วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีจบ

ประวัติครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีจบ
ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่ 2

            ที่ระมาดนี่เอง  ก็มีเรื่องเศร้าใจเกิดขึ้นอีกกล่าวคือ  เมื่อสร้างโบสถ์แม่ระมาดนั้นเงินไม่พอ  ยังขาดอยู่อีก 700 บาท  เป็นค่ารักค่าคำเปลว 400 บาท  กับค่านายช่างอีก 300  บาท  ท่านก็ปรึกษาเรี่ยไรเอาจากชาวบ้าน  แล้วช่วยกันสร้างต่อ  จนแล้วเสร็จทันฉลองจนเรื่องการเรี่ยไรนี้ทราบถึงอำเภอ  จึงเรียกกำนันไปสอบสวนว่า  อภิชัยภิกษุ  เรี่ยไรจริงหรือไม่  กำนันก็ยอมรับว่าจริง  แต่ด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน  เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นงานสร้างโบสถ์ก็หยุดชะงักทางอำเภอก็ว่าเต็มใจหรือไม่ก็ผิดเพราะเป็นพระเป็นเจ้าจะทำการเรี่ยไรไม่ได้ผิดระเบียบพระสงฆ์  แล้วรายงานเรื่องนี้ไปยังเจ้าคณะจังหวัดต่างๆ  จึงตัดสินว่า  ให้สึกพระอภิชัยเสีย  ท่านจึงยอมสึกจากภาวะความเป็นภิกษุอีกครั้ง  ท่ามกลางความสลดหดหู่ใจของผู้คนที่รู้เห็นเป็นอันมากที่ครูบาของพวกเขาต้องมารับกรรมเพราะทำความดี  อย่างไม่ยุติธรรม  ท่านต้องห่มแบบชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง  ที่ใต้ต้นประดู่ที่ยืนแห้งตายซากมานานแรมปี  ณ ที่นี้เองมีเรื่องอัศจรรย์สมควรจะบันทึกไว้คือ  พอท่านเปลี่ยนผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายมาคลองผ้าขาวเท่านั้น  ต้นประดู่ที่แห้งโกร๋นปราศจากใบก็ผลิดอกออกใบฟื้นขึ้นมาอีก  ท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของคนที่มาชุมนุมเป็นอันมาก  ต่างพากันหลั่งน้ำตา  ล้มตัวก้มลงกราบโดยพร้อมเพรียงกันนับเป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่เห็นอีกในชีวิต
มารตามรังควาน

