วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ติลักขะณาทิคาถา

ติลักขะณาทิคาถา
            สัพเพ  สังขารา  อะนิจจาติ                                     ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
            อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                                       เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
            สัพเพ  สังขารา  ทุกขาติ                                          ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
            อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                                       เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
            สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ                                         ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
            อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                                       เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
            อัปปะกา  เต  มะนุสเสสุ                                          เย  ชะนา  ปาระคามิโน
            อะถานัง  อิตะรา  ปะชา                                          ตีระเมวานุธาวะติ
            เย  จะ  โข  สัมมะทักขาเต                                       ธัมเม  ธัมมานุวัตติโน
            เต  ชะนา  ปาระเมสสันติ                                        มัจจุเธยยัง  สุทุตตะรัง
            กัณหัง  ธัมมัง  วิปปะหายะ                                     สุกกัง  ภาเวถะ  ปัณฑิโต
            โอกา  อะโนกะมาคัมมะ                                         วิเวเก  ยัตถะ  ทูระมัง
            ตัตํราภิระติมิจเฉยยะ                                                หิตํวา  กาเม  อะกิญจะโน
            ปะริโยทะเปยยะ  อัตตานัง                                      จิตตักํเลเสหิ  ปัณฑิโต
            เยสัง  สัมโพธิยังเคสุ                                                สัมมา  จิตตัง  สุภาวิตัง
            อาทานะปะฎินิสสัคเค                                             อะนุปาทายะ  เย  ระตา

            ขีณาสะวา  ชุติมันโต                                                เต  โลเก  ปะรินิพพุตาติ ฯ


ติลักขะณาทิคาถา 

สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ, 
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง 

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ 
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เขาอิ่มแล้ว-เขาพอแล้วในทุกข์ การเห็นว่ามันไม่เที่ยง พร้อมด้วยการเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจดจากกิเลส เป็นทางดับทุกข์ สิ้นสุดแห่งทุกข์ 

สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ, 
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญา ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ 

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ 
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เขาอิ่มแล้ว - เขาพอแล้วในความทุกข์ การเห็นว่ามันทนได้ยาก เต็มไปด้วยทุกข์ พร้อมทั้งความเบื่อหน่าย นี้เป็นทางแห่งความหมดจดจากกิเลส เป็นทางดับทุกข์ สิ้นสุดแห่งทุกข์ 

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ, 
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญา ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา, 

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ฯ 
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เขาอิ่มแล้ว-เขาพอแล้วในความทุกข์, การเห็นว่าแท้จริงตัวตนก็มีเพียงสมมุติ, ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีตนและไม่มีในของๆ ตน, เห็นพร้อมทั้งความเบื่อหน่ายอย่างนี้, นี้เป็นทางแห่งความหมดจดจากกิเลส เป็นทางดับทุกข์ ทางไปสิ้นสุดแห่งทุกข์ 

อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน 
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งพระนิพพาน มีน้อยนัก 

อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ ฯ 
หมู่มนุษย์นอกนั้น ย่อมวิ่งเลาะไปตามฝั่งของสักกายทิฏฐิ อยู่นั่นเทียว 

เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน 
ก็ชนเหล่าใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว 

เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง ฯ 
ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่งคือพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราช ล่วงพ้นวัฏสงสาร อันเป็นที่ตั้งของกิเลสมาร ที่บุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก นั้นไปได้ ฯ 

กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต 
จงเป็นบัณฑิตละธรรมอันดำนั้นเสีย แล้วเจริญธรรมขาว คือ กุศลธรรมมากขึ้น 

โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวกะ ยัตถะ ทูระมัง, ตัตราภิระติมิจเฉยยะ หิตวา กาเม อะกิญจะโน 
จงละกาม ออกจากกามทั้งหลาย ออกจากตัณหา ละความอยาก-ความอาลัย เป็นผู้ไม่มีความกังวล ยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันสงัดวิเวก วิเวกกาย วิเวกจิต วิเวกจากกิเลส จากอุปาทาน ที่ใครยินดีโดยยากนั้น 

ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง จิตตักเลเสหิ ปัณฑิโต 
บัณฑิตควรทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย 

เยสัง สัมโพธิยังเคสุ สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง 
อาทานะปะฏินิสสัเค อนุปาทายะ เย ระตา 
ขีณาสะวา ชุติมันโต เต โลเก ปะรินิพพุตตาติ ฯ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น