วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

แบบสวดมนต์ของกระทรวงศึกษาธิการ


แบบสวดมนต์ไหว้พระ
คำสวดมนต์ไหว้พระประจำวันและหลังเลิกเรียน
(หัวหน้านำสวดมนต์ ผู้อื่นสวดมนต์ตาม)
อรหํ  สมฺมาสมพุทฺโธ  ภควา
(อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา)
พระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นพระอรหันต์ ดับซึ่งกิเลส  ตรัสรู้  ชอบด้วยพระองค์เอง
พุทฺธํ  ภควนฺตํ  อภิวาเทมิ (กราบ)
(พุทธัง  ภะคะวันตัง  อภิวาเทมิ)
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
(สะหวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม)
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสดีแล้ว
ธมฺมํ  นมสฺสามิ (กราบ)
(ธัมมัง นะมัสสามิ)
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
สุปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฎิบัติดีแล้ว
สงฺฆํ นมามิ (กราบ)
ข้าพเจ้าขอไหว้พระสงฆ์
บทสวดนมัสการ
(หัวหน้านำ)     นโม  ตสฺส  ภควโต
(นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ)
นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต สมฺมา  สมฺพุทฺธสฺส
(นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ)
            ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น  ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
บทสวดพุทธคุณ
(หัวหน้านำ)     อิติปิโส  ภควา
(รับพร้อมกัน)  อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ  วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน สุคโต
(อิติปิโส  ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้ดี  โดยชอบด้วยพระองค์เอง  เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม  ทรงถึงพร้อมด้วย  วิชชา  และจรณะ
(โลกะวิทู  อนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ)
            พระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริง  ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ทรงเป็นผู้ตื่น  ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
บทสวดทำนองสรภัญญะบทสวดพระพุทธคุณ
(หัวหน้านำ)                                                                             องค์ใดพระสัมพุทธ
(รับพร้อมกัน)                                                                          สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร                                                                            มิหม่นมิหมองมัว
     หนึ่งนัยพระทัยท่าน                                                            ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี  บ พันพัว                                                                          สุวคนธกำจร
      องค์ใดประกอบด้วย                                                          พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร                                                                  มละโอฆกันดาร
     ชี้ทางบรรเทาทุกข์                                                              และชี้สุขเกษมศานต์
ชี้ทางพระนฤพาน                                                                    อันพ้นโศกวิโยคภัย
     พร้อมเบญจพิธจัก-                                                             ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                                                                   ก็เจนจบประจักษ์จริง
     กำจัดน้ำใจหยาบ                                                                สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง                                                                    มละบาปบำเพ็ญบุญ
     ข้าฯ ขอประณตน้อม                                                           ศิระเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ-                                                                        ญภาพนั้นนิรันดร
(กราบ)
บทสวดพระธรรมคุณ
(หัวหน้านำ)     สฺวากฺขาโต
(รับพร้อมกัน)  ภควตา  ธมฺโม สนฺทิฎฐิโก อกาลิโก  เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก  ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ  วิญญูหีติ
(สะหวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูฮีติ)
            พระธรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว  อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้โดยพระองค์เอง
สวดทำนองสรภัญญะ  บทสวดพระธรรมคุณ
(หัวหน้านำ)                                                                 ธรรมะคือคุณากร                                           
(รับพร้อมกัน)                                                              ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
            แห่งองค์พระศาสดาจารย์                                ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
            ธรรมใดนับโดยมรรคผล                                  เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
            สมญาโลกอุดรพิสดาร                                     อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
            อีกธรรมต้นทางครรไล                                    นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
