วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระคาถา ( ชินะบัญชร )


พระคาถา ( ชินะบัญชร )
ของ    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต )
วัดระฆังโฆสิตาราม
ชะยาสะนากะตา  พุทธา     เชตะวา  มารัง   สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง  ระสัง                                  เย  ปิวิงสุ  นะราสะภา
ตัณหังกะราหะโย  พุทธา                              อัฎฐะวีสะติ   นายะกา
สัพเพ  ปะติฎฐิตา   มัยหัง                             มัตถะเก   เต  มุนิสสะรา
สีเส  ปะติฎฐิโต   มัยหัง                                พุทโธ  ธัมโม  ทะวิโรจะเน
สังโฆ   ปะติฎฐิโต   มัยหัง                            อุเร  สัพพะคุณากะโร
หะหะเย   เม  อะนุรุทโธ                               สารีปุตโต  จะ  ทักขิเณ
โกณฑัญโญ  ปิฎบิภาคัสมิง                          โมคคัลลาโน  จะ  วามะเก
ทักขิเณ  สะวะเน  มัยหัง                               อาสุง  อานันทะราหุโล
กัสสะโป  จะ  มะหานาโม                            อุภาสูง   วามะโสตะเก
เกเสนเต  ปิฎฐิภาคัสมิง                                 สุริโยวะ  ปะภังกะโร
นิสินโน  สิริสัมปันโน                                   โส  ภีโต  มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป  เกโร                                   มะเหสี  จิตตะวาทะโต
โส  มัยหง  วะหะเน   นิจจัง                          ปะติฎฐาสิ  คุณากะโร
ปุณโณ  อังคุลิมาโล  จะ                                อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา  ปัญจะ  อิเม  ชาตา                                นะลาเต  ติละกา  มะมะ
เสสาสีติ  มะหาเถรา                                      ชิตา  ชินะสาวะกา
เอเตสีติ   มหาเถรา                                         ชิตะวันโต  ชิโนระสา
ชะลันตา  สีละเตเชนะ                                   อังคะมังเคสุ  สัณฐิตา
ระตะนัง  ปุระโต  อาสิ                                  ทักขิเณ  เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง   ปัจฉะโต  อาสิ                              วาเม  อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ                                อาฎานาฏิยสุตตะกัง
อากาเส   ฉะทะนัง  อาสิ                                เสสา  ปาการะสัณฐิตา
ชินา  นานาพะละส่งยุตตา                             สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา                                   พาหิรัชญัตตุปัททะวา
อะเสสา  วินะยัง   ยันตุ                                  อะนันตะชินะเตชะสา
วาสะโต  เม  สะกิจเจนะ                               สะหา  สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชณัชณัมหิ                            วิหะรันตัง   มะหิตะเล
สะทา  ปาเลนตุ  หง  สัพเพ                           เต  มะหาปุริสาสะภา
            อิจเจวะมันโต  สุคุตโต  สุรักโข   ชินานุภาเวนะ   ชิตุปัททะโว    ธัมมานุภาเวนะ   ชิตาริสังโค   สังฆานุภาวนะ   ชิตันตะราโย  จะรามิ  สัทธัมมานุภาวะปาลิโตติ  ชินะปัญชะปะริตตัง  ฯ
คำแปลพระคาถาชินะบัญชร

