วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

เรื่องหลวงพ่อทวด ๔

"เรื่อง  หลวงพ่อทวด"
เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย  เล่าลือกันมาว่าทุกๆสมัย  เกิดมีพระภิกษูสงฆ์ทรงสมณศํกดิ์ชั้นสมเด็จมาถึง ๔ องค์ด้วยกันคือ

                                 ๑.สมเด็จเจ้าเกาะยอ
                                 ๒.สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
                                 ๓.สมเด็จเจ้าจอมทอง
                                 ๔.สมเด็จเจ้าพะโคะ
               
              แต่หนังสือนี้   ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง  ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์   จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี   และกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ  ชาตะ วันศุกร์  เดือน ๔ ปีมะโรง  ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕  บิดาชื่อหู  มารดาชื่อจันทร์  มีอายุมากแล้วจึงคลอกบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่   และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์  ตำบลชุมพล  เมืองจะทิ้งพระ  ( อ.จะทิ้งพระ จ.สงขลา  เวลานี้ )
               ตาหู  นางจันทร์เป็นคนยากจน   ได้อาศัยอยู่กับคฤหบดีผู้หนึ่งไม่ปรากฏนาม  สองสามีภริยาเป็นผู้มั่นอยู่ในศีลธรรม  เมื่อนางจันทร์อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา  เพื่อช่วยเก็บเกี่ยวข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย   ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้าหว้าซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กัน  ได้เหลียวมามองที่เปล  ปรากฏว่ามีงูบองตัวโตผิดปรกติ   ได้ขดตัวรอบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน  สองสามีภริยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้น  เพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันมาดู   แต่ก็ไม่มีใครสามารถจะช่วยอะไรได้  งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้นส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัว  จึงไม่มีใครเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
             ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้มั่นอยู่ในบุญกุศล  ยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่  ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมได้ทำอันตรายแก่เด็กบุตรน้อยของตนเลย   จึงเกิดความสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตบันดาล  คิดดังนั้นก็พากันหาดอกไม้   และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชา  และกราบไหว้งูใหญ่  พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐาน  ขอให้ลูกน้อยปลอดภัย   ในชั่วครูนั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำออกจากเปล  อันตรธานหายไปทันที  นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูมารกที่ในเปล  ปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติอยู่  แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในลุ่มลูกกระเดือก  แก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี  สองสามีภริยาจึงเก็บรักษาไว้  คหบดีเจ้าของบ้านทราบความ  จึงขอแก้วดวงนี้ไว้เป็นกรรมสิทธิ์  ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้น  เมื่อได้แก้วพระยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วก็รู้สึกพอใจ   ต่อมาไม่นานได้เกิดวิปริต  ให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดี   และครอบครัวอย่างรุนแรงผิดปรกติจนไม่มีทางแก้ไขได้จนถึงที่สุด  คหบดีเจ้าของบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คงจะเป็นเพราะยึดเอาดวงแก้วพระยางูไว้จึงให้โทษ  และเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่งๆ ขึ้นจึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภริยากลับคืนไป  ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคฤหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ  ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้น  ปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก  การทำมาหากินเลี้ยงชีพก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ  อยู่สุขสบายตลอดมา
                        เมื่อกาลล่วงนานมาจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี  บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ      วัดดีหลวงเด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใดๆ  เมื่อเด็กชายปู่มอายุ ๑๕ ปี  สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร  ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่านพระครูสัทธรรมรังษี  ให้เรียนหนังสือมูลกัจจายน์    วัดสีหยัง ( วัดสีคูยัง  อ.รโนต  เวลานี้ )
                       สามเณรปู่เรียนมูลกัจจายน์  อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังษี   ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยา  ให้เป็นครูสอนวิชามูลฯ   ทางหัวเมืองฝ่ายใต้สมัยนั้น  มีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมา  สามเณรปู่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด   ไดศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ   อยู่ไม่นานก็สำเร็จ  เป็นที่ชื่นชมของพระอาจารย์เป็นอย่างมาก
                       เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้ว  ได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อสำนักพระครูกาเดิม    วัดสีมาเมือง  เมืองนครศรีธรรมราช  เมื่อครบอายุบวช  พระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์ จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธศาสนา  ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า  "  สามีราโม " ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่ง  โดยเอาเรือ  ๔ ลำ   มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ  ต่อมาคลองแห่งนั้น   มีชื่อเรียกว่าคลองท่าแพจาบัดนี้
