วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สามเณรสิกขา

สามเณรสิกขา
(เฉพาะบทขัด  บทสวด  และคำแปล)
บทขัดที่ ๑
สัมพุทโธ  โลเก  อุปปันโน  มะหาการุณิโก  มุนิ
ธัมมะจักกัง  ปะวัตเตตํวา  โลเก  อัปปะฎิวัตติยัง
โลกัสสะ  สังคะหัง  กาตุง  จะริตํวา  โลกะจาริกัง
ติวิธัง  โลเก  สัทธัมมัง  สัมมะเทวะ  ปะวัตติยัง
อะนุปุพเพนะ  สาวัตถิง  ปัตํวา  เชตะวะเน  วะสัง
สามะเณรานัง  นิสสายะ  จิตตัง  กะถานุสิกขิตุง
สามะเณรานัง  ทะสังคัง  สิกขาปะทัง  ภะณามะเส.
แปลโดยยกศัพท์ 
        สัมพุทโธ  อันว่าพระสัมพุทธเจ้า  มะหาการุณิโก  ผู้ประกอบแล้วด้วยพระกรุณาใหญ่  มุนิ  ผู้รู้  อุปปันโน  เสด็จอุบัติแล้ว  โลเก  ในโลก  ธัมมะจักกัง  ทรงยังจักรคือธรรม  อัปปะฎิวัตติยัง  อันใครๆ  มิให้เป็นไปทั่ว  ปะวัตเตตํวา  ทรงให้เป็นไปทั่วแล้ว  โลเก  ในโลก  จะริตํวา  เสด็จเที่ยวไปแล้ว  โลกะจาริกัง  สู่ที่เป็นที่เสด็จเที่ยวไปในโลก  กาตุง  เพื่ออันกระทำ  สังคะหัง  ซึ่งการสงเคราะห์  โลกัสสะ  แก่สัตว์โลก  สัทธัมมัง  ยังพระสัทธรรม  ติวิธัง  มีอย่างสาม  ปะวัตติยัง  ให้เป็นไปทั่ว  โลเก  ในโลก  สัมมา  เอวะ  โดยชอบนั่นเทียว  ปัตํวา  เสด็จถึงแล้ว  สาวัตถิง  ซึ่งเมืองสาวัตถี  อะนุปพเพนะ  โดยลำดับ  วะสัง  ทรงประทับอยู่  เชตวะเน  ในวิหารชื่อเชตะวัน  นิสสายะ  ทรงอาศัยแล้ว  จิตตัง  ซึ่งความคิด  สามะเณรานัง  แห่งสามเณรทั้งหลาย  อะนุสิกขิตุง  เพื่ออันตามศึกษา  กะถา  ซึ่งถ้อยคำทั้งหลาย  อะนุญญาสิ  ทรงอนุญาตแล้ว  สิกขา  ซึ่งสิกขาทั้งหลาย  ทะสะ  สิบข้อ  สามะเณเรหิ  สิกขิตุง  เพื่ออันยังสามเณรทั้งหลายให้ศึกษา  มะยัง  อันว่าเราทั้งหลาย  ภะณามะ  เส  ขอจงสวด  สิกขาปะทัง  ซึ่งสิกขาบท  ทะสังคัง  อันมีองค์สิบ  สามะเณรานัง  ของสามเณรทั้งหลาย 
แปลโดยอรรถ
            พระสัมพุทธเจ้า  ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา  ผู้รู้  เสด็จอุบัติในโลกแล้ว  ทรงประกาศพระธรรมจักรที่ใครๆไม่ (สามารถ) ให้เป็นไปให้เป็นไปในโลกแล้ว  เสด็จเที่ยวไปสู่โลกจาริก  เพื่อกระทำการสงเคราะห์แก่สัตว์โลก  ทรงประกาศพระสัทธรรม ๓ อย่างในโลก  โดยชอบนั่นแล  เสด็จถึงเมืองสาวัตถี  โดยลำดับ  เสด็จประทับอยู่ในพระเชตะวันทรงอาศัยความคิดของพวกสามเณร  เพื่อศึกษาถ้อยคำทั้งหลายจึงทรงอนุญาตสิกขา ๑๐ ข้อ  เพื่อให้สามเณรทั้งหลายได้ศึกษา  ขอพวกเรา  จงสวดสิกขาบทมี ๑๐ องค์  สำหรับสามเณรทั้งหลาย
บทสวดที่ ๑
(สิกขาบท ๑๐)
            อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา,   สามะเณรานัง  ทะสะ  สิกขาปะทานิ  เตสุ  จะ  สะมะเณเรหิ  สิกขิตุง,ปาณาติปาตา  เวระมะณี,อะทินนาทานา  เวระมณี,อะพรัหมะจะริยา  เวระมะณี, มุสาวาทา  เวระมะณี,สุรา  เมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา  เวระมะณี,  วิกาละโภชนะนาเวระมะณี, นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา  เวระมะณี ,  มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา  เวระมะณี, อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา  เวระมะณี,ชาตะรูปะระชะตะปะฎิคคะหะณา  เวระมะณีติ.
