วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คําบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย



คําบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย

ภุมมัส์มิง ทิสาภาเค                         สันติ ภุมมา มะหิทธิกา      

เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ                     อาโรคะเยนะ สุเชนะ จะ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ
คำลาเครื่องสังเวย พระภูมิ เจ้าที่
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
แปลว่า
ข้าพเจ้าขอคืนเศษอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าขอภัตต์ที่เหลือที่เป็นมงคลด้วยเถิด

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ 
นะโม เม พระภูมิเทวานัง ธูปะทีปะ จะ ปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แปล

 ข้าพเจ้าขอถวายโภชนาหาร พร้อมด้วยแกงและกับ พร้อมทั้งน้ำอันประเสริฐนี้ แด่พระภูมิเจ้าที่ ขอพระภูมิเจ้าที่ได้รับ และ ปกปักรักษาบ้านเรือนของข้าพเจ้าด้วย

คำจบเงินทำบุญ

คำจบเงินทำบุญ

ทรัพย์ของข้าพเจ้า ได้มาโดยบริสุทธิ์ ขอบูชาพระพุทธ บูชา   พระธรรม บูชาพระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอาริย์ ในอนาคตกาลนั้น เทอญ

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำจบข้าวใส่บาตร

คำจบข้าวใส่บาตร

ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแต่พระพุทธ ถวายแต่พระธรรม ถวายแด่พระสงฆ์ ตั้งจิตจำนง ตรงต่อพระนิพพาน เทอญฯ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำปวารณาบัตร

คำปวารณาบัตร

ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัย แด่พระคุณท่านเป็นมูลค่า.............บาท
หากพระคุณท่านประสงค์สิ่งใดขอได้โปรดเรียกจากไวยาวัจกร ด้วยเทอญ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำบูชาพระพุทธเจ้า

คำบูชาพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า ขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ ธูปเทียน
เหล่านี้ ขอพระพุทธองค์ทรงรับ ซึ่งดอกไม้ธูปเทียนเหล่านี้ เพื่อ
ประโยชน์สุขแก่ข้าพระพุทธเจ้า สิ้นกาลนาน เทอญ

(หมายเหตุ ถ้ามีเพียงดอกไม้ ก็ควรว่าเฉพาะดอกไม้ หรือถ้ามีสิ่งใด
ก็ ว่าเฉพาะสิ่งนั้น)

คำกรวดน้ำแบบสั้น

                      คำกรวดน้ำแบบสั้น

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

          ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำภาวนาเวลาจุดศพ

คำภาวนาเวลาจุดศพ
(แบบที่ ๑ ) อะสุจิ อะสุภัง กัมมัฏฐานัง ภาเวติ
(แบบที่ ๒ ) จุติ จุตัง อะระหัง จุติ
(แบบที่ ๓ ) อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ภาวี เอวัง ธัมโม เอวัง อะนะตีโต

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถวายผ้าไตรอุทิศแก่ผู้ตาย

คำถวายผ้าไตรอุทิศแก่ผู้ตาย
อิมานิ มะยัง ภันเต ตีจิวะรานิ อัยยัสสะ เทมะ สาธุ โน
ภันเต อะยัง  ตีจิวะระปูชาวิปาโก อัมหากัง มาตาปิตุอาทีนัง ญาตีนัง
กาละกะตานัง สังวัตตะตุ อัมหากัง มาตาปิตุอาทะโย ญาตะกา
ทานะ ปัตติง ละภันตุ อัมหากัง เจตะสา ฯ 
คำแปล

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายไตรจีวรนี้แก่พระ
ผู้เป็นเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อันว่าผลวิบากของการบูชาด้วยไตรจีวร
นี้ จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นต้น จง
ได้ส่วนแห่งทานนี้ ตามความประสงค์ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญ ฯ
  

คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพ

คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพ

นามะรูปัง  อะนิจจัง  นามะรูปัง  ทุกขัง  นามะรูปัง  อะนัตตา

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำภาวนาเวลาไปรดน้ำศพ

คำภาวนาเวลาไปรดน้ำศพ
(แบบที่ ๑)      กายะกัมมัง  วะจีกัมมัง  มะโนกัมมัง  อะโหสิกัมมัง  สัมพะปาปัง  สินัสสะตุ