                       พระภิกษุปู่เรียนธรรมอยู่สำนักครูกาเดิม ๓ ปี ก็จบชั้นธรรมบทบริบูรณ์  พระภิกษุได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมาเมืองกลับภูมิลำเนาเดิม  ต่อมาได้ขอโดยสารเรือนายอินทร์   ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระไปกรุงศรีอยุทธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเรียนธรรมเพิ่มเติมอีก  เรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราชนายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบก  ไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณี  ของชาวเรือเดินทางไกล  ซึ่งได้ปฎิบัติกันมาแต่กาลก่อนฯ  เพื่อขอสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันมาลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ  เรือสำเภาใช้ใบออกสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓  วัน ๓ คืน    จนพายุร้ายสงบเงียบลงเป็นปกติ  แต่เหตุการณ์บนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมาก  เพราะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง  คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้น  หาว่าเป็นเพราะพระภิกษูปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุร้าย ซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย  ผู้บันดาลโทษะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใด  นายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น  เขาจึงได้ไล่พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่ง  หมายจะปล่อยท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ได้ลงนั่งอยู่ในเรือเล็ก  ท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู  ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท  ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบ  พวกกะลาสีบนเรือใหญ่  จึงชวนกันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหายพากันอัศจรรย์   ในอภินิหารของพระภิกษุปู่องค์นี้ยิ่งนักความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือ จึงได้ดื่มน้ำนั้นพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่จืดนั้น  มีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียน นอกนั้นเป็นน้ำทะเลเค็มตามธรรมชาติของน้ำทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้น  ขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม  นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้น  ก็เกิดความหวาดวิตกภัยพิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่าน  จึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่  แล้วพากันกราบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้ว  และถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
                   ขณะเรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้ว  นายอินทร์ได้นิมนต์น ให้ท่านเข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง  ท่านปรารถนาจะอยู่ ณ  วัดนอกเมือง  เพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดี  และได้ไปอาศัยอยู่ ณ วัดราชานุราช  ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศีอยุธยา
                   ในสมัยนั้น  ประเทศลังกาอันมพระเจ้าวัฎฎะคามินีครองราชเป็นแผ่นดิน  มีพระประสงค์จะได้ครองศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ   แต่พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ  แต่พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดรบราฆ่าฟันกันและกัน  ให้ประชาชนข้าแผ่นดินเดือดร้อน  จึงมีนโยบายอีกอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการท้าพนัน   พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวง  มอบให้แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด  แล้วมอบให้แก่พราหมณ์ผู้เฒ่า ๗ คน  พร้อมด้วยพระราชสาสน์ให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุงศรีอยุธยาเรียบรอยแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาถวายสาสน์
                สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาสน์ความว่า  พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบเรียงตามลำดับให้เสร็จภายใน  ๗  วันถ้าแปลและเรียบเรียงตามกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอถวายข้าวของอันมีค่าทั้ง  ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย  แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนด  ให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปี ตลอดไป
                     เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาสน์  อันมีข้อความดังนั้น  จึงทรงสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการี  เขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะ  และพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนดเมื่อได้ประกาศไปแล้ว ๖ วัน  ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้  พระองค์ทรงวิปริวิตกเป็นยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่า มีพระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตก  ขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวัง  ได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ  ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้น  และทรงวิปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสียอธิปไตย  และเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพ  ทรงพระวิตกกังวลไม่เป็นอันจะบรรทมจนรุ่งสาง
