วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

้เรื่องหลวงพ่อทวด ๑

คำปรารภ 
ของ
 
พระครูวิสัยโสภณ ( อาจารย์ทิม ธมมธโร )
...........................................................หนังสือตำนานเกี่ยวกับชีวะประวัติ
           
ของ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด " ประวัติการสร้างพระเครื่อง และคุณอภินิหารพระเครื่อง  สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  ได้จัดพิมพ์มาหลายครั้ง  และจัดพิมพ์กันเล่มละครั้ง  จึงบางเล่มก็มีข้อความที่ซ้ำกันเป็นบางตอน  บางเล่มก็ไม่มีข้อความที่เล่มอื่นมี  จึงในการจัดพิมพ์ครั้งนี้  อาตมาได้ประมวลเหตุการณืฃ์และข้อความทั้งหมดที่กล่าวไว้แล้ว  มาจัดพิมพ์เป็นเล่มเดียวกัน  ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่เคารพนับถือ สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด "  ทุกท่านที่สนใจใคร่จะทราบตำนานชีวะประวัติ  และคุณอภินิหาร  พระเครื่อง  หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  
อนึ่ง  ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้อาตมาได้คัดาเนา  หนังสือพงศาวดารจากเทศาภิบาล  เล่มที่๓-๔  สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า  ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา  และยอเข้าตำราหมื่นตรา  พระธรรม  วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง  มาลงไว้บางตอน
                      ( 
หนังสือที่อ้างถึงนี้กล่าวไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อทวดทั้งนั้น)    ฉนั้นจึงจัดมาลงไว้แต่ตอนที่เห็นสมควรเท่านั้นเพื่อผู้ที่สนใจได้ศึกษา และในการจัดพิมพ์ตรงตามตัวหนังสือของต้นฉบับเดิมทุกตัวอักษร  มิด้เปลี่ยนแปลงประการใด  ทั้งนั้นเพื่อเป็นการทรงไว้ซึ่งคุณค่าของ " พระราชพงศาวดาร "
            
อาตมาของเชิญ  ดวงวิญญาณขององค์  " สมเด็จหลวงพ่อทวด "  ซึ่งสถิตย์อยู่    ทิพย์สถานพิมานใด   จงได้โปรดคุ้มครองป้องกันประเทศชาติให้ปลอดจากสรรพยันตรายทั้งปวง  และได้โปรดบันดาลความสุขความเจริญให้แก่ทุกๆท่านด้วยเถิด

จากเทศาภิบาลเล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖
สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า   ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปหา
ยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรรม
วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง

        แลครั้งเกิดสมเด็จเจ้าพระราชมุนีมีบุญ  แลได้พระพุทธศักราช  ๙๙o  ฉลูสัมฤทธิศก  เมื่อเกิดแม่นั้นเป็นทรพล  เอาไปนาแลผูกเปลไว้    ต้นไม้หว้า   แลงูตระบองสลาขึ้นมาอยู่    บนเปลนั้น  แลแม่นั้นขึ้นมาจะกินน้ำ  แม่นั้นเห็นงูซึ่งขดพันอยู่    บนเปลนั้นก็ตระหนกตกใจกลัวจึงร้องเรียกวุ่นวายว่าตาหูเอ้ยๆว่าลูกกูตายแล้ว  ว่างูตะบองสลาขึ้นพันอยู่ ณ บนเปล  แลจึงตาหูก็แล่นมาดูลูกอ่อนก็ยังเป็นอยู่  แลจึงตาหูนั้นก็ให้ขอเข้า 
(ข้าวแต่ในหนังสือเขียนว่าเข้า) ตอกดอกไม้  ให้เอามานมัสการแก่เทพารักษ์ จึงงูนั้นก็เลื้อยไป  แลจึงพ่อแม่แลเพื่อนนานนั้นก็เข้าไปดูกุมาร    ดปลนั้น  ก็เห็นแก้วใบหนึ่ง  จึงพ่อก็เอาไว้สำหรับกุมารนั้นแล้ว   อยู่มากุมารนั้นก็ค่อยจำเริญอายุสถาพรแล้ว  แลบิดาก็นำเอาไปบวชไว้    วัดกุฎีหลวงซึ่งสมเด็จพระจวงอยู่นั้น   แล้วก็ให้ชื่อเณรปู   แลชีต้นก็ให้ร่ำเรียนนโม     แลขอมไท   จบแล้วจึงเรียนธรรมบททศชาติ  สมเด็จพระชินเสน    วัดศรีกูญัง  จบธรรมบททศชาติแล้วเป็นเวลาช้านาน   แล้วเข้าไปเมื่อนครศรีธรรมราชนั้น  อยู่ร่ำเรียนเป็นหลายปีครบอายุยี่สิบเอ็ด   แลพระขุนลกก็รับเอาเจ้าเณรปูไปศู่สำนัก  พนะเณรปิยทสสีนั้น   เรียนว่าจะบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุ  แลจึงพระมหาเณรนั้นก็คิดด้วยสงฆ์ในอาราม  ว่าพัทธสิมา  อุทกสิมา  หามิได้  แลจึงให้พระขุนลกจัดหาเรือมาดตะเคียนลำ ๑ มาด พยอมลำ ๑ มาด  ยางลำ ๑ มาด  เอามาขนาน ณ  คลองน่าท่าเรือแล้ว แลพระขุนลกแลญาติพี่น้องก็แต่งสบงจีวรครบด้วยธูปเทียน  แล้วเจ้าปู่ไปสู่พระมหาเณรปิยทสสีเป็นอุปัชฌา จารย์  แลพระมหาเณรพุทธสาครเป็นกรรมวาจา     แลพระมหาเณรศรีรัตนเป็นอนุ   แลบวชเจ้าเณรปู่เป็นภิกขุแล้ว   จึงพระมหาปิยทสสีก็ให้นามชื่อเจ้าสามิราม  แล้วให้อยู่ตามกิจสงฆ์และร่ำเรียนธรรมสืบไปเป็นช้านาน แลยังมีเรือเจ้าสเภาอิน  (เจ้าสำเภาในหนังสือเขียนเจ้าสเภา)  จะเข้ากรุงเทพมหานคร  จึงเจ้าสามิรามไปถามเจ้าสเภาอินว่าจะโดยสารเรือเข้าไปด้วย   จึงเจ้าสเภาอินก็ถามว่าซึ่งเจ้าสามิจะไปนี้ประสงค์แก่อันใด   แลบาทเจ้าว่าจะไปเรียนธรรม  แลเจ้าสเภาอินก็โมทนาขอนิมนต์พระเจ้าไป  และจึงเจ้าสามิรามก็กลับมาลาชีต้นทั้งสามองค์นั้น   แล้วก็ไปด้วยเจ้าสเภาก็ใช้ใบเรือไปแล  ครั้นถึงกลางทะเลเป็นปัจจุบันกาลเรือนั้นก็ต้องพายุ  แลครั้นสงบพายุใหญ่เจ็ดวันเจ็ดคืน จึงเจ้าสเภาก็ขึ้งโกรธว่าตาชีนี้มาจึงเรือต้องพยุ(พายุ)    แลครั้นสงบพยุแล้วจึงเจ้าสามิก็ลงไป    เรือสัดจอง   จึงเอาเท้าข้างซ้ายเป็นทู่นั้นแช่ลง    น้ำๆนั้นก็จืด   แลจึงสามิก็อาบน้ำนั้น  จึงเจ้าสเภาก็ถามว่าลงอาบน้ำนั้นเค็มหรือจืด   จึงบาทเจ้าก็ว่าจืดแลบาทเจ้าก็ตักกระบวยตักน้ำมายื่นให้แก่เจ้าสเภา จึงเจ้าสเภาก็รับเอาชิมดูน้ำนั้นก็จืด  แลเจ้าสเภาก็ให้ลูกเรือทั้งนั้นตักใส่โอ่งฉางอ่างตุ่ม  จึงเจ้าสเภาก็ยินดีเอาเป็นชีต้นปฏิบัติรักษาแล้วก็ใช้เรือไป