แปลโดยยกศัพท์
อะนุญญาสิ  โข  พระองค์เจ้าอนุญาตแล้วแล  ภะคะวา  พระผู้มีพระภาคเจ้า  สามะเณรานัง  แก่สามเณรทั้งหลาย  ทะสะ  สิกขาปะทานิ  ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๑๐  เตสุ  จะ  ในสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นด้วย  สามะเณเรหิ  สิกขิตุง  เพื่อให้สามเณรทั้งหลายศึกษา  ปาณาติปาตา  เวระมะณี  เจตนาเว้นเสียจากอันทำสัตว์เจ้าปาณะให้ตกล่วงไป  อทินนาทานา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากอันถือเอาซึ่งข้าวของอันเจ้าของเขาไม่ให้แล้ว  อะพรัหมะจะริยา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากกรรมใช่เขาประพฤติดังพรหม  มุสาวาทา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากอันกล่าวปด  สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากอันกินในวิกาล  นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา  เวรมะณี  เจตนาเครื่องอันเว้นเสียจากอันฟ้อนและอันขับและอันยังดนตรีให้กล่าว  และดูการเล่นเป็นเสี้ยนหนาม  มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากเหตุเป็นที่ตั้ง  คืออันทรงไว้และประดับตกแต่งด้วยระเบียบและของหอมและเครื่องลูบไล้  อุจจาสะยะนะมะหาสะยานา  เวระมะณี  เจตนาเครื่องเว้นเสียจากที่เป็นที่นอนอันสูงและที่เป็นที่นอนอันใหญ่  ชาตะรูปะระชะตะปะฎิคคะหะณา  เวระมะณี  เจตนาเว้นเสียจากอันรับซึ่งทองและเงิน   อิติ  ว่ากระนี้แล
แปลโดยอรรถ
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ทรงอนุญาตสิกขาบท ๑๐  แก่สามเณรทั้งหลาย  เพื่อให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท  ๑๐  เหล่านั้น  คือ  เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ๑  เว้นจากลักสิ่งของ  ที่เจ้าของไม่ให้  ๑  เว้นจากเมถุนธรรม ๑   เว้นจากกล่าวปด ๑ เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งจากความประมาทเพราะดื่มน้ำเมา  คือสุราและเมรัย ๑  เว้นจากการบริโภคอาหารในวิกาล  คือตั้งแต่เที่ยงไปแล้ว ๑  เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง  ประโคมดนตรีและการดูซึ่งเป็นข้าศึกแห่งกุศล ๑  เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด  คือทรงไว้และประดับตกแต่งกาย  ด้วยดอกไม้และของหอมและเครื่องทา ๑  เว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่  ๑  เว้นจากรับเงินและทอง ๑
บทขัดที่ ๒
เตนะ  โข  ปะนะ  สะมะเยนะ  สักํยะปุตโต  ปะนันทะสะ
สามะเณโร  กัณฎะโก  นามะ  กัณฎะกิง  ภิกขุณิง  ทุสิ
ญัตํวา  ตะมัตถัง  ภะคะวา  ภิกขูนัญเญวะ  สันติกา
อะนุญญาสิ  โข  นาเสตุง  สามะเณรัง  ทะสังคิกัง
สามะเณรานัง  นาสะนะ  การะณังคัง  ภะณามะ  เส
แปลโดยยกศัพท์