(แบบที่ ๒)     อิทัง  มะตะกะสะรีรัง  อุทะกัง  วิยะ  สิญจิตัง  อะโหสิกัมมัง

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำภาวนาเวลาก่อพระเจดีย์ทราย

คำภาวนาเวลาก่อพระเจดีย์ทราย

อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำอาราธนาพระเครื่อง

คำอาราธนาพระเครื่อง
พุทธัง อาราธะนานัง
ธัมมัง อาราธะนานัง
สังฆัง อาราธะนานัง
พุธธัง ประสิทธิ เม
ธัมมัง ประสิทธิ เม

สังฆัง ประสิทธิ เม

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำอธิษฐาน เมื่อจบของต่างๆ ถวายพระ

คำอธิษฐาน เมื่อจบของต่างๆ ถวายพระ
 สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ  
ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่อง นำมาซึ่งความสิ้นไป แห่งอาสวะกิเลส
หรือ
สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพพานัง โหตุ เม

ทานของเราให้ดีแล้วหนอ  ขอจงเป็นเครื่องทำให้กิเลสหมดไป    ให้เรานิพพานด้วยเถอะ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำภาวนาเมื่อยกมือไหว้พระ

คำภาวนาเมื่อยกมือไหว้พระ
(ยกมือไหว้พระพุทธเจ้าว่า)                                    สาธุ  พุทธัง  วันทามิ
(ยกมือไหว้พระธรรมว่า)                            สาธุ  ธัมมัง  วันทามิ            
(ยกมือไหว้พระสงฆ์ว่า)                              สาธุ  สังฆัง  วันทามิ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คําถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ

คําถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา

(ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ)

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำชักผ้าป่า

คำชักผ้าป่า

อิมัง ปังสุกูละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ

คำถวายผ้าป่า

คำถวายผ้าป่า

อิมานิ  มะยัง  ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ปังสุกูละจีวะรานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ  ฯ


ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล  จีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ผ้าบังสุกุลจีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์  และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ  ฯ   

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถวายผ้า วัสสิกสาฎก

คำถวายผ้า วัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พร้อมคำแปล

อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะโอโณชะยามะ สาธุโนภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

แปล คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

หมายเหตุ :- ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย ก็ตัดคำบาลีว่า "สปริวารานิ" และคำแปลว่า "กับทั้งบริวาร" ออกเสียทุกแห่ง

ผ้าวัสสิกสาฎก คือ ผ้าอาบน้ำฝน

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถวายเทียนพรรษา

คำถวายเทียนพรรษา
ยัคเฆ ภันเต,สังโฆ ปะฏิชานาตุ , มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง, สะปะริวารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อุโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, อะยัง เตมาสัง , พุทธัสสะ , ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,ทานัสสะ , อานิสังโส , อัมหากัญเจวะ,มาตาปิตุอาทีนัญจะ,ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง,หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่ เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดพรรษนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ


วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถวายข้าวสาร

คำถวายข้าวสาร

อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)


วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำให้ศีล

คำให้ศีล
เมื่อคฤหัสถ์อาราธนาศีลแล้ว พระพึงให้ศีลดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                                    ติสะระณะคะมะนัง   นิฏฐิตัง 
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(สรุป)
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
            สีเลนะ สุคะติง ยันติ            สีเลนะ โภคะสัมปะทา
            สีเลนะ นิพพุติง ยันติ           ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
            ถ้าให้ศีล ๘ ก็ว่าเหมือนกัน เปลี่ยนแต่ข้อ กาเม เป็นอะพรัหมะจะริยา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เท่านั้น แล้วต่อจากข้อ สุรา ไปดังนี้
            วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
            นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ-
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
            อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
            (สรุปเหมือนศีล ๕ เปลี่ยนแต่ ปัญจะ เป็น อัฏฐะ เท่านั้น)
            ถ้าให้อุโบสถศีล ใช้นำว่าต่อจากข้อสุดท้าย ทีละตอน ดังนี้
            อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะกัง,
อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ


(สรุป) อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะสีละวะเสนะ สาธุกัง
            กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ ฯ 
            สีเลนะ สุคะติง ยันติ            สีเลนะ โภคะสัมปะทา
            สีเลนะ นิพพุติง ยันติ           ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจวัตรของพระ ๑๐ อย่าง