                                            ครั้งเมื่อไปถึงเมืองศรีอยุธยา  จึงเจ้าสเภาก็ไปถามให้อาไศรย  (อาศัย )    วัดแค  แลเจ้าสามิก็อาไศรย  (อาศัย )อยู่ที่นั้น   แลเจ้าสเภาอินจะกลับมาเมืองนคร   จึงเจ้าสเภาก็เอาอ้ายจันผู้ทาษ (ทาส )  ค่าเป็นเงินตำลึงให้รักษาเจ้าสามิราม  แลเจ้าสเภาก็กลับมาที่เมืองนครแล   แลจึงบาทเจ้าก็ไปเรียนธรรม            วัดลุมพลีนาวาดช้านาน    แลอยู่มามีประเทศเอาพระธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์เขียนใส่แผ่นทองเท่าใบมะขาม  ใส่หม้อ   เอามาทายเปนปฤษณา ( ปริศนา ) ให้แปลก็แปลได้ไซ้จะถวายสิ่งของทั้งลำสเภานั้นแล  จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งชุมนุมสงฆ์ทั้งหลาย   ทั้งเมืองกรุงศรีอยุธยานั้นแล  จึงพระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย   ก็ไปชุมนุมตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั่นแล   พระสงฆ์ทั้งหลายประดับมิได้  จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่               ขุนศรีทนนไชย   ให้ป่าวพระสงฆ์อันมาแต่เมืองนอกขัณฑเสมาประจันตประเทศ   จึงสงฆ์ทั้งปวงอันมาแต่เมืองข้างนอกทั้งนั้นให้สิ้นเสร็จ    จึงขุนศรีทนนไชยก็ไปนิมนต์พระรามเข้าไป    ที่ชุมนุม   จึงสัปรุษย์จันตักน้ำมาล้างตีนบาทเจ้าพระรามก็เหฦนเป็นประหลาด   ซึ่งเหยียบศิลาอันลุ่ม   จึงสัปรุษย์จันก็เอาด้าย  เจาะชายจีวรแล้ว   แลขุนศรีทนนไชยก็ผายๆกูจะเอาพระราม(หลวงปู่ทวด)เข้าไป   แลพระบาทรามก็คลานเข้าไปถึงอาจารย์   จึงพระรามก็นั่งลงแล้วไหว้อาจารย์   จึงราชทูตทั้ง๗คนก็ว่าเอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปฤษณา (ปริศนา )ก็บอกแก่อาจารย์ว่าให้กรมการกฎหมายไว้   แล้วพระรามก็ว่าแก้คำราชทูต  ว่ากุมารเมื่อออกแต่ครรภ์พระมารดากี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ   กี่เดือนจึงรู้นั่ง   กี่วันจึงรู้คลาน  จึงผู้รู้หลักนั้นว่าเราจะแก้มิได้   จึงบาทเจ้ารามก็ถามราชทูตว่า  รู้คว่ำแก่หรือว่ารู้คลานแก่จึงราชทูตก็ว่าแก้คำพระรามนั้นมิได้   ก็แพ้พระรามนั้นแล
                    จึงพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว  ก็ให้เอาเตียงทองมารองรับ   ให้ราชทูตเอาอักษรอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์มากองเป็นเจ็ดกอง  จึงพระรามก็เอาอักษรมาประดับ   จึงได้เป็นแถวแนวทั้งเจ็ดคัมภีร์   จึงพระรามนักปราชว่ายังขาดอักษรเจ็ดตัวจะครบ   จึงราชทูตก็ว่ามีแต่เท่านั้นแล  พระรามก็ว่าแก่ราชทูตให้ทำทานบนเข้าต่อกันเล่า    ราชทูตมิสู้ทำแลจึงราชทูตก็ถามว่ายังขาดตัวใด   จึงพระรามก็ว่าสังตัวหนึ่ง  ตัววิตัวหนึ่ง  ตัวทาตัวหนึ่ง  ปุตัวหนึ่ง  กะตัวหนึ่ง  ดะตัวหนึ่ง ญะตัวหนึ่ง  จึงราชทูตก็เอาอักษรเจ็ดตัวออกมาแต่มวยผมมหาพราหมณ์   มายื่นให้แก่พระราม  แล้วราชทูตก็ขอแพ้แก่พระรามเป็นสองท่า  จึงราชทูตก็กราบไว้นมัสการแก่พระราม   แล้วก็ยกเอาเครื่องสิ่งของ    สเภา  ซึ่งราชทูตเอามานั้น  ถวายแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ให้ปลูกกุฎีถวายแก่พระรามนักปราชแล้วถวายเมืองท่อนหนึ่ง   พระรามก็รับครองแต่สามวัน  แล้วก็คืนให้แก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเล่า ให้ครองอยู่ตามเก่านั้น  จึงพระรามก็คืดด้วยขุนศรีทนนไชย  สิ่งใดซึ่งยากแค้นแก่ไพร่แผ่นดิน  แลขุนศรีทนนไชยก็นิมนต์พระรามเข้าไปในวัง  ถวายพระพรพระราชกุศลแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว  มีพระราชโองการตรัสถามพระรามนักปราช   ว่าเข้ามานี้ประสงค์แก่อันใด   จึงพระรามนักปราชขอพระราชทาน   ข้าส่วยหลวงซึ่งยากแค้น  แล้วเห็นวัดราชประดิษฐาน  จะขอพระราชทานสร้างพระอาราม  อย่าให้ส่วยหลวงเข้าในพระคลังแต่นี้ไปเมื่อน่า   จึงมีพระราชทานโปรดให้   แลตรัสใช้นายสามแลจอมขุนอินปัญญาออกไป      เอาสารบาญชีเบิกค่าส่วยไว้ให้เป็นค่าพระตาม  ซึ่งพระรามนักปราชขอพระราชทานนั้น  จึงนายสามจอมและขุนอินปัญญาก็เอาสารบาญเข้าไปทูลเกล้า  ทูลกระหม่อมถวายเป็นข้าพระนั้น ๓๐๐ หัวงานมีเลศ