            คือทางดำเนินดุจคลอง                                    ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
            ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์                                  นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา
                                                            (กราบ)
บทสวดพระสังฆคุณ
(หัวหน้านำ)     สุฏิปนฺโน
(รับพร้อมกัน)  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง
ญายปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(ญายะปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นผู้ปฏิบัติความรู้
สามีจิปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบ
ยทิทํ จตฺตาริ  ปุริสยุคานิ  อฏฐ  ปุริสปุคฺคลา  เอส  ภควโต  สาวกสงฺโฆ
(ยะทิทัง  จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ  ปุริสะ  ปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ)
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  จัดเป็นบุรุษสี่คู่
อาหุเนยฺโย  ปาหุเนยโยทกฺขิเณยฺโย  อญชลีกรณีโย  อนุตฺตรํ  ปุญฺญกฺเขตฺตํ  โลกสฺสาติ
(อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ)
            เป็นคู่ควรบูชา  เป็นผู้ควรรับทักษิณา  เป็นผู้ควรกราบไหว้  เป็นเนื้อนาบุญของโลก  หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้
สวดทำนองสรภัญญะ  บทสวดพระสังฆคุณ
(หัวหน้านำ)                                                                 สงฆ์ใดสาวกศาสดา
(รับพร้อมกัน)                                                              รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
            เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-                                 ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
            โดยเสร็จพระผู้ตรัสไตร                                   ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศจากมัวหมอง
            เหินห่างทางข้าศึกปอง                                       มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
            เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-                                      ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
            สมญาเอารสทศพล                                          มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
            ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-                                   พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน
            ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์                                     พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
            จงช่วยขจัดโพยภัย                                           อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญฯ
                                                            (กราบ)
บทสวดเคารพคุณมารดาบิดา
(หัวหน้านำ)                 อนนฺตคุณสมฺปนฺนา
(รับพร้อมกัน)              ชเนตฺติชนกา อุโภ
(อะนันตะคุณะสัมปันนา  ชะเนตติชะนะกา  อุโภ)
            บิดามารดาทั้งสองถึงพร้อมซึ่งคุณธรรมอันหาที่เปรียบมิได้
            มยฺหํ  มาตาปิตูนํว  ปาเท  วนฺทามิ  สาทรํ
            (ไมหัง  มาตาปิตูนังวะ  ปาเท  วันทามิ  สาทะรัง)
            ข้าพเจ้าขอกราบไหว้เท้าทั้งสองของบิดามารดาข้าเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
สวดทำนองสรภัญญะ
(หัวหน้านำ)                 ข้าฯ ขอนบชนกคุณ
(รับพร้อมกัน)              ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                                                             ผดุงจวบเจริญวัย
            ฟูมฟักทะนุถนอม                                                     บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร                                                                  คิดยากลำบากกาย
            ตรากทนระคนทุกข์                                         ถนอมเลี้ยงฤรู้วาย
ป้องกันอันตราย                                                           จนรอดได้เป็นกายา
            เปรียบหนักชนกคุณ                                        ชนนีคือภูภา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                                                         ก็     เทียบ    เทียมกัน
            เหลือที่จะทดแทน                                            อุดมเลิศประเสริฐคุณ
(กราบ)
บทสวดเคารพครูอาจารย์
(หัวหน้านำ)                 ปาเจราจริยา โหนฺติ
(รับพร้อมกัน)              คุณุตฺตรานุสาสกา
(ปาเจราจะริยา   โหนติ   คุณุตตะรานุสาสะกา)
ครูอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณยิ่ง   เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเรเต   เต  ทินฺโนวาเท  นมามิหํ
(ปัญญาวุฑฒิกะเรเต   เต  ทินโนวาเท  นะมามิหัง)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมครูอาจารย์ผู้ให้โอวาทเหล่านั้น
สวดทำนองสรภัญญะ
(หัวหน้านำ)                                                     อนึ่งข้าฯ คำนับน้อม
(รับพร้อมกัน)                                                  ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                                          อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