กิจวัตรของพระ ๑๐ อย่าง
๑. ลงอุโบสถ
๒. บิณบาตเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ
๔. กวาดอาวาสวิหารลานเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง
๖. อยู่ปริวาสกรรม
๗. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙. เทศนาบัติ
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น

กิจวัตร ๑๐ อย่างเหล่านี้เป็นใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้ เพื่อปฎิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน
 วิธีการพิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 4 อย่างคือ จีวร บิณฑบาต  เสนาสนะ และเภสัช
หรือเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ      คือ     การบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาก่อนที่จะใช้สอย
ปัจจัย 4 หรือ เรียกว่า ปัจจัยสันนิสสิตศีล   อันเป็นศีลที่พระภิกษุ ที่พิจารณาปัจจัยที่
ได้มาก่อนจึงใช้สอย  เหตุผลที่ทรงแสดงการพิจารณาสิ่งที่ได้มาก่อนแล้วค่อยบริโภค
ใช้สอยเพื่อไม่ให้กิเลส อาสวะทั้งหลายเกิดในการใช้สอย ปัจจัยที่ได้มา อันเป็นการปิด
กั้นกิเลส อาสวะทั้งหลายที่จะเกิดในปัจจุบัน ที่จะเกิดเพราะสิ่งที่ได้มา   พระพุทธองค์
ทรงแสดงศีล คือปัจจัยสันนิสสิตศีล เพื่อพิจารณาด้วยปัญญา     ย่อมบริสุทธิ์ด้วยการ
พิจารณาด้วยปัญญาเป็นปัจจเวกขณสุทธิ ซึ่งปัจจัยก็มี 4 มีจีวร บิณฑบาต   เสนาสนะ
และเภสัช  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของปัญญาในการพิจารณา ปัจจัย 4 ที่ได้มาแล้วใช้สอย
พิจารณาด้วยปัญญา ดังนี้
 1. จีวร พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้จีวร    เพื่อบำบัดความหนาว   เพื่อ
บำบัดความร้อน    เพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ   ยุง   ลม     แดดและสัตว์เสือกคลาน
เพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ    
      พิจารณาด้วยปัญญา ไม่ใช่ใช้จีวรเพื่อประดับตกแต่ง เพียงแต่เพื่ออนุเคราะห์ร่าง
กายนี้ ให้เป็นไปได้เพื่อเจริญอบรมปัญญาครับ      จึงใช้จีวรโดยอุบายตามที่กล่าวมา
เมื่อพิจารณาดังนี้ กิเลสที่จะเกิดเพราะอาศัยจีวร เป็นต้นก็ไม่เกิดครับ
    2.บิณฑบาต   อาหารที่ได้มา พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงฉันบิณฑบาต 
ไม่ฉันเพื่อเล่น   ไม่ฉันเพื่อเมา  ไม่ฉันเพื่อประดับ   ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง     ฉันเพื่อความ
ดำรงกายนี้เพื่อให้กายนี้เป็นไป    เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้    เพื่ออนุเคราะห์แก่
พรหมจรรย์    ด้วยมนสิการว่า    เราจะบำบัดเวทนาเก่า     จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น 
ความเป็นไปสะดวก  ความไม่มีโทษ  ความผาสุกจักมีแก่เรา
    ดังนั้นเมื่อได้อาหารก็พิจารณาด้วยปัญญาอย่างนี้ เช่น ฉันอาหารเพื่อดำรงชีวิตเท่า
นั้น เพื่อที่จะได้เมื่อหิวก็แค่หายหิว(บัดบำเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่กำเริบ)   รวมทั้ง
ร่างกายก็ต้องการอาหาร จึงบริโภคด้วยการพิจารณาด้วยปัญญาว่าแค่ดำรงชีวิตให้เป็น
ไปเพื่อที่จะได้อนุเคราะห์พรหมจรรย์  คือ ได้มีโอกาสอบรมปัญญาต่อไป   เพราะการมี
ชีวิตอยู่ ก็ต้องอาศัยการบริโภคอาหาร เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาอย่างนี้กิเลสก็ไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยอาหาร เพราะโดยมากก็ทานกัน อิ่มแล้วก็ไม่พอ   ยังอร่อยอยู่ กิเลสก็กำเริบ
เพราะอาศัยอาหาร เป็นต้น
 3.เสนาสนะ ที่นั่ง ที่นอน พิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย     แล้วจึงเสพ  ใช้สอย
เสนาสนะ เพื่อบำบัดความหนาว  เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ  
ยุง   ลม   แดดและสัตว์เสือกคลาน   เพื่อความบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู  เพื่อ
ความยินดีในความหลีกเร้น     
    ดังนั้นเมื่อใช้สอยเสนาสนะก็ใช้สอยด้วยการพิจารณาด้วยปัญญา   ไม่ใช่ใช้สอย
ที่นั่ง ที่นอน หรือที่อยู่เพื่อความยินดี เพิ่มโลภะ เช่น ประดับตกแต่ง เป็นต้น  แต่เมื่อ
พิจารณาด้วยปัญญาตามที่กล่าว ก็ย่อมบริสุทธิ์และกิเลสที่จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยการ
ใช้สอยเสนาสนะก็ไม่เกิดขึ้นครับ
    4. คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เพื่อบำบัดทุกขเวทนา   อันเกิดเพราะธาตุกำเริบ      ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเพื่อ

