม่
79.วัดดงทุ่งปูน  ต.สบเตี๊ยะ  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่
80.วิหารวัดแม่เตี๊ยะ  ต.สบเตี๊ยะ  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่
81.วิหารวัดมะปวง  อ.แม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน
82.วิหารวัดก๋องขาก  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่
83.วิหารวัดพระเจ้าแก้วดอนเต้า  จ.ลำปาง
84.วิหารวัดป่าจี้  ต.ป่าไผ่  อ.ลี้  จ.ลำพูน
85.เจดีย์วัดแอ้ว  อ.ทุ่งหัวช้าง  จ.ลำพูน
86.วิหารวัดหัวขัว  อ.ทุ่งหัวช้าง  จ.ลำพูน
87.กุฏิวัดแม่รอบ  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน
88.วัดนาเลี่ยง  ต.นาทราย อ.ลี้  จ.ลำพูน  (ปัจจุบันลื้อถอนแล้ว)
89.เจดีย์และบันไดนาค  แม่พริก  อ.แม่พริก  (วัดพระพุทธบาทวังตวง)  จ.ลำปาง
90.กุฏิวัดแม่ต๋ำ  อ.เสริมงาม  จ.ลำปาง (ถอนแล้ว)
91.เจดีย์จอมสวรรค์  ต.ดงดำ  อ.ลี้  จ.ลำพูน
92.กุฏิหนองปู่  เหล่ามะนาว  อ.ดอยเต่า  จ.เชียงใหม่
93.กุฏิ-วิหาร  พระธาตุเจดีย์  วัดแม่ตืน  อ.ลี้  จ.ลำพูน
94.กุฏิ-วิหาร  พระธาตุเจดีย์  พระพุทธรูป  วัดแม่เทย  อ.ลี้  จ.ลำพูน
95.เสาอินทขิลกลางเมือง(หลักเมืองเชียงใหม่)  อ.เมือง  จ.ลำพูน
            ทั้งหมดนี้เป็นสถานที่ที่ท่านได้สร้างพร้อมบันทึกเอาไว้เสร็จ  พร้อมราคาก่อสร้าง  ซึ่งคัดเอามาจากหนังสือชีวประวัติสมัยสามห้องของท่าน   ซึ่งเขียนเอาไว้เมื่ออายุ  65  ปี  ตรงกับ  พ.ศ. 2496