ปะนะ  ก็  สะมะเยนะ  โดยสมัย  เตนะ  โข  นั้นแล  สามะเณโร  อันว่าสามเณร  กัณฎะโก  นามะ  ชื่อว่ากัณฎกะ  สักํยะปุตโต  ปะนันทะสะ  แห่งพระเจ้าอุปนันทะผู้เป็นพระโอรสแห่งเจ้าศากยะ  ทุสิ  ประทุษร้ายแล้ว  ภิกขุณิง  ซึ่งนางภิกษุณี  กัณฎะกิง  ชื่อว่ากัณฎะกี  ภะคะวา    อันว่าพระผู้มีพระภาค  ญัตํวา  ทรงทราบแล้ว  อัตถัง  ซึ่งเนื้อความ  ตัง  นั้น  สันติกา  จากสำนัก  ภิกขูนัง  เอวะ  แห่งภิกษุทั้งหลายนั้น  อะนุญญาสิ  โข  ทรงอนุญาตแล้ว  ทะสังคิกัง  สามะเณรัง  นาเสตุง  เพื่ออันยังสามเณร  ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์สิบ  ให้พินาศ  มะยัง  อันว่าเราทั้งหลาย  ภะณามะ เส จงสวด  สามะเณรานัง  นาสะนะ  การะณังคัง  ซึ่งองค์แห่งเหตุแห่งการยังสามเณรทั้งหลายให้พินาศ ฯ
แปลโดยอรรถ
ก็  สมัยนั้นแล  สามเณรชื่อว่ากัณฏกะ  ของพระเจ้าอุปนันทะศากยบุตร  ประทุษร้ายนางกัลฎะกีภิกษุณีแล้ว  พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นจากสำนักของพวกภิกษุทีเดียว  แล้วทรงอนุญาตเพื่อให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการ  ขอพวกเราจงสวดองค์อันเป็นเหตุแห่งการนาสนะสามเณรทั้งหลายกันซิ ฯ
บทสวดที่ ๒
(นาสะนังคะ ๑๐)
                        อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา,  ทะสะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัง  สามะเณรัง  นาเสตุง,  กะตะเมหิ  ทะสะหิ,  ปาณาติปาติปาตี  โหติ,อะทินนาทา  ยี  โหติ,  อะพรัมะจารี  โหติ,  มุสาวาที  โหติ,  มัชชะปายี  โหติ,  พุทธัสสะ  อะวัณณัง  ภาสะติ,  ธัมมัสสะ  อะวัณณัง  ภาสะติ,  สังฆัสสะ  อะวัณณัง   ภาสะติ,  มิจฉาทิฎฐิโก  โหติ,  ภิกขุณี  ทูสะโก  โหติ,  อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา,  อิเมหิ  ทะสะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัง  สามะเณรัง  นาเสตุนติ.
แปลโดยยกศัพท์
อะนุญญาสิ  โข  พระองค์เจ้าอนุญาตแล้ว  ภะคะวา  ผู้มีพระภาคเจ้า  ทะสะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัง  สามะเณรัง  นาเสตุง  เพื่ออันทำสามเณรผู้มาเนืองๆ  พร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลาย ๑๐ ให้ฉิบหาย  กะตะเมหิ  ทะสะหิ  ด้วยองค์ทั้งหลาย ๑๐ อย่างไรนะ  ปาณาติปาตี  ผู้ทำสัตว์เจ้าปาณะให้ตกล่วงไปละ  โหติ  เธอเป็น  อะทินนาทายี  ผู้ถือเอาซึ่งข้าวของ  อันเจ้าของเขาไม่ให้แล้วละ  โหติ  เธอเป็น  อะพรัหมะจารี  ผู้ใช่เขาประพฤติดังพรหมละ  โหติ  เธอเป็น  มุสาวาที  ผู้มีอันกล่าวปดละ  โหติ  เธอเป็น  มัชชะปายี  ผู้ดื่มกินน้ำเมาละ  โหติ  เธอเป็น  พุทธัสสะ  แห่งพระพุทธ  อะวัณณัง  อวรรณะ  ภาสะติ  เธอกล่าว  ธัมมัสสะ  แห่งพระธรรม  อะวัณณัง  อวรรณ  ภาสะติ  เธอกล่าว  สังฆัสสะ  แห่งพระสงฆ์  อะวัณณัง  อวรรณะ   ภาสะติ  เธอกล่าว  มิจฉาทิฎฐิโก  ผู้ประกอบด้วยความเห็นผิดละ  โหติ  เธอเป็น  ภิกขุณี  ทูสะโก  ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณีละ  โหติ  เธอเป็น   อะนุญญาสิ  โข พระองค์เจ้าอนุญาตแล้วแล  ภะคะวา  ผู้มีพระภาคเจ้า  อิเมหิ  ทะสะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัง สามะเณรัง  นาเสตุง  เพื่ออันทำสามเณรผู้มาเนืองๆ พร้อมแล้ว  ด้วยองค์ทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้ให้ฉิบหาย  อิติ  ว่ากระนี้แล