  ผูกไว้ให้เป็นข้าพระศรีรัตนมหาธาตุในวัดพระราชประดิษฐาน   จึงมีพระบรมราชโองการตรัสให้ขุนศรีทนนไชยให้นิมนต์พระรามนักปราชเข้าไปในพระราชวัง   จึงมีพระราชโองการศรัทธาให้ทำเป็นกัลปนาอุทิศไว้ยกญาติโยมบ่าวไพร่ไร่นาดินป่าบูชาเทศนาธรรมเทศนา  ให้แก่พระรามนักปราชแล้ว  แลมีพระราชโองการตรัสว่า    เราจะกรวดน้ำคณทีเงินทองเห็นว่ามิแตก  จึงตรัสให้เอาคณทีกระเบื้องให้แตกที่เดียว  แล้วแลมีพระเราชโองการสาบานไว้ว่า   ถ้าผู้ใดแลลเมิด(แลละเมิด) พระบัณฑูรเบียดเบียนข้าพระคนทานไปใช้   ใหผู้นั้นตกนรกหมกไหม้   ได้ทุกขนิรันดร์   อย่าได้ทัน พระพุทธ  พระธรรม์ พระจันทร์   พระอาทิตย์  แลพระสงฆ์เจ้าสักชาติ  อย่ารู้คลาศอปราไชยในชั่วนี้ชั่วหน้า  ต้องสัจจาอษิฐานพระมหากษัตรย์เจ้าสาบาลไว้ทั้ง ๕๐๐๐ พระพรรษาแต่นี้เมื่อน่า  แลในท้องพระตำรานั้น  ให้ห้ามเจ้าพระตำรานั้น   ให้ห้ามเจ้าพระยาแลสัสดีเมืองพัทลุงอย่าให้ใช้ข้าพระ  ณ วัดพระราชประดิษฐาน ลงเรือรบเรือไล่รักษาค่ายตัดหนังวังช้างส่งข่าวแลลงพ่วงรอ  แลงานสรรพมาตราทั้งปวง  งวดคราวสารพิไลย  เก็บโคกระบือทอดพริกทอดฝายทำนาที่ใต้กำแพงเมือง  ทำรั้วทำเรือนเจ้าเมืองแลข้าหลวง อย่าให้เบียดเอาค่าน้ำค่านา  อากรขนอนตลาดหัวป่าค่าที่เชิงเรือน  เก็บเรือแลเครื่องเรืองานสรรพมาตราแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด  แลให้คงอยู่ตามพระตำราพระราชอุทิศไว้นั้นแลพระรามนักปราชให้มหาเณรศรีผู้น้อง   คุมสมุทบัญชีหัวงานข้าพระ   ซึ่งพระราชอุทิศไว้ให้เป็นค่าพระแบให้ไว้รักษาให้ไว้รักษาวัดพระราชประดิษฐานแลทำพระมาลิกเจดีย์    วัดพระราชประดิษฐานนั้น  สูงเส้นห้าวามีเสศ(เศษ)  แลมีพระห้องรอบตามราชจำนงแต่ครั้งองค์พระเจ้ารามาธิบดีเสวยราชสมบัติ   พระราชทานให้ข้าหลวงจ่าพรหมานออกมาบำรุงช่วยพระมหาเถรศรีผู้น้องพระรามนักปราชนั้น  ให้ข้าหลวงแต่งสเภาปากสามวาศอก  บรรทุกอิฐแลยอดพระมาลิกเจดียพระมหาธาตุออกมาแต่เมืองศรีอยุธยา  แลให้นายจัน  พี่สมเด็จเจ้าพระรามนักปราชถือยอดพระ  ซึ่งหล่อด้วยเบญจโลห  ยาวสามวาสามคืบ   แลยอดพระนั้นมีพระราชทานโปรดแต่งให้ออกมาแต่พระราชมณเฑียร   แลเครื่องประดับประดายอดพระนั้น  พระราชทานแต่งออกมาแต่คลังหลวงแลซึ่งพระราชทานไว้ให้เป็นข้าคนทานรักษาสืบๆ กันไปแต่นี้ เมื่อน่าไว้รักษาพระศรีรัตนมหาธาตุ ๕๐  รักษาพระธรรมศาลา ๒๐ รักษาอุโบสถ ๒๐ แต่นี้ไปเมื่อน่า


 คัดลอกจากหนังสือเรื่องประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดและคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ  วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่  อำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี   พิมพ์ครั้งที่๖  จำนวน 20,000เล่ม  พ.ศ.2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น