            ไม่นานจากนั้น  ท่านพร้อมกับผู้ติดตาม  ก็มุ่งกลับสู่อำเภอลี้โดยรอนแรมมาเป็นระยะเวลา ถึง 10วัน 10  คืนก็เดินทางมาถึง อ.ลี้  พักอยู่ที่กลางทุ่งนาบ้านป่าหก  ได้ 4  คืน  นายอำเภอลี้  จึงให้ตำรวจมาขับไล่ไม่ให้อยู่โดยไม่มีเหตุผล  ด้วยความใจดำเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงมาพักอยู่กลางทุ่งนาบ้านแม่ตืน  ณ  ที่นี้ก็ถูกทางอำเภอกลั่นแกล้งอีก  โดยรายงานไปทางจังหวัดหาว่าชีปะขาวนำปืนเถื่อนจากแม่สอดมาถึง 1,000กระบอก  หลังจากรับรายงาน  จึงมีบัญชาให้  นายร้อยตำรวจ  2  คนกับพระครู รูป  ขึ้นมาทำการสืบค้นไต่สวน  ท่านว่า “ไม่เป็นความจริงหรอก  อาตมาเดินทางผ่านมาตั้งสองจังหวัดแล้ว  ยังไม่เห็นมีใครมากล่าวหาเช่นนี้เลย  ถ้าท่านไม่เชื่อเชิญค้นดูเองเถิด”  ตำรวจทั้งสองก็ค้นสัมภาระของคณะผู้ติดตามดู  ก็พบปืนแก๊ป 1 กระบอก  แต่ปรากฎว่าเป็นปืนมีทะเบียนของชาวบ้านผู้ติดตามคนหนึ่งจึงไม่ว่าอะไร  จากนั้นก็ไปค้นจนทั่วลามปามเข้าค้นถึงในวัดแม่ตืนจนพระเณรแตกตื่นเป็นโกลาหล  แต่ก็ไม่พบอะไรอีก  จึงพาเดินทางกลับด้วยความผิดหวังก่อนกลับก็ไปต่อว่าต่อขานทางอำเภอลี้เสียหนาม้านเสียว่าหลอกให้เดินทางมาเสียเวลาเปล่า  เหนื่อยแทบตาย(เพราะสมัยนั้นไม่มีรถยนต์แม้แต่คันเดียว)  ทางอำเภอจึงจำเป็นต้องออกค่าเดินทาง  พร้อมเสบียงอาหารให้คณะนายตำรวจ  ดังกล่าวเดินทางกลับ  เสร็จจากเรื่องที่กล่าวหานั้นแล้ว  ท่านพร้อมกับคณะก็เดินทางจากแม่ตืนไปหาท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย  ที่วัดพระนอนปูคา  บ้านปูคา  อำเภอสันกำแพง  เชียงใหม่  ระหว่างทางพักที่วัดห้วยกานคืนหนึ่ง  เมื่อเข้าเขตกิ่งบ้านโฮ่ง  ชาวบ้านก็พาตำรวจมาดักจับอีกด้วยข้อหาอะไรไม่แจ้ง  แต่ตำรวจก็จับไม่ไหว  เพราะคนตั้งมากมาย  ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร  จึงล่าถอยไป  ท่านจึงไปพักที่วัดดงฤาษีคืนหนึ่ง  แล้งมุ่งไปทางบ้านหนองล่อง  ณ  ที่นี้ถูกคณะข้าหลวงดักจับอีก  แต่จับไม่ไหวอีกเช่นกัน
ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มาขอพบ
            เมื่อถึงวัดท่าลี่  ขณะที่พักอยู่ที่ศาลา  ในตอนเย็น  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงเข้าไปสอบถาม
            ผู้ว่าฯ  “ท่านอยู่บ้านใด  เกิดที่ไหน”
            ครูบาฯ “เดิมอาตมาอยู่บ้านแม่เทย  อ.ลี้   ลำพูนนี่เอง”
            ผู้ว่าฯ  “อ้อ  ท่านก็เป็นคนเมืองเราเหมือนกัน  ก่อนมาถึงที่นี่ท่านไปไหนมา”
            ครูบาฯ   “อาตมามาจากพม่า”
            ผู้ว่าฯ  “ไปอยู่นานไหม”
            ครูบาฯ   “ปีแล้ว”
            ผู้ว่าฯ    “อือ  ก็ไม่เห็นมีอะไรดังที่เขาเล่าลือ  แต่ก็มีอีกอย่างขอให้ท่านเสียค่าประถมศึกษา  8  บาท  ให้กับทางอำเภอเสีย  ตามระเบียบที่ทางการกำหนดไว้  หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร”
            ขณะนั้นกำนันกับชาวบ้านที่ร่วมชุมนุมอยู่  ณ  ที่นั้นได้ยินจึงช่วยกับบริจาคให้ท่านได้ถึง 15  บาท  จึงมอบให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่มากับผู้ว่าฯไป  แต่นับว่าเป็นคราวเคราะห์ของตำรวจคนนั้น  ซึ่งพอรับเงินสักครู่ก็ทำหายเสีย   ต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่ายไปแทนตามระเบียบ

            หลังจากพักที่ท่าลี่คืนหนึ่งแล้ว  ท่านพร้อมกับคณะก็ขนของข้ามแม่น้ำปิงไปขึ้นรถ  ไปจนถึงวัดพระนอนปูคาแล้วอยู่ร่วมฉลองวิหารพรนอนปูคา  ร่วมกับท่านครูบาศรีวิชัยจนเสร็จแล้ว  แล้วก็กลับมาหมายจะมาจำพรรษาที่วัดแม่ตื้น อ.ลี้ อีก   แต่นายอำเภอก็สั่งให้กำนันมาไล่ไม่ให้มาอยู่เด็ดขาด   
สร้างวัดพระบาทตะเมาะ

            ก็พอดีท่านคิดได้ว่ามีญาติทางพ่อของท่านเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลดอยเต่า  จึงให้คนมา บอกให้มาพบท่าน  เมื่อกำนันมาถึงแล้วท่านก็ถามว่า “อาตมาจะไปอยู่ที่วัดพระบาทตะเมาะได้หรือไม่”  กำนันดอยเต่าจึงไปปรึกษากับทางอำเภอ  จึงบอกว่า  ดีแล้ว  ให้ไปบอกให้ท่านมาอยู่เร็วๆเถิด  ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ไปอยู่ที่วัดพระบาทตะเมาะ  โดยสร้างอารามขึ้นที่นั่นด้วยความร่วมมือทั้งฝ่ายนายอำเภอและป่าไม้อำเภอให้จับจองที่กว้างยาว  500 วา  ยาว  500 วา  และที่พระบาทตะเมาะนี่เอง  ท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพุทธบาทหนึ่งหลัง  มีเจดีย์ตั้งอยู่บนวิหาร ยอด  นับว่าเป็นศิลปะที่งดงาม  ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้  ซึ่งท่านจะไปเที่ยวชมได้นับเป็นวิเวกสถานที่เหมาะกับผู้ใฝ่หาความสงบที่เหมาะมากอีกแห่งหนึ่ง
ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