แปลโดยอรรถ
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ทรงอนุญาตให้สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐  ให้ฉิบหายเสีย  องค์ ๑๐ เป็นไฉน  คือ  สามเณรเป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๑  เป็นผู้ลักสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ๑  เป็นผู้เสพเมถุน ๑  เป็นผู้กล่าวปด ๑  เป็นผู้ดื่มน้ำเมา ๑  ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑  ติเตียนพระธรรม ๑  ติเตียนพระสงฆ์ ๑  เป็นผู้มีความเห็นผิด ๑  เป็นผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ๑  พระผู้มีพระภาค  ได้ทรงอนุญาตให้สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เหล่านี้ให้ฉิบหายเสีย   
บทขัดที่ ๓
เตนะ  โข  ปะนะ  สะมะเยนะ  สามะเณรา  อะคาระวา
ภิกขูสุ  อัปปะติสสา  เจวะ  อะสะภาคะวุตติกา
ญัตํวา  ตะมัตถัง  ภะคะวา  ภิกขูนัญเญวะ  สันติกา
อะนุญญาสิ  ทัณฑะกัมมัง  กาตุง  ปัญจังคิกัสสะ  จะ
สามะเณรานัง  ทัณฑะกัมมะ  การะณังคัง  ภะณามะ  เส.
แปลโดยยกศัพท์
ปะนะ  ก็  สะมะเยนะ  โดยสมัย  เตนะ  โข  นั้นแล  สามะเณรา  อันว่าสามเณรทั้งหลาย  อะคาระวา  เป็นผู้มีความเคารพหามิได้ด้วย  อัปปะ  ติสสา  จะ  เป็นผู้มีความยำเกรงหามิได้ด้วย  นั่นเทียว  ภิกขูสุ  ในภิกษุทั้งหลาย  โหนติ  ย่อมเป็น  ภะคะวา  อันว่าพระผู้มีพระภาค  ณัตํวา  ทรงทราบแล้ว  อัตถัง  ซึ่งเนื้อความ  ตัง  นั้น  สันติกา  จากสำนัก  ภิกขูนังเอวะ  แห่งภิกษุทั้งหลายนั้นเทียว  อะนุญญาสิ  ทรงอนุญาตแล้ว  กาตุง  เพื่ออันกระทำ  ทัณฑะกัมมัง  ซึ่งทัณฑกรรม  สามะเณรัสสะ  แก่สามเณร  ปัญจังคิกัสสะ  ผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ( แปลรวบ  ภิกขูนัง  เอวะ  สันติกา  ตัง  อัตถัง  ญัตํวา  จะ  ทรงทราบแล้ว  ซึ่งเนื้อความนั่นจากสำนักแห่งภิกษุทั้งหลายเทียวนั้นด้วย  ปัญจังคิกัสสะ  ทัณฑกัมมัง  กาตุง  อะนุญญาสิ  จะ  ทรงอนุญาตแล้วเพื่ออันกระทำซึ่งทัณฑกรรมแก่สามเณร  ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ห้าด้วย)  มะยัง  อันว่าเราทั้งหลาย  ภะณามะ  เส  จงสวดซิ  สามะเณรานัง  ทัณฑะกัมมัง  การะณังคัง  ซึ่งองค์แห่งเหตุแห่งทัณฑกรรม  แห่งสามเณรทั้งหลาย ฯ
แปลโดยอรรถ
            ก็  สมัยนั้นแล  พวกสามเณร  เป็นผู้ไม่เคารพ  ไม่ยำเกรง  และมีความประพฤติไม่ถูกกันในภิกษุทั้งหลาย  พระผู้มีพระภาค  ทรงทราบเนื้อความนั้น  จากสำนักพวกภิกษุนั้นเอง  และจึงทรงอนุญาตเพื่อ (ให้)  กระทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕  ประการ  ขอพวกเราจงสวดองค์อันเป็นเหตุแห่งทัณฑกรรมสำหรับสามเณรทั้งหลายกัน ฯ
บทสวดที่ ๓
(ฑัณฑกรรม ๕)
            อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา, ปัญจะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัสสะ  สามะเณรัสสะ  ทัณฑะกัมมัง  กาตุง, กะตะเมหิ  ปัญจะหิ, ภิกขูนัง  อะลาภายะ  ปะริสักกาติ,  ภิกขูนัง  อะนัตถายะ  ปะริสักกะติ,  ภิกขูนัง  อะนาวาสายะ  ปะริสักกะติ,  ภิกขู  อักโกสะติ  ปะริภาสะติ , ภิกขู  ภิกขูหิ  เภเทติ,  อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา,  อิเมหิ  ปัญจะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัสสะ  สามะเณรัสสะ  ทัณฑะกัมมัง  กาตุนติ.
แปลโดยยกศัพท์
อะนุญญาสิ  โข   พระองค์เจ้าอนุญาตแล้วแล ภะคะวา  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ปัญจะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัสสะ   ผู้มาเนืองๆ  พร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลาย ๕  สามะเณรัสสะ  แก่สามเณร  ทัณฑะกัมมัง  ทัณฑกรรม  กาตุง  เพื่ออันทำ  กะตะเมหิ  ปัญจะหิเพื่อองค์ทั้งหลาย ๕ อย่าง ภิกขูนัง  อะลาภายะ  เพื่ออันไม่ให้ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย  ปะริสักกาติ  เธอตะเกียกตะกาย  ภิกขูนัง  อะนัตถายะ เพื่ออันไม่ให้เป็นประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย  ปะริสักกะติ เธอตะเกียกตะกาย   ภิกขูนัง  อะนาวาสายะ  เพื่ออันไม่ให้อยู่แห่งภิกษุทั้งหลาย  ปะริสักกะติ  เธอตะเกียกตะกาย  ภิกขู  ภิกษุทั้งหลาย   อักโกสะติ  เธอด่า  ปะริภาสะติ  เธอกล่าวขู่  ภิกขู    ทำภิกษุทั้งหลาย  ภิกขูหิ  จากภิกษุทั้งหลาย   เภเทติ  เธอให้แตก  อะนุญญาสิโข  พระองค์เจ้าอนุญาตแล้วแล  ภะคะวา  พระผู้มีพระภาคเจ้า  อิเมหิ  ปัญจะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัสสะ  ผู้มาเนืองๆพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้   สามะเณรัสสะ  แก่สามเณร  ทัณฑะกัมมัง  ทัณฑกรรม  กาตุง  เพื่ออันทำ  อิติ  ว่ากระนี้
แปลโดยอรรถ
          พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาต  เพื่อจะทำทัณฑกรรม  (ปรับโทษ)  แก่สามเณร  ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕  องค์  ๕  เป็นไฉน  คือ  สามเณร พากเพียรจะให้ภิกษุทั้งหลายเสื่อมจากลาภไม่ให้ได้ลาภ ๑  พากเพียรเพื่อกรรมใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย ๑  ด่าตัดพ้อภิกษุทั้งหลาย ๑  ให้ภิกษุทั้งหลายแตกร้าวจากภิกษุทั้งหลาย ๑  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอนุญาต  เพื่อจะทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
____________________________________________________________
(ต่อจากนี้มีการสวดมนต์บทต่างๆ  วันละมากบ้าง  น้อยบ้าง  พอสมควรแก่เวลา  หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป  แล้วกลับมาสวดคำสวดอะตีตะปัจจะเวกขะณะวิธี

กับคำสวดกรวดน้ำอิมินาเป็นบทสุดท้าย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น