                     เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรง  สั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าด่วน  และทรงเล่าพระสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนาย  เพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด  เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว  ก็พร้อมกันกราบทูลถวายบังคมทูลว่า  ตามพระสุบินนิมิตนี้  จะมีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ  พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศ  เมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาสน์ความว่า   พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบเรียงตามลำดับให้เสร็จภายใน  ๗  วัน  ถ้าแปลและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอถวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย  แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนด  ให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นเครื่องบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปี ตลอดไป
            เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาสน์   อันมีข้อความดังนั้น  จึงสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการี  เขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะ   และภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศนิมนต์พระราชาคณะ  และพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนดเมื่อได้ประกาศไปแล้ว ๖ วัน  ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้  พระองค์ทรงปริวิตกเป็นยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่า  มีพระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตก  ขึ้นยืนอยู่บนแท่นในพระบรมมหาราชวัง   ได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ  ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้น    และทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสียอธิปไตย  และเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพ ทรงพระวิตกกังวลไม่เป็นอันจะบรรทมจนรุ่งสาง
            เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรง   สั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วน   และทรงเล่าพระสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนาย   เพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด  เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว  ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมว่า  ตามพระสุบินนิมิตนี้  จะมีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลธรรมได้สำเร็จ  พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศ  เมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้น  บังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัดราชานุวาส   ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม  แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ   พระภิกษุปู่ตอบว่า  ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้    ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าฝ้า ณ  ที่ประชุมสงฆ์  ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าพระวิหาร  ท่านย่างเท้าก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกปนสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก  เมื่อข้าไปในพระวิหารพระมหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรหม (พรมแต่ในหนังสือเขียนพรหม )  ให้ท่านนั่งในที่อันสมควร  แต่ก่อนท่านจะเขานั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นเป็นปัญหาธรรม  ต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง ๗ กล่าวคือ  ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์   แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรง  แล้วกะเถิบไปข้างหน้า ๕ ที  แล้วลุกขึ้นเดินเขาไปนั่งในที่อันสมควร  พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง ๗  เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า   นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา  อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา  พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง  ท่านจึงหัวเราะ  แล้วถามพราหมณ์ว่า  ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน  ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาอาการเช่นนี้บ้างหรือ?  พราหมณ์เฒ่าต่างฉงนใจก็นิ่งอยู่ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
      เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคนของจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบอธิษฐานในใจว่า  ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์  และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน  และอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้ง  ขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง  ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์  สำเร็จสมปรารถนาเถิด  ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตรเททองเรี่ยราดลงบนพรม  และนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
            ด้วยอำนาจบารมีอภินิหารของท่าน  ที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับโชคชะตาของประทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย  เทพยเจ้าทั้งหลายจึงดลบันดาล  เรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบร้อยในเวลานั้น  ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษร   ในเมล็ดทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด  เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย   นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป
      ขณะที่พระภิกษุปู่เรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอีกษรขาดหายไป ๗ ตัว  คือตัว ส  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง ๗ คนยอมจำนน  จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านโดยดี  ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำเสร็จบริบูรณ์  เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น  และทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงดนตรีปี่พาทย์ประโคม  พร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหว  ทั่วพระนครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย
            สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง  จึงทรงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง ๗ วัน  แต่ท่านไม่ยอมรับ  โดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่ครองราชย์สมบัติ  อันผิดกิจของสมณควรประพฤติ  พระองค์ก็จนพระทัย  แต่ประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีและความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ดำรงสมณศักดิ์  ทรงพระราชทานนามว่า  พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  ในเวลานั้น
            พระภิกษุปู่ หรือราชมุนีสามีรามคุณูปามาจารย์ได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุราช  ศึกษาและปฎิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปีด้วย ความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
            กาลนานมาปีหนึ่ง  ในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรงเช่นอภิวาตดโรค  ประชาราษฏรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก  ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก  สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย  พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวนมาก  เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้   และทรงระลึกถึงพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านเข้ามาเฝ้าทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญ   ด้วยโรคระบาดอยู่ขณะนี้  ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์  ด้วยโรคระบาดอยู่ขณะนี้   ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพุทธมนต์   แล้วนำไปประพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร   ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความล่มเย็นเป็นสุขตลอดมา   ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก  ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ทานอย่างยิ่ง  วันหนึ่งได้ตรัสปรารภกับท่านว่า  ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งใด  ขอนิมนต์แจ้งให้ทราบความปรารภนานั้นๆ จะทรงพระราชทานถวาย  ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย
            การล่วงมานานประมาณว่า  พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว   วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม  วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม  ได้พระราชอนุญาตตามตามความปรารภนาของท่าน
            เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  กลับภูมิลำเนาเดิม  ครั้งนั้นปรากฏมีหลักฐานว่าไว้ว่า ท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน  จึงถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  ตามแนวทางที่ท่านเดินและพักแรมที่ใด  ต่อมาภายหลังสถานที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์   ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้  คือ  ปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฎิในอำเภอปากพนัง  ภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใสท่านอยู่มาก   จึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนิน  ตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ระลึก  รอบๆเนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนิน  และสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้
            เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัวไทรในเวลานี้  เป็นสถานที่มีหาดทรายขาว  ต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่นเย็นสบาย  ท่านจึงพักแรมอาศัยใต้ต้นลำภูนั้น  ทำสมาธิวิปัสสนา  ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชา  และฟังท่านแสดงธรรมอันเป็นหลักควรปฎิบัติของพระพุทธศาสนา  ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้า  จึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้นหลังหนึ่ง และท่านได้จากสถานที่นี้ไปแล้ว  ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิดเป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์  ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและถิ่นใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำพิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่าน  ถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆวันพฤหัส  เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้
            เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่ท่านได้หยุดพักแรมพอหายเหนี่อยล้า  แล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  หลังจากที่ท่านได้จากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏมาจนบัดนี้
            พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตครั้งนี้  ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่  ประชาชนได้พร้อมกันขนามนามว่าท่านขึ้นใหม่ว่า-
 สมเด็จพะโคะ ”  ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้  ต่อมาวัดพัทธวิงห์บรรพตพะโคะ  อันเป็นชื่อเมก็ถูกเรียกย่อ ๆ เสียใหม่ ว่าวัด “พะโคะ ”  จนบัดนี้
            ตามตำนานกล่าวไว้ว่า  วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้  มีพระอรหันต์ ๓ องค์ เป็นผู้สร้างคือ
                        ๑.พระนาไรมุ้ย
                        ๒.พระมหาอโนมทัสสี
                        ๓.พระธรรมกาวา