พระพุทธเจ้าทั้งหลายใด  ผู้ไม่ต้องทำสายธนูและลูกศร   ก็ทรงชนะมาร   พร้อมทั้งพาหนะ    ทรงเป็นผู้เลิศในนรชน  คือ  สัจจะ  ๔  อันเลิศ  ฯ   พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  ๒๘  พระองค์   มีพระตัณหังกร  เป็นต้น   เป็นพระมุนีเจ้าผู้นำโลกทุกพระองค์   ประดิษฐ์อยู่บนกระหม่อมของข้าพเจ้า     พระธรรมเจ้าประดิษฐานอยู่ที่ตาทั้งสอง ฯ  พระสงฆเจ้า  ผู้เป็นอากรแห่งคุณทั้งปวง   ประดิษฐานอยู่ที่อุระประเทศของข้าพเจ้า  ฯ   พระอนุรุทธะ   ประดิษฐ์อยู่ที่หทัย  ฯ   พระสารีบุตร  ประดิษฐานอยู่  ณ  เบื้องขวา   ฯ   พระโกณฑัญญะประดิษฐานอยู่  ณ  เบื้องหลัง      พระโมคคัลลานะประดิษฐ์อยู่  ณ  เบื้องซ้าย  ฯ   พระอานนท์และพระราหุลประดิษฐานอยู่ ณ  หูขวาของข้าพเจ้า  ฯ   พระกัสสบและพระมหานามะทั้งสอง   ประดิษฐ์อยู่  ณ  หูซ้าย  ฯ    พระโสภิตะผู้ถึงพร้อมด้วยสิร   เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ   เพียงดังดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง   ประทับ  ณ  ทีสุดผมส่วนเบื้องหลัง  ฯ  พระกุมารกัสสปเถระ  ผู้มหาฤาษี  ผู้กล่าวคำอันวิจิตรเป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้น  ประดิษฐานอยู่ที่ปากข้องข้าพเจ้าเป็นนิตย์  ฯพระเถระ  ๕  พระองค์  ผู้มีคุณเด่นเหล่านี้   คือ  พระปุณณะ ๑   พระองคุลิมาล  ๑  พระอุบาลี  ๑  พระนันทา  ๑   พระสีวลี  ๑  อยู่ที่หน้าผากของข้าพเจ้า  ฯ   พระมหาเถระแปดสิบพระองค์ที่เหลือ  ผู้ชนะ  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า    ผู้ชนะรุ่งเรืองด้วยเดช   คือ  ศีล   สถิตอยู่ดี  ณ  อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย   ฯ  พระรัตนปริตรอยู่เบื้องหน้า  ฯ  พระองคุลิมาลปริตรรอยู่เบื้องซ้าย   พระธชัคคปริตรอยู่เบื้องหลัง   พระเมตตสุตตปริตรอยู่เบื้องขวา  ฯ   พระขันธปิตร   พระโมรปริตร   พระอาญานาฎิยสุตตปริตร  เป็นหลังคาเครื่องปิดกั้นในอากาศ   ฯ   พระปริตรที่เหลือสถิตมั่นเป็นกำแพง  ฯ  พระผู้ชนะทั้งหลาย   ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังต่างๆ  ประกอบเป็นกำแพงเจ็ดชั้น    อาพาธทั้งหลาย   เกิดจากลมและกำเริบเป็นต้น   อุปัทวะทั้งภายนอกภายใน  จงถึงความพินาศไปไม่เหลือด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า   ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด.
เมื่อข้าพเจ้ากล่าวบัญชรของพระสัมมาสัมพุทธพุทธเจ้าตามกิจของตนอยู่ทุกเมื่อ  ขอพระพุทธเจ้ามหาบุรุษผู้ประเสริฐเหล่านั้นทั้งหมด   จงอภิบาลรักษาข้าพเจ้าอยู่ในท่ามกลางแห่งบัญชร  คือวงเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลเพียงดังพื้นแผ่นดิน  ทุกเมื่อ.
พระชินะบัญชรมนต์คุ้มครองดี  รักษาดี  ด้วยประการฉะนี้  ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะอุปัทวะ  ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าผู้ชนะ  เป็นผู้ชนะหมู่ข้าศึกด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า   เป็นผู้อันอานุภาพแห่งพระธรรมอภิบาลรักษาแล้ว  ประพฤติอยู่เทอญ  ฯ
หมายเหตุ   นอกจากพระรัตนตรัยแล้ว  ยังมีพระตัณหังกร  พระอนุรุทธะ   พระสารีบุตร   พระโกณฑัญญะ  พระโมคคัลลานนะ  พระอานนท์  พระราหุล  พระกัสสป  พระมหานามะ   พระโสภิตะ  พระปุณณะ  พระองคุลิมาล   พระอุบาลี   พระนันทา  พระสีวลี   พระรัตนปริตร   พระขันธปริตร   พระโมรปริตร   พระอาฎานาฎิยะสุตตปริตร  พระมุนีฤาษีทั้งหลายทั้งปวง   ที่เชี่ยวชาญด้วยพระเวทย์.