ความลำบากเป็นอย่างยิ่งเป็นกำหนดเท่านั้น   

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีแสดงอาบัติแบบใหม่

วิธีแสดงอาบัติแบบใหม่
ภิกษุผู้ต้องอาบัติพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง แล้วทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวว่า
            แก่ว่า              อาวุโส
อะหัง                                                                                    อาวุโส อิตถันนามัง อาปัตติง
                                                                                   อาปันโน ตัง ปะฏิเทเสมิ
  อ่อนว่า           ภันเต                                     
ผู้รับ                แก่ว่า              ปัสสะสิ อาวุโส
                        อ่อนว่า           ปัสสะสิ ภันเต
ผู้แสดง           แก่ว่า             อามะ อาวุโส ปัสสามิ
                        อ่อนว่า           อามะ ภันเต ปัสสามิ
ผู้รับ                แก่ว่า              อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
                        อ่อนว่า           อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
ผู้แสดง           แก่ว่า             สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
                        อ่อนว่า            สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ


            คำว่า อิตถันนามัง ให้เปลี่ยนเป็นชื่ออาบัติที่ถูกต้องดังนี้ ถุลลัจ-
จะยัง, นิสสัคคิยัง ปาจิตติยัง, ปาจิตติยัง, ทุกกะฏัง, ทุพภาสิตัง ถ้า
ต้องอาบัติหลายตัว มีวัตถุอย่างเดียวกัน เช่นปาจิตตีย์เป็นตัวอย่างใช้
สัมพะหุลา ต่อเป็น อะหัง ภันเต สัมพะหุลา ปาจิตติยาโย
อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ ฯลฯ เหมือนข้างต้น ถ้าอาบัติ
หลายตัวมีวัถตุต่าง ๆ กัน เช่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ใช้ นานาวัตถุกาโย
ต่อเป็น อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโย
อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทสมิ ฯลฯ เหมือนข้างต้น ถ้าอาบัติ
๒ ตัวใช้ เทว ถ้า ๓ ตัวขึ้นไปใช้ สัมพะหุลา
ถ้าสงสัยพึงแสดงดังนี้ อะหัง อาวุโส อิตถันนามายะ อาปัตติยา
เวมะติโก ยะทา นิพเพมะติโก ภะวิสสามิ ตะทา ตัง
อาปัตติง ปะฏิกกะริสสามิ คำว่า อาวุโส ถ้าผู้แสดงอ่อนกว่าเปลี่ยนเป็น
ภันเต คำว่า อิตถันนามายะ พึงเปลี่ยนเป็นชื่ออาบัติ ฯ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีแสดงอาบัติ

วิธีแสดงอาบัติ
(พรรษาอ่อนว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
            สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
            อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโญ อาปัตติโย
            อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พรรษาแก่รับว่า) ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย

(พรรษาอ่อนว่า) อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ

(พรรษาแก่รับว่า) อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

(พรรษาอ่อนว่า) สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
            ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
            ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
            นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
            นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
            นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

(จบพรรษาอ่อน)

(พรรษาแก่ว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
                        สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
                        อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
                        อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พรรษาอ่อนรับว่า) อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย

(พรรษาแก่ว่า) อามะ อาวุโส ปัสสามิ

(พรรษาอ่อนรับว่า) อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ

(พรรษาแก่ว่า) สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
            ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
            ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
            นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
            นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
            นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ


(เสร็จพิธี)