            ต่อมาพระมหาอโนมทัสสี  ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย  อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุศาสดากลับมาพระยาธรรมรังคัล  เจ้าเมืองจะทิ้งพระสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา  จัดการสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง ๒๐  วาขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสาริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้น  และคงมีปรากฏอยู่จนบัดนี้
            ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะ   หรือราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฎิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดรุดทรุดโทรมลงไปมาก   ควรจะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่   ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา  เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง    ( ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ )   เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว   ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์   ตามความปรารถนาที่จะบูรณะ   และปฏิสังขรณ์วัดให้พระองค์ทรงทราบ  ครั้นได้ทราบจุดประสงค์  ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย   จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถ  พระเจ้าลูกยาเธอ  จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย   และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา ๗ ลำ  พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนายมอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ซ่อมแซมและปลูกสร้าง  ( วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
            สมเด็จพะโคะ  เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้  ปรากฏว่าพระองค์ทรงเลื่อมใสเคารพท่านยิ่งนัก   ได้ทรงกรุณาโปรดพระราชทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา  ขึ้นแก่วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  จำนวน ๙๐ ฟ้อน  พร้อมด้วยประชาราษฏรที่อาศัยอยู่ในเขตนั้น  มีอาณาเขตติดต่อ  โดยถือเอาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลาง  ดังนี้
                        ๑.ทางทิศเหนือ  ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
                  ๒.ทางทิศใต้  ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
                        ๓.ทางทิศตะวันออก   จดทะเลจีนเข้ามา
                        ๔.ทางทิศตะวันตก  จดทะเลสาบเข้ามา
            ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะ  กลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ  วัดพะโคะ  ครั้งนี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษ  อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว  ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด  ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า  ๓  คด  ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายทะเลฝั่งจีน และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น    ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเรียบชายฝั่งมา  พวกโจรจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่   คิดเห็นว่าคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ   พวกโจรจีนจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝั่งนำเอาท่านลงเรือไป   เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นานเหตุอัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น  คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่   พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน  จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่  ณ  ที่นั่น เป็นเวลาหลายวันหลายคืน   ที่สุดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหาร  พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่งสมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์  ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้ว   ท่านจึงเหยียบกาบเรือให้ตะแคงต่ำลงและยื่นท้าวเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล  ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไป   เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้ว   ก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู   พวกจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจักที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืด  เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก  พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น   ก็พากันหวาดเกรงภัยที่ที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป  จึงได้พากันกราบไหว้ขอสมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
            เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัด  ถึงที่แห่งหนึ่ง  ท่านหยุดพักเหนื่อย  ได้เอาไม้เท้า ๓ คดพิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน   ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น   ลำต้นและกิ่งก้านสาขาแปรสภาพจากเดิมกลับคดๆงอๆ   แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้นประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า ต้นยางไม้เท้ายังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้
            สมเด็จเจ้าพะโคะ  หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  ครองสมณเพศประจำพรรษาอยู่วัดพะโคะ  เป็นที่พึ่งของประชาราษฏร์มีความร่มเย็นเป็นสุข  ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์  บำรุงสุข  เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์   ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ตลอดมา
            ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ  ดิสสโรสำนักวัดศิลาลอย  อำเภอจะทิ้งพระ  เป็นผู้เล่านิยายต่อกันมา  โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์  วัดตานีนรสโมสรบันทึกมาให้ผู้เขียน  ความดังต่อไปนี้
            ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะ  พำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้น  ยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่ง  เข้าใจว่าอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในหาดใหญ่เวลานี้  สามเณรรูปนี้ได้บวชทาแต่อายุน้อยๆ  ได้ปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียร  ก่อแต่การกุศลในพระพุทธศาสนาและตั้งจิตอธิษฐาน   จะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้าอยู่มาวันหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหา   แล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอกว่า  นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรย  พร้อมกับกล่าวว่า  พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้น  ขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์   เพื่อโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา   สามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิด  หากผู้ใดรู้จักกำเนิดดอกไม้นี้แล้ว   ผู้นั้นแหละเป็นองค์พระศรีอริยะที่จุติมา   เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบ  เมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรฐานหายไปทันที  
            สามเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก   วันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภารเจ้าอาวาส  ถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป   สามเณรเดกินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่ง   ก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลย   แต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยาก  ต้องตากแดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน
            วันหนึ่งต่อมา   สามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  ในเวลาใกล้จะมืดค่ำเป็นวันขึ้น  ๑๕ ค่ำ  พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้า  และเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำสังฆกรรมในโบสถ์  สามเณรถือดอกไม้ทิพย์   เดินเข้าไปยืนอยู่ริมประตูโบสถ์  รอคอยพระสงฆ์ที่จะลงมาอุโบสถ   พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทยอยกันเข้าโบสถ์  ผ่านหน้าสามเณรไปจนหมดไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักถามสามเณรเลย
            เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งที่ในโบสถ์เรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการพระสงฆ์เหล่านั้นว่า  วันนี้พระลงอุโบสถหมดทุกองค์แล้วหรือ  พระภิกษุตอบว่ายังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ  สามเณรทราบดังนั้น  ก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้น  เดินออกจากโบสถ์มุ่งตรงไปยังกุฏิของสมเด็จเจ้า ทันที  ครั้นถีงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบนมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้า    ได้ประสพดอกไม้ในมือของสามเณรถืออยู่  จึงถามว่าสมเณร  นั่นดอกมณฑาทิพย์  เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา  สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิต  จึงคลานเข้าไปใกล้ก้มลงกราบที่ฝ่าเท้า  แล้วประเคนถวายดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จ  ทันที   ท่านได้สงบอารมณ์ อยู่ชั่วครู่มิได้พูดจาประการใด   แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าในกุฏิปิดประตูลงกลอน   และเงียบหายไปในคืนนั้น   มิได้ร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์  จนล่วงเลยมาถึงบัดนี้  ประมาณสามร้อยปีแล้ว
            การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือกันว่า  ท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่านแรงกล้า  ตามที่กล่าวเล่าลือกันเช่นนี้  เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศบริเวณวัดพะโคะ  ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้รัศมีสีต่างๆเป็นปริมณฑล ดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะ  ส่องรัศมีสว่างจ้าไปทั่วบริเวณวัด  เมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนครบสามรอบแล้วลอบเคลื่อนไปทางทิศอาคเนย์  เงียบหายจนกระทั่งบัดนี้
            วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุมกันที่วัด   และต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จเจ้า    ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกันเปล่งเสียงว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย
            เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น  สมเด็จเจ้า  ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
            ๑.ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้  ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล ๑ ดวง  และสมภารทุก ๆ องค์ของวีดพะโคะได้เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า  แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะ  เพราะเกรงจะเกิดภัย
            ๒.ก่อนที่สมเด็จเจ้า   จะโล่หายไป  ปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาบนภูเขาบาท  ได้เอาท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้า  เป็นที่สักการบูชาของประชาชนมาจนกระทั่งบัดนี้  ( ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว )
            นิยายเรื่องนี้  ได้รับความกรุณาจาก  ท่านพระครูวิสัยโสภณ (ท่านอาจารย์ทิม  ธมมธโร ) เจ้าอาวาสวัดราษฏรบูรณะ (วัดช้างให้ )  ข้าพเจ้าบันทึกเรียบเรียงและเพิ่มเติมตามที่ได้สืบทราบมาดังต่อไปนี้
            สมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะ  โล่หายไปจากวัดพะโคะตำบลชุมพล  อำเภอจะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่ง  ปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรม  และเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยม   ชามเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก  ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ  ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในเมืองนั้น
            มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า  พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบได้ว่า  ท่านชื่ออย่างไร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน  ก็ไม่มีใครซักถาม  จึงพากันขนามนามเรียกกันว่า  ท่านลังกา  องค์ท่านดำ ” ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรมและอภินิหารอย่างยอดเยี่ยม  เป็นที่พึ่งทางธรรมปฎิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน  ด้วยความเมตตาธรรม  ประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสท่านตลอดถึง  ระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น  และท่านมีความสุขตลอดมา  (ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นสมเด็จเจ้าพะโคะใช่หรือไม่  ขอให้อ่านต่อไป )
                        เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่มๆ หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้วได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี ซึ่งรวบรวมโดยพระศรีบุรีรัฐ ( สิทธิ์ ณ สงขลา ) นายอำเภอชั้นลายครามของอำเภอยะรัง เรียบเรียง    มีข้อความตอนหนึ่งว่าสมัยนั้นพระยาแก้มดำ  เจ้าเมืองไทรบุรี  ปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมืองให้เจ๊ะสิตี  น้องสาวครอบครอง  เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา   ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างอุปการเพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างบ้านเมือง  ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน  วันหนึ่งช้างได้เดินทางไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ )  แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้ง  พระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ  ที่ตรงนี้  แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อฐิษฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป   ได้เดินทางรอนแรมอีกหลายวัน  เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวาร  ทางน้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น  บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง  วิ่งผ่านหน้านางไป  นางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น  จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับกระจงตัวนั้น  ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนเนินทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( ที่ตำบลกิเซะเวลานี้ )  ทันใดนั้นกระจงก็ได้อันตรธานหายไป  นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบตรงที่นี้มาก  จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้
            เมื่อพระยาแก้มดำปลูกดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว  ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า  เมืองปะตานี ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก   ก็รู้สึกเสียดายสถานที่  จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า  และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า  วัดช้างให้  มาจนบัดนี้  ต่อมาพระยาแก้มดำ  ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง
            ผู้เขียนขอกล่าวนอกเรื่องเพียงเล็กน้อย   เมื่อผู้ที่ยังไม่ทราบว่าสมัยโบราณกาลนานมานั้น  คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ  พระยาแก้มดำคนมลายู  จึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น  ผู้เขียนจึงขออ้างหนังสือของพระยารัตนภักดี  ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง  ปัญหาดินแดนไทยกับมลายู ซึ่งท่านพิมพ์แจกในการกุศล หน้า ๘ บรรทัดที่ ๑๖  ในหนังสือนั้นกล่าวอ้างตามประวัติศาสตร์ไว้ว่า  พ.ศ. ๑๓๐๐  กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัย  แห้งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู  ปกครองแผ่นดินส่วนหนึ่งถึงอำเภอไชยาได้นำลัทธิพระพุทธศาสนาเข้ามาสั่งสอนในแหลมมลายูและได้ก่อสร้างปูชนีย์ ฯ  ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่งซึ่งยังปรากฏอยู่บัดนี้  ตามประวัติศาสตร์มลายูกล่าวว่า   มีผู้ค้นพบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศรีธรรมราช  จารึกว่าเมื่อพ.ศ. ๑๓๑๘  เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราช  และที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโบราณวัตถุ  คือ   พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขา ( วัดหน้าถ้ำ ) ตำบลหน้าถ้ำ  อำเภอเมืองยะลา  จังหวัดยะลา  คาดคะเนว่าได้สร้างไว้ในสมัยพระเจ้ากรุงศรีวิชัยระหว่าง พ.ศ. ๑๓๑๘-๑๔๐๐ ต่อมาได้ปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมซึ่งยังคงปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้  องค์พระยาวถึง ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว  ขนาดใหญ่วัดโดยรอบองค์พระ ๓๕ ฟุต  และตามตำนานของคุณพระศรีบุรีรัฐกล่าวไว้ว่า  สมัยหลายร้อยปีมาแล้ว  คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ  แต่ได้มาเปลี่ยนนับถือสาสนาอิสลามทั้งสองมายืนยันพอสมควรแล้ว  ก็ขอย้อนกลับไปวัดช้างให้อีก
            ทำให้ชวนคิดว่า  วัดที่ท่านลังกาอยู่ถึงเมืองไทรบุรีระยะทางที่จะมาวัดช้างให้ก็ไกลมาก  ทางเดินก็มีแต่ป่าและภูเขาแสนจะทุรกันดาร  ท่านลังกามีวัยชราภาพมากแล้วจะเดินไปเดินมาไหวหรือ   แต่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อๆ กันมาว่าท่านลังกาเดินทางไปมาระหว่างทั้งสองนี้เดินทางเวลาแรมเดือนแบบธุดงค์  ขณะที่ท่านเดินทางนั้นพบที่ใดเหมาะก็พักแรมหาความวิเวก  เพื่อทำสมาธิภาวนาใช้เวลานานๆเช่นภูเขาถ้ำหลอด  ในกิ่งอำเภอสะบ้าย้อย  ก็ปรากฏว่ามีสิ่งที่ควรเชื่อถือได้ว่า  ท่านเป็นผู้ทำไว้  แต่ครั้งเดินทางพักแรมจากนั้นก็ปรากฏอยู่บนเพิงหินบนภูเขาตังเกือบ  เทือกภูเขาน้ำตกทรายขาว  ทางทิศตะวันออกของลำธารน้ำตก  มีพระพุทธรูปแกะด้วยไม้ตำเสาแบบพระยืนสององค์  ชาวบ้านตำบลทรายขาว  รียกพระพุทธรูปนี้ว่า  หลวงพ่อตังเกียบเหยียบน้ำทะเลจืด    เขาคาดคะเนกันว่าพระพุทธรูปสององค์นี้ท่านลังกาเป็นผู้สร้างสมันที่เดินทาง  และอาศัยพักอยู่หลวงพ่อสององค์นี้เล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก  และเป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านในถิ่นนั้นมาถึงบัดนี้ ( ผู้เขียนได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว )
            พระภิกษุชราองค์นี้  ท่านอยู่เมืองไทรบุรี  เขาเรียกว่าท่านลังกา   เมื่อท่านมาอยู่วัดช้างให้  ชาวบ้านเรียกว่า   ท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา
            ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรี  วันหนึ่งอุบาสกอุบาสิกา   และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้า  ท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า  ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการณาปนกิจ ณ  วัดช้างให้ด้วยและขณะหามศพพักแรมนั้น  ณ  ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาสาไม้แก่นปักหมายไว้  ต่อไปข้างหน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์  อยู่มาไม่นานเท่าไรก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้จัดการตารมที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกัน   เมื่อทำการณาปนกิจศพท่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว  คณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งอัฐิของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว   คณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อย  นำกลับไปทำสถูปที่วัด  ณ  เมืองไทรบุรี  ไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดมาจนบัดนี้
            เรื่องสมเด็จเจ้าพะโคะ  กับท่านช้างให้  หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนี้  มีปัญหาว่า  จะเป็นองค์เดียวกันหรือไม่  ตำนานโบราณก็มิได้กล่าวไว้  แต่ผู้เขียนคาดคะเนตามนิมิตต่าง ๆ   เชื่อว่าเป็นพระองค์เดียวกันคือสมัยท่านมีชีวิตเรียกชื่อท่านหลายชื่อ   เช่นพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  และ ท่านลังกา  ท่านช้างให้  แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้ว  เรียกเขื่อน  หรือสถูปศักดิ์สิทธิ์  ที่บรรจุอัฐิของท่านว่า“ เขื่อนท่านช้างให้ ”  แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗  ผู้เขียนได้สร้างพระเครื่องขึ้นต่างองค์ท่าน   ผู้เขียนได้สร้างพระเครื่องขึ้นต่างองค์ท่าน  ให้ชื่อว่า  ท่านช้างให้  แต่ท่านไม่เอา  ท่านบอกให้ชื่อว่า  หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ”  ดังมีเรื่องกล่าวต่อไปนี้
            ๑.ก่อนที่เขื่อน  หรือสถูปจะปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครั้งแรก    เล่าต่อๆ กันมาว่า  มีเด็กชายลูกชาวบ้านคนหนึ่งพ่อเขาไล่ตี เด็กนั้นวิ่งหนีเข้าไปในบริเวณวัดช้างให้แล้วหายตัวไป  ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง  เมื่อพ่อของเด็กไล่ตามเข้าไปในวัดก็มิได้เห็นตัวเด็ก  เขาได้ค้นหาจนอ่อนใจก็ไม่พบ  จึงกลับบ้าน ชวนเพื่อนบ้านช่วยกันค้นหา  ขณะพวกชาวบ้านผ่านเข้าเขตวัด  ก็เห็นเด็กนั้นยิ้มเข้ามาหาและหัวเราะพูดขึ้นว่า   พ่อของมันดุร้ายไล่ทุบตีลูกไม่มีความสงสาร  กูเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้จึงเอามันไปซ่อนไว้ พวกชาวบ้านก็ตื่นตกงกงัน  เพราะเด็กนั้นพูดแปลกหูผู้ฟัง   เป็นเสียงของคนแก่  แต่เด็กพูดต่อไปว่า พวกสูไม่รู้จักกูหรือกูชื่อว่าท่านเหยียบน้ำทะเลจืด   ผู้ศักดิ์สิทธิ์เจ้าของเขื่อนนี้ (สถูป )  พวกสูจะลองดีก็จงเอาน้ำเกลือใส่อ่างมากูจะทำให้ดูมีชาวบ้านผู้หนึ่งปฎิบัติตามคำสั่งนั้น  เด็กชายนั้นก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำเกลือในอ่างทันที  และบอกให้ชาวบ้านชิมน้ำเกลือนั้นดู  ได้ประจักษ์ว่า   น้ำนั้นมีรสจืดเป็นน้ำบ่อ เป็นที่อัศจรรย์นัก  เด็กนั้นพูดอีกว่า  พวกสูยังไม่เชื่อกูก็ให้ก่อไฟขึ้น    ชาวบ้านก็ทำตาม  ขณะกองไฟลุกโชนเป็นถ่านแดงดีแล้ว  เด็กประทับร่างทรงท่านเหยียบน้ำทะเลจืดก็กระโดดเข้าไปยืนอยู่ในกลางกองไฟอันร้อนแรงยิ้มแล้วถามว่า  สูเชื่อหรือยัง  พ่อของเด็กตกใจ  เกรงลูกจะเป็นอันตราย  จึงก้มลงกราบไหว้ขอโทษ  เด็กนั้นจึงเดินออกจากกองไฟเป็นปกติ
              ครั้นท่านพระครูวิสัยโสภณ  (ท่านอาจารย์ทิมธมมธโร ) เข้ามาครองวัดช้างให้ใหม่ๆ  ท่านข้องใจเรื่องวัดเดิม  เพราะถามชาวบ้านไม่มีใครรู้  คืนวันหนึ่งท่านฝันว่า  พบคนแก่ยืนอยู่กลางวัด  ท่านถามถึงเขตวัดตามความข้องใจ  คนแก่นั้นบอกว่า  ให้ไปถามท่านเหยียบน้ำทะเลจืดในเขื่อน   คนแก่จึงนำท่านพระครู ฯ ไป  เห็นพระภิกษุผู้เฒ่าเดินออกมาจากในเขื่อนสามองค์  ปรากฏว่า  ๑.หลวงพ่อสี ๒.หลวงพ่อทอง  ๓.หลวงพ่อจันทร์  องค์หลังสุดถือไม้เท้าใหญ่ ๓ คด   เดินยันออกมางกงันเพราะความชรามากกว่าองค์ใด ๆ คนแก่จึงบอกว่าองค์นี้แหละ  ท่านเหยียบน้ำทะเลจืด  ท่านจึงเอาแขนกอดคอท่านพระครู ฯ นำเดินชี้เขตวัดเก่าให้ทราบทั้ง ๔ ทิศ ตลอดถึงเนินดินซึ่งเป็นโบสถ์โบราณ  และบันดาลให้ท่านอาจารย์ ฯ ได้เห็นวัตถุต่างๆ ในหลุมนิมิตซึ่งเป็นของไม่มีค่า  เช่นพระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน ๑ องค์  เมื่อจะกลับเข้าไปในเขื่อนท่านได้สั่งว่าต้องการอะไรให้บอก  แล้วเข้าในเขื่อนหายไป
  คำว่าต้องการอะไรให้บอก  คำนี้สำคัญมาก คราวต่อมาโบสถ์ก็สำเร็จ  พระเครื่องก็ศักดิ์สิทธิ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น