พระสาวกของพระพุทธเจ้าที่กล่าวนามมาแล้วนี้  ล้วนแต่เป็น  “พระอรหันต์  ซึ่งมีตบะเดชาฤทธานุภาพสามารถที่จะทรมานสัตว์   และมนุษย์ที่มีจิตใตเป็นพาลสันดานหยาบ   ให้สำนึกในพระไตรสรณคมน์  และบางองค์มีอนุภาพในทางเมตตามหานิยม   ทรงบันดาลให้ปราศจากโรคภัย   สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์   บางพระองค์   มีพระสรีระร่างอันสิริโฉม  โน้มน้าวจิตใจผู้ที่กราบไหว้บูชาให้มีจิตเสน่หารักใคร่   บางพระองค์มีพระสรีระร่างอันแข็งแรง   อดทน   คงกระพันชาตรี   เป็นที่เกรงข่ามระย่นย่อต่อศัตรู   บางพระองค์   มีความกตัญญูกตเวทิตาคุณเป็นยอดเยี่ยม    พระอรหันต์เหล่านี้   ย่อมมีอนุภาพต่างๆ  กัน   ในตัวพระองค์   และเมื่อทูลอัญเชิญมาประดิษฐานในตัวของท่านผู้ใดแล้ว   ผู้นั้นก็จะได้รับอนุภาพต่างๆ   ตามที่พระองค์มีอยู่   กับคำแปลในพระคาถาชินะบัญชรนี้   ปรากฏว่าได้อัญเชิญพระพุทธเจ้า   และพระอรหันต์ทั้งปวง   เข้าประดิษฐานอยู่ประตำตัวเราทุกส่วน  ทั้งได้อัญเชิญให้มารักษาอยู่รอบกาย  จึงเป็นเสมือนกำแพงแก้วเจ็ดชั้น   ซึ่งคอยปัดเป่า   และสกัดกั้นศัตรูมิให้เข้ามาใกล้กราย   และทำอันตรายได้
ผู้ใดมีพระสมเด็จติดตัวไว้  และเจริญพระคาถาชินะบัญชรนี้  จะเกิดอภินิหาร  บังเกิดเมตตาในที่ต่างๆ บำบัดโรคภัยไข้เจ็บทุกอย่าง  บันดาลให้เกิดเสน่หามหานิยม  ป้องกันให้แคล้วคลาดสรรพทุกข์  สรรพโศกกันและแก้กฤยาคุณคน  คุณไสย์  และคุณภูติปิศาจทั้งมวล   สมบุรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารทั้งปวง
พระคาถาอันวิเศษนี้  เป็นพระคาถาที่เต้าพรคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)วัดระฆัง  ได้ใช้อยู่เป็นประจำตลอดพระชนมายุของท่าน    จนเรียกกันเป็นที่ติดปากว่าพรคาถาชินะบัญชร   ของสมเด็จพระพุฒจารย์(โต)วัดระฆัง    แท้จริงพระคาถานี้ได้มีมานานแล้ว   เท่าที่ค้นพบ  มีอยู่ในพระราชพิธีจักรพรรรดิราชาธิราช  สมัยอยุธยาพระคาถานี้   ผู้ใดพยายามท่องจำจนได้  และหมั่นสวดมนต์จำเริญภาวนาอยู่เสมอๆ   อย่างน้อยได้วันละ  ๑  จบจะบังเกิดลาภ  ยศ  สรรเสริญ  และเจริญชนมายุ   สำเร็จในสิ่งอันพึงปรารถนาอันชอบธรรม  สรรรพศัตรูทั้งหลาย   แพ้พ่ายกลายเป็นมิตร   สรรพอันตรายทั่วทุกทิศแคล้วคลาดปราศจากภัยพิบัติ   ทั้งยังสามารถใช้เสกน้ำมนต์  รดหรือประพรมแก้สรรพทุกข์โศกโรคภัยแก้คุณไสย์การกระทำทั้งสิ้น   แก้ร้ายให้กลายเป็นดี   ถ้ายิ่งหมั่นมีความอุตสาหะบริกรรม  ปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังอยู่เป็นนิจ  ก็จักเพิ่มพลูอานุภาพ  อิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ยิ่งๆ ขึ้นแล  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น