            แต่ด้วยวิญญาณของนักพัฒนาท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดพระบาทตะเมาะไม่นาน  ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ  เชียงใหม่อยู่ท่านจึงพากะเหรี่ยง 500 คน  ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นกับดอยสุเทพกับอาจารย์จนเสร็จสิ้น  จึงกลับลงมาพักกับอาจารย์ที่วัดพระสิงห์
อุปสมบทครั้งที่ 3
            ที่วัดพระสิงห์นี้ครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม  ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นานๆ  ก็พอดีกับท่านครูบาศรีวิชัย  ก็ต้องเกิดคดีต่างๆ นานา  ต้องเดินทางไปกรุงเทพ ฯ   คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว  
ครองผ้าขาวครั้งที่  3

            ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวของอาจารย์ท่านยิ่งนัก  มีพระครูวัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาบอกให้ท่านสึกเสีย  เพราะมิฉะนั้นครูบาศรีวิชัยจะถูกจำคุก  ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง  นับเป็นครั้งสุดท้ายแล้วจึงออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ  แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง  จึงได้สร้างกุฎิที่วัดบ้านปางด้วย หลัง  แล้วกลับไปอยู่วัดพระบาทตะเมาะตามเดิม
สูญเสียอาจารย์
            ชีวิตท่านช่วงนี้  คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน  จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด  จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหาท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย  แต่ความดีใจนั้นคงอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก  แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด  ยังความโศกาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป  ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ  หากจะเอาสียงร่ำไห้มารวมกันแล้วใช้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็กๆก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อยแต่ก็ปลงได้ด้วยได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กรรมฐาน  ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมกับหีบบรรจุศพ  เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปางซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีกไม่กี่ปีหลังมรณภาพไม่นาน
สร้างวัดผาหนาม  ที่พำนักในปัจฉิมวัย
            วันคืนยังคงหมุนไป

พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น    เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัยผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมืดฟ้ามัวดินในฐานะทายาททางธรรมของครูบาศรีวิชัยผลงานระยะต่อมาเมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น  จึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ  และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น  จนถึงพุทธศักราช 2470  อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้วคือมีอายุ 76 ปี  แต่ท่านยังคงแข็งแรง  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ทั้งนี้  อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้  แต่ท่านได้คิดว่า  คนเราจะฝืนอำนาจกฎแห่งสังสารวัฎไปไม่ได้  จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง  เพื่อเป็นที่พักปฎิบัติธรรมในปัจฉิมวัย  ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพมาจากอำเภอฮอด   หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  มีพ่อน้อยฝน  ตุ่นวงศ์  เป็นประธาน  พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม  เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ  ท่านก็รับนิมนต์  พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้าย  เพื่อเป็นที่พำนักและปฎิบัติธรรมของท่าน  จึงพร้อมใจกับคณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้นจนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ  แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะงดมิไปสร้าง  หรือพัฒนาที่อื่นอีก  แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่างๆ  ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกหลายๆ แห่ง
วันจากที่ยิ่งใหญ่
            แล้วในปี  2514  คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮาม  แห่งจังหวัดลำปาง  ก็ได้มานิมนต์ท่าน  เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก  ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตมิได้ของท่าน   แม้ตอนนั้นตัวท่านจะชราภาพมากแล้ว  คือมีอายุ  83 ปี  หลังจากที่ท่านเป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่ามได้ไม่นาน   คณะศรัทธาวัดท่าต้นธงชัย  จ.สุโขทัย  ได้มานิมนต์ท่าน  เพื่อเป็นประธานในการก่อสร้างวิหาร

            วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม  2520    เมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม  2520  ท่านได้มาถึงวัดท่าต้นธงชัยแล้ว  เวลา 16.00น.  ท่านก็ได้มรณภาพ  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่  ท่านได้ขอสร้างกระท่อมเป็นที่พักอาศัยมุงหลังคาใบจาก  เนื่องจากท่านไม่ต้องการที่พักที่ประดับอย่างประณีต    ท่านมรณภาพที่กระท่อมใต้ต้นนิโครธ  มีลมพายุใหญ่พัดมาที่กระท่อม   แล้วมีลูกไฟออกจากปากของท่านไป   ลูกไฟวิ่งชนฝากระท่อมทะลุลอยไปบนฟ้า   หลังจากท่านจากไปฝนตกหนักทั้งวันทั้งคืนเจ็ดวันไม่หยุด  

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี

ประวัติครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี
ถิ่นกำเนิด
            ขอใช้จินตนาการรวมกาลเวลาย้อนคืนหลังไปเมื่อปี  พ.ศ.2443  ณ  หมู่บ้านแม่เทย  อ.ลี้  จ.ลำพูน  ในปัจจุบันนี้  สมัยนั้นความเจริญยังย่างกรายมาไม่ถึง  ทุรกันดารไปเสียทุกอย่างเพราะยังเป็นบ้านป่าหย่อมเล็ก ๆ  เพียง  9  หลังคาเรือนตั้งอยู่โดยมีความทะมึนของขุนเขาลำเนาไพรเป็นรั้วรอบ
            จากคำบอกเล่า  แม่เทยสมัยนั้นตกยามค่ำคืนเสียงสัตว์น้อยใหญ่ร้องระรมรอบบ้าน  ไม่ว่าเสือ,ช้าง,เก้ง,กวาง   คละเคล้ากันไปได้ยินถนัด  ท้ายหมู่บ้านเป็นครอบครัวเล็กๆ  ของผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่งอาศัยอยู่  แม้จะยากจนแต่ก็มีความสุขตามประสาคนหนุ่มสาวที่มักมองโลกเป็นความน่าเริงรมย์ยิ่งอยู่ในระยะข้าวใหม่ปลามันความฝันนั้นมักบรรเจิดยิ่งนัก  ฝ่ายผัวมีเชื้อสายลัวะชื่อ  เม่า  และเมียชื่อ  จันตา  เขาทั้งสองดำรงชีพ  แบบชาวบ้านป่าทั้งหลาย   ด้วยการทำไร่ปลูกผักหักฟืนไปวันๆ  โดยหาจุดหมายเพื่อความเป็นปึกแผ่นไม่ค่อยมั่นใจนักเพราะความยากจน  สมัยนั้นไม่มีการทำนาเพราะยังไม่มีการบุกเบิก  แต่จะพากันปลูกข้าวไร่แทน  ได้ผลบ้างไม่ได้บ้างแต่ที่แน่นอนไม่พอกินไปตลอดรอดปี  ซึ่งถ้าหากข้าวเปลือกที่กักตุนหมด   อาหารหลักที่รับช่วงต่อจากข้าวก็คือกลอย ( กลอยเป็นพืชใช้กินหัวจัดอยู่ในตระกูลเผือกมันมีหัวอยู่ในดิน )  หัวเผือก  หัวมัน   ที่มีอยู่มากในสมัยนั้น
วันกำเนิด

            ในวันจันทร์  ซึ่งตรงกับวันที่  17  เดือนเมษายน  2443   อันเป็นวันมหาสงกรานต์  คำเมืองเรียกว่าวันปากปี   ครอบครัวของ  นายเม่านางจันตา  ก็มีโอกาสตอนรับชีวิตเล็ก ๆ  ชีวิตหนึ่งซึ่งลืมตามาดูโลดในวันนี้  นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและเดียวของพ่อแม่เพื่อให้เป็นมงคลตามวัน  ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยว่า “จำปี”
ชีวิตวัยเยาว์

            ดังกล่าวแล้วว่า  ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่าค่อนข้างยากจน  อาหารการกินจึงขาดแคลน  มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก  เด็กชายจำปี  จึงมีร่างกายบอบบาง  พุงค่อนข้างป่องเพราะเป็นโรคขาดอาหาร  จึงมักเจ็บออดแอด   แต่ไม่ร้ายแรงนัก  “จำปี”  มีแววฉลาดแต่ยามเล็กๆ  ว่านอนสอนง่ายและเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า  ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต  แม้จะยากจนแสนเข็ญ  ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสุข  ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายสายใจ  พ่อเม่า  แม่จันตา  ก็ยิ่งมุมานะทำงาน  เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปีขึ้นอีกเท่าตัว  เด็กชายจำปี  คงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก  คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็กๆ  และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขา   มันหมายถึงความรักที่พ่อแม่ทุ่มเทให้ลูกน้อยอย่างสุดหัวใจ  แม้ทั้งร่างกายจะเปื้อนเหงื่อกว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด  ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา  แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข   เมื่อเห็นลูกน้อยผวาโผหาอ้อมกอดนี่คือความรักที่พ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย
การพลัดพรากที่ยิ่งใหญ่

            พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าโลกนี้เป็นอนิจจัง   มีความไม่เที่ยงแท้เป็นเครื่องกัดกร่อน  ชีวิตมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาหาจุดหมายที่แท้จริงไม่ได้  แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว  สุขกับโศกมักจะเป็นเครื่องล้อเล่นให้ได้พบเสมอพบกันเพื่อจะจากกันในที่สุด  เป็นอยู่เช่นนี้เหมือนกันทั้งโลก   ครอบครัวของหนุ่มเม่าก็เช่นกัน  จากความกรากกรำในงานไร่  และต่อสู้เพื่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตนรับผิดชอบทำให้เขาล้มเจ็บลง  มันเป็นไข้ป่าที่ร้ายแรงซึ่งหลายคนเสี่ยงเอา  หากว่าเป็นแล้วก็พึ่งยากลางบ้านต้มกินกันตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่  หมอกลางบ้านจะแนะนำให้อยู่หรือตายนั่นแล้วแต่บุญกรรม  สำหรับหยูกยาสมัยนั้นไม่ต้องพูดถึง  เพราะไกลความเจริญเหลือเกิน  พูดง่ายๆ  ว่าจากลี้ไปเชียงใหม่สมัยนั้น  ต้องเดินกันเป็นสิบๆวัน   สำหรับพ่อเม่าค่อนข้างโชคร้าย   ยากลางบ้านประเภทสมุนไพรสกัดโรคร้ายไม่อยู่  อาการมีแต่ทรงกับทรุด  แม่จันตาต้องนั่งเฝ้ามิยอมห่าง  ด้วยความเป็นกังวล  โดยมีลูกน้อยนั่งอยู่ด้วยนัยน์ตาปริบๆ  ด้วยคำถามที่ว่า  “พ่อเป็นอะไรทำไมจึงไม่ลุกนั่งหอบอุ้มลูกเหมือนเก่าก่อน”  แม่ก็ได้แต่ตอบว่าพ่อไม่สบาย  พร้อมกับน้ำตาอาบแก้มกับคำถามสุดท้ายอันไร้เดียงสาของลูก พร้อมกับตั้งความหวังว่าพ่อคงไม่เป็นอะไรมากนักแต่อนิจจา  ความตายนั้นไม่คำนึงถึงเวลาและความรู้สึกของมนุษย์เลย แล้ววันที่พ่อเม่าจากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับก็มาถึง  ท่ามกลางความเศร้าโศกของแม่จันตาและความอาลัยรักของเพื่อนบ้าน  พ่อเม่าทิ้งซากที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่บนที่นอนเก่าๆ  ให้แม่จันตาได้ร่ำไห้กอดรักปิ่มว่าจะขาดใจตามไปด้วย  เด็กชายจำปียังไร้เดียงสาเกินไปนักที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไรด้วยวัยเพียง 4 ขวบ  ก็ได้แต่พร่ำถามว่าแม่ร้องไห้ทำไม?  ทำไมพ่อจึงไม่พูด?  ทุกคนที่เฝ้าดูอยู่จึงได้แต่เบือนหน้าหนีด้วยความสงสาร  สะเทือนใจความพลัดพรากจากของรัก  คนรัก  นับว่าเป็นความเจ็บปวดร้าวรานใจอย่างงี้เอง  
แสงทอง –  แสงธรรม

            นับจากพ่อเม่าจากลับไปแล้ว  ก็เหลือแต่สองแม่ลูกกัดฟันต่อสู้ชีวิตท่ามกลางบ้านน้อยในห้อมแหนของดงดิบ  จึงขาดความอบอุ่นอย่างสิ้นเชิงเมื่อความทะมึนของราตรีมาถึง   หลายครั้งที่สองแม่ลูกต้องกอดกันผวาใจระทึก  เมื่อเสียงกระโชกคำรามของเจ้าป่าดังมาที่ชายป่าใกล้บ้านเสียงนกกลางคืนที่กรีดร้อง  เหมือนเสียงสาปแช่งของภูตผี  นี่หากพ่อเม่ายังอยู่ก็คงเป็นที่ปลอบขวัญเหมือนมีกำพงเพชรคอยกางกั้น  เมื่อขาดพ่อโลกใบนี้เหมือนโลกร้างมีแต่เพียง “จำปี”  กับแม่เพียงสองคน “จำปี”  แม้ร่างจะเล็กแต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมก็หล่อหลอมหัวใจเด็กชายจำปีให้แข็งแกร่งดังเพชรและนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคเป็นนักสู้ชีวิตที่เข้มแข็งในกาลต่อมา  เด็กชายจำปีกับแม่ช่วยกันต่อสู้ในการดำรงชีวิตอย่างทรหด  จวบจนอายุ 16 ปี  แม้จะเป็นเด็กวัยรุ่นแต่ความคับแค้นที่ผจญอยู่แทบทุกวัน  ทำให้ “จำปี” ไม่ร่าเริงเหมือนเด็กทั่วไป  กลับเป็นอันเสงี่ยมเจียมตนเมื่ออยู่คนเดียวเงียบๆ  และมีความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว
ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย

            สมัยนั้นท่านครูบาศรีวิชัย  ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง  วันหนึ่ง  แม่เรียกจำปีเข้ามาถาม “ลูกอยากบวชไหม”  จำปีตอบว่า  “อยากบวช  แต่ยังห่วงแม่เมื่อลูกบวชแล้วจะมีใครมาดูแล”  แม่ตาตอบว่า  “แม่อยู่ได้อย่าห่วงเลย  อีกประการหนึ่งการบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ดีที่สุด  เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง  เมื่อเห็นลูกนุ่งผ้าเหลือง  ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน”  และจากคำแนะนำนี้  เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย  และในทันทีที่นำไปฝากเพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กชายจำปีท่านก็รับไว้ทันทีเหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่า  เด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่   ในฐานะนักบุญแทนท่านและอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์  อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย  จึงบรรพชาเป็นสามเณร
สามเณร “ศรีวิชัย”

            ระหว่างเป็นสามเณรท่านได้ปฎิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์คือ  ครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วน  ท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง  ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์ว่า  สามเณรศรีวิชัย    สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์และร่ำเรียนกรรมฐานและอักษรสมัยจนจบถ้วนด้วยความสนใจพร้อมกับปฎิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบพร้อมกันนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์  จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ในด้านสถาปัตย์  ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง  ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่าเพียงเดินผ่านเสาไม้ต้นไหนก็  สามารถรู้ได้ทันทีว่าเสาต้นไหนกลวงหรือตันทั้งๆที่ไม่ปรากฎว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฎแก่สายตา
ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้

            ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฎิบัติกรรมฐาน   และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป  จวบจนอายุได้ 22 ปี  เป็นสามเณรได้ 6 พรรษาท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทให้  แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนอาจารย์  เมื่อเป็นภิกษุจึงเปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า “อภิชัยขาวปี”  ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา  ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์  เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป  
ผจญมาร

            พระอภิชัย  เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่างๆ  ตั้งแต่อายุ  24  จนถึงอายุ 35 ปี  ลางร้ายก็เริ่มอุบัติ  สมัยนั้นใช้เงินตราปราสาททองตรารูปช้างสามหัว  และเริ่มมีธนบัตรใช้ควบคู่กันไป  ขณะที่กำลังก่อสร้างกุฎิบ้านปาง  อ.ลี้  จ.ลำพูน  แต่ยังไม่พ้นเสร็จปลัดอำเภอลี้ในสมัยนั้นก็มาสอบถามถึงใบกองเกินการเกณฑ์ทหารจากท่านแต่ท่านไม่มี  ตำรวจจึงคุมตัวไปจังหวัดลำพูนและส่งตัวฟ้องศาล  เมื่อถูกศาลไต่สวนถึงใบกองเกินว่าทำไมถึงไม่ได้รับท่านก็ให้การว่าในขณะที่เริ่มมีการเกณฑ์ทหารนั้นได้ระบุว่าให้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์  แต่ขณะนั้นอายุอาตมาได้ 25 ปี  บัดนี้อายุของอาตมาได้  35  ปีแล้ว  จึงนับว่าพ้นการเกณฑ์แล้ว  ศาลจึงพักเรื่องนี้ไว้ก่อน
ถูกบังคับให้สึกแลครองผ้าขาวครั้งแรก