            ยัง    ทราบ  ก็ได้ทราบ                      ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                                            ขยายอรรถให้ชัดเจน
            จิตมากด้วยเมตตา                                และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์                              ให้ฉลาดและแหลมคม
            ขจัดเขลาบรรเทาโม-                           หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา   อารมณ์                                             ก็สว่างกระจ่างใจ
            คุณส่วนนี้ควรนับ                                ถือว่าเลิศ    แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                                          จิตน้อมนิยมชม
(กราบ)
บทสวดชยสิทธิคาถา
(หัวหน้านำ)                 พาหุ
(รับพร้อมกัน)              สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ
(พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง)
คฺรีเมขลํ  อุทิตโฆรสเสนมารํ
(ครีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง)
ทานาทิธมฺมวิธินา  ชิตวา  มุนินฺโท
(ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท)
ตนฺเตชสา  ภวตุ  เต  ชยสิทฺธิ  นิจฺจํ
(ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะสิทธิ  นิจจัง)
            สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนาซึ่งเนรมิตแขนได้พัน  มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ  ขี่ช้างคีรีเมขล์  ส่งเสียงดังน่ากลัว  ด้วยทานบารมี  และเดชของพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น  ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
สวดทำนองสรภัญญะ
บทชยสิทธิคาถา
(หัวหน้านำ)                                                                             ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท-
(รับพร้อมกัน)                                                                          ธะวิสุทธะศาสดา
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา-                                                            ธิณโพธิบัลลังก์
            ขุนมารสหัสสะพหุพา-                                                หุวิชาวิชิตขลัง
ขี่คิรีเมขะละประทัง                                                                 คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
            แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์                                       กละคิดจะรอนราญ
รุมพลพหลพยุหะปาน                                                              พระสมุททะนองมา
            หวังเพื่อผจญวะระมุนิน                                               ทะสุชินะราชา
พระปราบพหลพยุหะมา-                                                         ระมะเลืองมะลายสูญ
            ด้วยเดชะองค์พระทศพล                                              สุวิมละไพบูลย์
ทานาทิธรรมะวิธีกูล                                                                ชนะน้อมมะโนตาม
            ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา                                               และนมามิองค์สาม
ขอจงนิกรพละสยาม                                                                ชยะสิทธิทุกวาร
            ถึงแม้จะมีอริวิเศษ                                                        พละเดชะเทียมมาร
ขอไทยผจญพิชิตผลาญ                                                            อริแม้นมุนินทร ฯ

(กราบ 3 ครั้ง)
จบบทสวดมนต์วันสุดสัปดาห์
เมื่อสวดมนต์จบแล้วประธานในที่ประชุมจะให้
โอวาทแก่นักเรียน  เมื่อปิดประชุม  จึงให้ร้อง
เพลงสรรเสริญพระบารมี
บทสวดมนต์ไหว้พระสำหรับเด็กอนุบาล
(พร้อมกัน)                               พุทธัง  วันทามิ
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า  (กราบ)
ธัมมัง   วันทามิ
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรม   (กราบ)
สังฆัง  วันทามิ
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์  (กราบ)
สำหรับสวดมนต์ในตอนเช้าจบเพียงเท่านี้  หากสวดมนต์ทุกสุดสัปดาห์ให้สวดต่อดังนี้คือ
(หัวหน้านำ)                 นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต
(รับพร้อมกัน)              อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธธัสสะ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธัสสะ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธัสสะ
(หัวหน้านำ)                 พุทธัง
(รับพร้อมกัน)              สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นสรณะ
ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเจ้าเป็นคำรบสอง
ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นสรณะเป็นคำรบสอง
ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะนะณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเจ้าเป็นคำรบสาม
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นสรณะเป็นคำรบสาม
ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                        ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นคำรบสาม
(กราบ 3 ครั้ง)
            เมื่อสวดจบบทนี้แล้วเป็นอันจบพิธี  ครูให้โอวาทเมื่อกล่าวจบแล้ว  ให้นักเรียนร้องเพลงสรรเสริญบารมี