            หลังจากนั้นอีกไม่นาน  ท่านก็ต้องขึ้นศาลอีก  และให้ท่านรับใบกองเกิน  แต่ท่านก็มีความผิดที่ในระหว่างที่อายุยังไม่พ้นการเกณฑ์ทหารแต่ท่านไม่ไปแจ้งให้แก่ทางการให้มีการยกเว้นหรืออย่างไร  ฉะนั้นท่านจึงมีความผิดให้จำคุก 6 เดือน  แล้วให้จัดการสึกท่านออกจากการเป็นภิกษุก่อนแต่ท่านก็ยังยืนยันว่าท่านบริสุทธิ์  ท่านเป็นพระทั้งกายและใจ  ชีวิตนี้อุทิศให้กับศาสนาแล้ว  ท่านไม่ยอมเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายของท่านด้วยมือของตัวเองเป็นอันขาด  เมื่อยืนยันอย่างนี้  ศาลจึงให้ตำรวจต้องคุมตัวท่านหาเจ้าคณะจังหวัดสึกตามระเบียบ  แม้กระนั้นท่านก็ยังยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว  ที่จะไม่ยอมสึกและเมื่ออภิชัยภิกขุไม่ยอมสึก  เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องบังคับ  โดยให้ตำรวจจับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากตัวท่าน  จากนั้นตามระเบียบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอำนาจหน้าที่เหลือล้นในสมัยนั้น  ก็สวมกุญแจมือท่าน  แล้วคุมตัวไปโรงพักเสียคืนหนึ่ง  วันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น  ก็ถูกส่งเข้าเรือนจำจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นต่อไป  ซึ่งในนั้นท่านต้องได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส  ท่านเล่าถึงชีวิตในคุกตอนนั้นว่า  คุกในสมัยนั้นสุดแสนสกปรกยังเป็นคุกไม้พื้นปูกระดาน  เวลานอนก็นอนทั้งๆที่ล่ามโซ่  โดยสอดร้อยกับนักโทษคนอื่นๆ  คือเท้าทั้งสองข้างล่ามโซ่ตรวนมีโซ่เส้นใหญ่  สอดร้อยกับตะขอพ่วงกับนักโทษคนอื่นอีกที  เรื่องจะนอนหลับสบายนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะล้มตัวนอนลง  ฝูงเลือดนับร้อยๆตัวอ้วนปี๋เป็นต้องรุมกันดูดเลือดกิน  ให้ยุบยับไปหมด  จะถ่ายหนักถ่ายเบาก็ว่ากันตรงช่องกระดานตรงที่ใครที่มัน  เรื่องเหม็นกลิ่นไม่ต้องห่วง  คลุ้งไปหมอตลบอบอวลทั้งเรือนจำทีเดียว  ชีวิตประจำวันในห้องขังก็คือ  พอ 7 โมงเช้า  เปิดประตูทำงานสารพัดโดยมีผู้คุมถือกระบองคอยคุมอยู่  คอยหวดนักโทษบางคนที่ทำงานไม่ทันใจ  ถึงเวลา นาฬิกาผู้คุมเป่านกหวีดเลิกงานทานข้าว  ซึ่งข้าวนี่อย่าหวังว่าจะกินให้อิ่ม  และเอร็ดอร่อย  ข้าวกระติกเล็กๆ แกงหนึ่งถ้วยกินกันสี่คน พอหรือไม่พอก็มีให้กินแค่นั้น  กับข้าวแต่ละวันนั้นเลือกไม่ได้  จะมีผักเป็นส่วนใหญ่   ข้าวนึ่งที่ใช้รับประทานก็เป็นข้าวเก่าแข็งเหมือนกินก้อนกรวด  เป็นข้าวแดงใช้แรงนักโทษนั่นเองช่วยกันตำ  จึงดีหน่อยที่มีวิตามิน  กินแล้วแรงดี  
สร้างโรงพยาบาล

            ท่านอภิชัยขาวปีทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกไม่นาน (บ้างก็ว่าประมาณเดือนกว่า)  ก็ได้ไปเห็นโรงพยาบาลจังหวัดลำพูนทรุดโทรมเหลือเกิน  ท่านจึงแจ้งกับผู้บัญชาการเรือนจำว่าจะสร้างโรงพยาบาลให้ใหม่  ซึ่งผู้บัญชาการเรือนจำก็ไปหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดๆ  ก็กลัวว่าจะสร้างไม่ทันเสร็จ  เพราะท่านอภิชัยขาวปีติดคุกอยู่แค่ 6 เดือนเท่านั้น  จึงไม่อนุญาต  ท่านจึงถามว่า “ถ้าสร้างเหมาโรงพยาบาลนี้จะใช้งบประมาณเท่าไร  อนึ่งถ้าสร้างภายใน 6 เดือนไม่ทันเสร็จ  เมื่อถึงคราวฉลองเมื่อไหร่ก็มาร่วม”  ทางจังหวัดก็บอกว่าถ้ามีเงิน 1,600  บาทก็สร้างได้ (เงินในสมัยนั้นมีค่ามาก)  ท่านจึงออกเงินส่วนตัวมอบให้ทางจังหวัดเพื่อเป็นทุนสร้างโรงพยาบาลต่อไป  เป็นเงินจำนวน 1,600  บาท  ซึ่งหลังจากได้รับทุนแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างทันที  และผลแห่งความดีนั้นทางจังหวัดก็สั่งให้ทางเรือนจำเบิกตัวท่านออกจากห้องขังของเรือนจำ  ให้ไปพำนักอยู่ที่โรงพยาบาลหลังเก่า  เพื่อเป็นกำลังใจให้ไปก่อสร้างโรงพยาบาลพร้อมกันนั้นให้นักโทษชาย คน  มาอยู่เพื่อปรนนิบัติ   ทั้งอาหารการกินก็ถูกกำชับให้ทำอย่างดีและสะอาดเป็นพิเศษแก่นักโทษทั้งหลาย  ท่านก็เลยพ้นจากการทรมานเพราะถูกเลือดยุงกัด  นับจากนั้นมา  การก่อสร้างก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้จากบรรดาประชาชนทั้งหลายที่เลื่อมใสในตัวท่าน  เมื่อทราบข่าวว่ามาเป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาล  ก็พากันมาช่วยและทำบุญด้วยอย่างคับคั่งและเงินที่ได้จากการบริจาคครั้งนั้นยังได้ถึง 2,000พันกว่าบาท  เกินกว่าที่กำหนดไว้ถึงสี่ร้อยบาท
นพ้นโทษ

            ครั้นถึงเดือน เหนือ  แรม 2  ค่ำ  ก็เป็นวันที่ท่านพ้นโทษตามคำพิพากษาครบ 6 เดือนและโรงพยาบาลก็เสร็จแล้วเสร็จก่อนถึง  10 วัน  ในวันที่จะออกจากคุกนั้น  ท่านก็ได้ให้ทานแก่พวกนักโทษทั้งหลายเป็นขนมส้มหวานทั้งหลายอย่างเหลือเฟือ  จนพวกเขาอิ่มหมีพีมันไปตามๆกันเพราะเมื่อถึงตอนที่ท่านยังถูกจองจำอยู่ในคุกนั้น  ระยหลังพวกนักโทษทั้งหลายก็อยู่กินกันสบายจากของไทยทานที่ประชาชนผู้เลื่อมใสนำมาถวายถึงในคุกเป็นประจำทุกวันอย่างมากมาย  รวมความว่า  ผู้เกี่ยวข้องอยู่ในเรือนจำทั้งหมดล้วนแล้วแต่ได้รับความสบายในด้านอาหารการกินไปตามๆกัน  ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดพ้นโทษวันนั้น  นักโทษทั้งหลายก็พากันปริเวทนา  บ่นพร่ำว่า  เมื่อท่านอภิชัยขาวปีไปแล้วพวกเราทั้งหลายยังจะได้อยู่ดีกินอิ่มอย่างนี้อีกหรือแล้วพากันร้องไห้  ด้วยความอาลัยรักในตัวท่านเสียงระงมเป็นภาพที่สะเทือนใจยิ่งนัก  แม้ตัวท่านเองก็แทบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่  พวกเขาพากันมารอที่ประตูคุกเป็นการส่งด้วยใบหน้าที่นองด้วยน้ำตา  และจากปากประตูคุกจนถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยมีประมาณระยะทาง   70  วา  ก็มีประชาชนยืนเรียงรายถวายท่านกัน   ท่านได้เงินถึง  300  บาท  พอดีกับของที่ซื้อของถวายทานแก่นักโทษ  เหมือนกับเป็นการยืนยันว่า  การทำบุญสุนทานนั้นไม่หายไปไหน   เมื่อท่านเดินทางไปถึงประตูวัดพระธาตุหริภุญชัย  ก็มีพระสงฆ์  10 รูป  มาสวดมนต์เป็นการลดเคราะห์สะเดาะภัยให้  แล้วให้ศีลให้พรให้อยู่ดีมีสุขสืบไป  จากนั้นพอถึงเดือน  9  เหนือ  แรม  4 ค่ำ  ก็ร่วมฉลองโรงพยาบาลเป็นเวลา  วัน
อุปสมบทครั้ง  2

            ในวันที่แล้วเสร็จงานฉลองสมโภชท่านก็เดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย  ที่วัดพระสิงห์  เชียงใหม่  ในครานั้นท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทท่านเป็นภิกษุอีก  โดยมีครูบาแห่งวัดนันตาเป็นอุปปัชฌาย์หลังจากได้กลับมา  สู่ร่มกาวพัสตร์แล้ว  ท่านอยู่จำพรรษากับครูบาศรีวิชัยได้ พรรษา  ก็ลาอาจารย์จาริกสร้างสถานที่ต่างๆ  ต่อไปอีกหลายแห่งทั้งวัดและโรงเรียน  และในคราวสร้าง  พระเจดีย์ที่บ้านนาหลวง  อำเภอตาก  จังหวัดตากเสร็จแล้วท่านก็มุ่งสู่แม่สอดโดยเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขาลำเนาไพรถึง  คืน  4  วัน  ถึงแม่ระมาด  และเริ่มงานสร้างถาวรวัตถุอีกมากมาย  จากอายุ  36 ถึง 42  ปี