พิธีไหว้ครู
สิ่งที่นักเรียนต่ละห้องต้องตระเตรียม   ได้แก่
            1.พานดอกไม้ 1 พาน
            2.พานธูปเทียน  1 พาน
การจัดเตรียมสถานที่ในโรงเรียน
            1.จัดวางโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปไว้บนเวทีทางด้านขวามือของผู้เป็นประธาน  พร้อมทั้งจัดหนังสือวางบนพาน  ตั้งบนโต๊ะข้างที่บูชา  เพื่อไว้ให้ผู้เป็นประธานเจิม
            2.จัดที่นั่งของผู้เป็นประธานและครูอาจารย์ไว้บนเวที
            3.นักเรียนให้แบ่งนั่งลงเป็นสองแถว  ซ้าย-ขวา ให้มีทางเดินตรงกลาง  นักเรียนที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชิญพานดอกไม้และธูปเทียน  นั่งอยู่ริมทางเดินทั้งสองข้าง
การเริ่มพิธี
1.เมื่อผู้เป็นประธาน  มาถึงห้องประชุมนักเรียนทุกคนยืนขึ้นเพื่อแสดงความเคารพต่อท่านประธานในพิธี  จนประธานนพิธีนั่งลงเรียบร้อยแล้ว  นักเรียนทุกคนจึงนั่งตาม
2.ผู้ทำหน้าที่พิธีกร  เชิญท่านประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  เมื่อประธานทำพิธีเสร็จและกลับมานั่งลงเรียบร้อยแล้ว  ให้ผู้ทำหน้าที่พิธีกรยืนอยู่เบื้องหน้านักเรียนและกล่าวนำ  เพื่อให้นักเรียนสวดมนต์ตามนี้
บทสวดมนต์ในพิธีไหว้ครู
ผู้นำกล่าว                     อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา
นักเรียนว่าตาม             อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา
ผู้นำกล่าว                     พุทธัง  ภะคะวันตัง  อภิวาเทมิ
นักเรียนว่าตาม             พุทธัง  ภะคะวันตัง  อภิวาเทมิ
ผู้นำกล่าว                     สวากขาโต  ภะคะวะตาธัมโม
นักเรียนว่าตาม             สวากขาโต  ภะคะวะตาธัมโม
ผู้นำกล่าว                     ธัมมัง  นะมัสสามิ
นักเรียนว่าตาม             ธัมมัง  นะมัสสามิ
นักเรียนว่าตาม             สุปะฏิปันโนภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
ผู้นำกล่าว                     สังฆังนะมามิ  
นักเรียนว่าตาม             สังฆังนะมามิ  
(กราบ)
เสร็จแล้ว  ให้สวดต่อตามบทสวดมนต์ประจำวันสุดสัปดาห์  จนกระทั่งถึงบทชัยสิทธิคาถา  ผู้เป็นพิธีกรนำสวดจึงกลับไปนั่งยังที่ของตน
ต่อจากนั้น  ผู้เป็นหัวหน้านักเรียนลุกขึ้นมากล่าวคำไหว้ครูดังนี้
สวดทำนองสรภัญญะ
ปาเจราจะริยา  โหนติ  คุณุตตะรานุสาสกา
ข้าขอประณตน้อมสักการ
            (นักเรียนทุกคนกล่าวต่อ)                     บูรพคณาจารย์
ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา
            ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา                         อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
            ข้าขอเคารพอภิวันท์                             ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
            ขอเดชกตเวทิตา                                  อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
            ศึกษาสำเร็จทุกประการ                       อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
            ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี                        ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ
            หัวหน้านักเรียนกล่าวต่ออีกว่า
“ปัญญาวุฑฒิกะเรเต  เต ทินโนวาเท  นมามิหัง”
เมื่อจบบทสวดนี้แล้ว  หัวหน้านักเรียนกล่าวคำปฏิญาณให้นักเรียนกล่าวตามดังนี้
คำสวดปฏิญาณตนของนักเรียน
เราคนไทย  ใจกตัญญู  รู้คุณชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
เรานักเรียน  จักต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  และผู้อื่น
เรานักเรียน  จักต้องไม่ทำตนให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
เมื่อกล่าวจบ  หัวหน้ากล่าวนำให้นักเรียนทุกคนทำความเคารพ  ต่อจากนั้นก็เป็นพิธีมอบพานดอกไม้    ธูปเทียน  โดยนักเรียนผู้อัญเชิญพานยืนขึ้นพร้อมหน้ากันหมด  แล้วทยอยเดินขึ้นเวที  นำพานดอกไม้ธูปเทียนวางบนโต๊ะที่จัดเตรียมไว้บนโต๊ะหน้าที่บูชาแล้วกราบลงพร้อมกัน  3 ครั้ง  จากนั้นจึงถอยออกมาทำความเคารพผู้เป็นประธานในพิธี  แล้วลงจากเวทีกลับเข้าที่เดิมจนครบทุกคน
            เมื่อนักเรียนเข้านั่งที่เดิมหมดแล้ว อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้เชิญประธานในพิธีเชิญหนังสือที่เตรียมไว้   โดยนักเรียนทุกคนลุกขึ้นยืนจนกระทั่งประธานเจิมหนังสือจนเสร็จพิธี  แล้วกลับนั่งลงที่เดิมแล้วนักเรียนทุกคนนั่งลงตาม  จากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี
บทสวดมนต์ก่อนนอน
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง   สัมมาสัมพุธโธ  ภะคะวา พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิ (กราบ)
            สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สังฆัง  นะมามิ (กราบ)
บทสวดนมัสการ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธัสสะ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธัสสะ
บทสวดปวารณา
            ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
(กราบ)
บทสวดพระพุทธคุณ
            อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชา  จะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ
(กราบ)
บทสวดพระธรรมคุณ
                                    สะหวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม
                                    สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก
                                    เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก
                                    ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ
บทสวดพระสังฆคุณ
                        สุปะฎิปันโน  ภะตะวะโต  สาวะกะสังโฆ
                        อุชุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
                        ญายะปิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
                        สามีจิปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
                        ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ
                        อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา
                        เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
                        อุหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย
                        อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง
                        ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ (กราบ)
บทสวดชัยมงคล
                                    นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง
                        พุทโธ  เม  สะระณัง  วะรัง
                        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ
                        โหตุ  เม  ชะยะมังคะลัง
นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง
                        ธัมโม  เม  สะระณัง  วะรัง
                        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ
                        โหตุ  เม  ชะยะมังคะลัง
นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง
                        สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง
                        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ
                        โหตุ  เม  ชะยะมังคะลัง (กราบ)
บทแผ่เมตตา
                        สัพเพ  สัตตา  สัตว์ที้งหลาย  ที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
                        อะเวรา  โหนตุ  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
                        อัพยา  ปัชฌา  โหนตุ  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีความทุกข์กาย  ทุกข์ใจเลย
                        อะนีฆา  โหนตุ  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีความทุกข์กาย  ทุกข์ใจเลย
                        สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ  จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
จบบทสวดมนต์ก่อนนอนเพียงเท่านี้
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะของนักเรียน  วิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
            ผู้นำนักเรียนนั่งคุกเข่ายกพานดอกไม้  ธูป เทียน  ประเคนแด่พระสงฆ์  พร้อมรายชื่อนักเรียนที่เข้าร่วมพิธี
(หัวหน้ากล่าวนำ)  คำบูชาพระรัตนตรัย  คนอื่นกล่าวตามทีละวรรค
                        ข้าพเจ้าขอบูชนพระพุทธเจ้า                ด้วยเครื่องสักการะนี้
(กราบ)
อิมินา  สักกาเรนะ                   ธัมมัง  ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชนพระธรรม                    ด้วยเครื่องสักการะนี้
(กราบ)
อิมินา  สักกาเรนะ                   สังฆัง  ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชนพระสงฆ์                     ด้วยเครื่องสักการะนี้
(กราบ)
            จบแล้วกล่าวคำนมัสการพระพุทธเจ้า  และคำขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
            นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ)
ถ้าเป็นชาย   กล่าวดังนี้
            เอเต  มะยัง  ภันเต  สุจิระปรินิพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ
            เอเต  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ  พุทธะ  มะมะ  กาติ  โน  สังโฆ  ธาเรตุ
ถ้าเป็นหญิง  กล่าวดังนี้
            เอตา  มะยัง  ภันเต  สุจิระปรินิพุตัมปิตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ
เอตา  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ  พุทธะมะมิ  กาติ  โน  สังโฆ  ธาเรตุ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  ทั้งพระธรรม  และพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือขอพระสงฆ์จงรับ  ข้าพเจ้าไว้เป็นพุทธมามกะด้วยเถิด
            เมื่อกล่าวจบ  พระสงฆ์ทั้งหมดประนมมือรับ “สาธุ”  ผู้เข้าร่วมพิธีนั่งประนมมือฟังโอวาทจากประธานสงฆ์  จบแล้ว  หัวหน้านักเรียนนำกล่าวอาราธนาศีล ๕ และสมาศีล ๕ (กล่าวตาม  พระเป็นตอนๆ )  แล้วกล่าวสรุปหลังจากสมาทานศีล  พระสงฆ์บอก ๑ ครั้ง  ว่าตาม ๓ ครั้ง
อิมานิ  ปัญจะสิกขาปะทานิ  สามาทิยามิ
            ผู้เข้าร่วมพิธีรับพุทธมามกบัตร  ถวายเครื่องไทยทาน  พระสงฆ์อนุโมทนา  กรวดน้ำรับพร  แล้วคุกเข่ากราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง  เป็นอันเสร็จพิธี
คำอาราธนาศีล 5
            มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะนัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ
            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอศีล 5  พร้อมทั้งไตรสรณาคมน์  เพื่อจะรักษา  ต่างกันตรงที่แยกรักษาแต่ละข้อ
            ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจะมะ
            แม้ครั้งที่สอง  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอศีล 5  พร้อมทั้งไตรสรณาคมน์  เพื่อจะรักษา  ต่างกันตรงที่แยกรักษาแต่ละข้อ
            ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ
            แม้ครั้งที่สาม  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอศีล 5  พร้อมทั้งไตรสรณาคมน์  เพื่อจะรักษา  ต่างกันตรงที่แยกรักษาแต่ละข้อ
(หมายเหตุ  ถ้าคนเดียวพึงเปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ  เป็นยาจามิ.......ถ้าศีล 8 ให้เปลี่ยน “ปัญจะ” เป็น “อัฎฐะ”)
คำบูชาพระรัตนตรัย
                                                มินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมิ
                                                มินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมิ
                                                มินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมิ
                                    ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระพุทธเจ้า
                                    ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระธรรมเจ้า
                                    ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระสงฆ์เจ้า
บทอาราธนาพระปริตร
วิปัตติ  ปะฎิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติ  สิทธิยา  สัพพะภะยะ  วินาสายะ  ปะริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง
วิปัตติ  ปะฎิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติ  สิทธิยา  สัพพะโรคะ  วินาสายะ  ปะริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง
ขอพระคุณเจ้า  โปรดสวดพระปริตรอันเป็นมงคล  เพื่อห้ามความวิบัติ  เพื่อสำเร็จสมบัติทุกประการ  เพื่อให้ทุกข์  ภัย  โรค  อันตรายใดๆ ทุกชนิด  จงพินาศสูญไป
คำอาราธนาธรรม
พรัหมา  จะ  โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ  กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ  สันตีธะ  สัตตาป  ปะระชัก  ขะชาติกา  เมเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชัง
ท้าวสหัมบดีพรหม  ผู้เป็นอธิบดีแห่งโลก  ได้ประคองอัญชลี  ทูลวิงวอนขอพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า  สัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาน้อยๆ  มีอยู่ในโลกนี้  ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงความอนุเคราะห์  ด้วยเถิด
คำสมาทานศีล
1.ปาณาติปาตา  เวระมะณี สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
              ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคือ  เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตัวเองและไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า           
2.อะทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
               ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคือ  เว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตัวเองและไม่ใช้ให้ลักทรัพย์
                ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคือ  เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4.มุสาวาจา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคือ  เว้นจากการพูดปด  พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  ลำพูดเพ้อเจ้อ
5.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                 ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคือ  เว้นจากการดื่มกินสุรา  และเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
คำถวายเครื่องสักการะ
                                                อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมิ
                                                อิมินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมิ
                                                อิมินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมิ
                             ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้า  ด้วยเครื่องสักการะนี้
คำถวายข้าวพระพุทธ
               อิมัง  สูปะพยัญชะนะ  สัมปันนัง  สาลีนัง  โภชะนัง  อุทะกัง  วะรัง  พุทธัสสะ  ปูเชมิ (มะ)
              ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอบูชาด้วยข้าวสุกแห่งข้าว สาลี  อันสมบูรณ์ด้วยแกง  กับ  และน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า
คำลาข้าวพระพุทธ
                                                        เสสัง  มังคะลัง  ยาจามิ  (มะ)
                                                ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ทูลขอสิ่งที่เหลืออันเป็นมงคลนี้
                             หมายเหตุ   - ถ้าบุลคลคนเดียวถวายข้าวแด่พระพุทธให้ใช้คำลงท้ายว่า  ปูเชมะ
                                                -ถ้าถวายเป็นคณะบุลคลให้ใช้คำลงท้ายว่า  ปูเชมิ
คำถวายสังฆทาน (สามัญ)
                             อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ภัตตานิ  สะปะริ  วารานิ  ภิกขุ  สังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ภัตตานิ  สะปะ  ริวารานิ  ปะฎิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
                             ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจืทั้งหลายขอน้อมถวายภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขของข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ
คำถวายสังฆทาน
(ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
                             อินามิ  มะยังภันเต  มะตะกะภัตตานิ,  สะปะริวารฆัสสะ  โอโณชะยามะ,  สาธุ  โน  ภันเต.  ภิกขุสังโฆ,อิมานิ, มะตะ, กะภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฎิคคัณหาตุ, อัมหากัณจะวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ  ญาตะ กานัง  กาละกะตานัง ทีฆะรัตตัง, หิตายะ,สุขายะ
                             ข้าแต่พระสงค์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายมตกภัต (ภัตเพื่อผู้ตาย)  กับของที่เป็นบริวารเหล่านี้  แด่เหล่าพระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับมตกภัต (ภัตเพื่อผู้ตาย)  กับของที่เป็นบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น  ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วสิ้น (ตลอด)  กาลนาน  เทอญฯ
คำถวายไทยทาน
                             อิเม  มะยัง  ภันเต  จะตุปัจจะเย  สะปะ ริวาเร  ธัมมะกะถิกัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ธัมมะกะถิโก
                             อิเม  จะตุปัจจะเย  สะปะริวาเร  ปะฎิค คันหาตุ  อัมหากัญเจวะ  มาตาปิตุ  อาที  นัญจะ  ญาตะกานัญจะ  ฑีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ  อิมินา  ธัมมะทาเนนะ  นิพพานนัสสะ  ปัจจะโย  โหตุ
                             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายจตุปัจจัย  กับบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  และญาติ  มีบิดาและมารดาเป็นต้น  ด้วยผลแห่งธรรมทานนี้  จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่พระนิพพาน  ในอนาคตกาลโน้นเทอญ
คำถวายทานอุทิศ
                             อิทัง  เม  ทานัง  มาตาปิตุอาทีนัง  ญาตะกานัง  สังวัตตะตุ  มัยหัง  มาตาปิตา  ทะโย  ญาตะกา  อิมัสสะ  ทานัสสะ  ปัตติง  ละกันตุ  มะมะเจตะสา
                             ทานของข้าพเจ้านี้  จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  มีบิดามารดาเป็นต้น  จงได้รับส่วนบุญของทานนี้  ตามประสงค์ของข้าพเจ้าเทอญ.
คำถวายผ้ากฐิน
                             อิมัง  ภันเต  สะปะริวารัง  กะฐินะจีวะ  ระทุสสัง  สังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  สังโฆ
                             อิมัง  สะปะริวารัง  กะฐินะทุสสัง  ปะฎิคคันหาตุ  ปะฎิฆะเหตตะวา  จะ  อิมินา   ทุสเสนะ  กะฐินัง  อัตถะระตุ  อัมหากัง  ทีฆะ  รัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
                             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายนี้แด่พระสงฆ์  ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งผ้ากฐินกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้ว  จงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้  เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ตลอดกาลนานเทอญ
คำถวายผ้าป่า
                             อินามิ  มะยัง  ภันเต  ปังสุกูละ  จีวะรานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุโน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ
                             อิมานิ  ปังสุกูละจีวะรานิ  สะปะริวารานิ  ปะฎิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฑะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
                             ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย  ผ้าบังสุกุลจีวร  กับบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับผ้าบังสุกุลจีวรกับบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ
คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
                             อิมานิ  มะยัง ภันเต  วัสสิกะ  สาฎิกานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุโน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ
                             อิมานิ  วัสสิกะสาฎิกานิ  สะปะริวารานิ  ปะฎิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
                             ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝน  กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ
บทกรวดน้ำ
                             เป็นการอุทิศส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญแล้วแผ่ไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว  เพื่อให้ผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านี้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้น  โดยวิธีดังนี้  คือ
                             1.น้ำสำหรับใช้กรวดอุทิศส่วนกุศลนั้น  ต้องเป็นน้ำใส  สะอาด  บริสุทธิ์
                             2.การกรวดน้ำ  จะกระทำหลังจากถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์แล้ว
                             3.เมื่อพระเถระประธานสงฆ์เริ่มอนุโมทนาว่า (ยถา...)  เจ้าภาพก็เริ่มหลั่งน้ำอุทิศส่วนกุศล  โดยจับภาชนะสำหรับกรวดน้ำด้วยมือทั้งสอง  รินน้ำให้ไหลลงเป็นสายโดยไม่ขาดตอน  พร้อมทั้งตั้งจิตอุทิศส่วนบุญให้ผู้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วว่า
                             อิทัง  เม  ญาตีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย
                             ขอส่วนบุญกุศาลนี้  จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข