วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำสวดโอวาทะปาฎิโมกขาทิปาโฐ

คำสวดโอวาทะปาฎิโมกขาทิปาโฐ
            อุททิฎฐัง  โข  เตนะ  ภะคะวะตา  ชะนะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา  สัมมาสัมพุทเธนะ  โอวาทะปาฎิโมกขัง  ตีหิ   คาถาหิ
                                    ขันติ  ปะระมัง  ตะโป  ตีติกขา
                                    นิพพานัง  ปะระมัง  วะทันติ  พุทธา
                                    นะ  หิ  ปัพพะชิโต  ปะรูปะฆาตี
                                    สะมะโณ  โหติ  ปะรัง  วิเหฐะยันโต
            สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง                     กุสะลัสสูปะสัมปะทา
            สะจิตตะปะริโยทะปะนัง                            เอตัง  พุทธานะ  สาสะนัง
            อะนูปะวาโท  อะนูปะฆาโต                       ปาฎิโมกเข  จะ  สังวะโร
            มัตตัญญุตา  จะ  ภัตตัสํมิง                           ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง
            อะธิจิตเต  จะ  อาโยโค                                เอตัง  พุทธานะ  สาสะนันติ
            อะเนกะปะริยาเยนะ  โข  ปะนะ  เตนะ  ภะคะวะตา  ชะนะตา  ปัสสะตา  อะระหะตา  สัมมาสัมพุทเธนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ปัญญา  สัมมะทักขาตา
            กะถัญจะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.  เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา. กะถัญจะ  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา  อิธะ  อะริยะสาวะโก  ปาณาติปาตา  ปะฎิวิระโต  โหติ  อะทินนาทานา  ปะฎิวิระโต  โหติ  กาเมสุ  มิจฉาจารา  ปะฎิวิระโต  โหติ  มุสาวาทา  ปะฎิวิระโต  โหติ  สุราเมระยะมัชชัปปะมาทัฎฐานา  ปะฎิวิระโต  โหตีติ.  เอวัง  โข  เหฏฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา  กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.  อิธะ  ภิกขุ  สีละวา  โหติ  ปาฎิโมกขะสังวะระสังวุโต  วิหะระติ  อาจาระโคจะระสัมปันโน  อะณุมัตเตสุ  วัชเชสุ  ภะยะทัสสาวี  สะมาทายะ  สิกขะติ  สิกขาปะเทสูติ  เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปาริยาเยนะ  สีลัง  สัมมะทักขาตัง  ภะคะวะตา.
            กะถัญจะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา. เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  กะถัญจะ  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  อิธะ  อะริยะสาวะโก  โวสสัคคารัมมะณัง  กะริตํวา  ละภะติ  สะมาธิง  ละภะติ  จิตตัสเสกัคคะตันติ.  เอวัง  โข  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวาตา.  กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.  อิธะ  ภิกขุ  วิวิจเจวะ  กาเมหิ  วิวิจจะ  อะกุสะเลหิ  ธัมเมหิ  สะวิตักกัง  สะวิจารัง  วิเวกะชัมปีติสุขัง  ปะฐะมัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ  วิตักกะวิจารานัง  วูปะสะมา  อัชฌัตตัง  สัมปะสาทะนัง  เจตะโส  เอโกทิภาวัง  อะวิตักกัง  อะวิจารัง  สะมาธิชัมปีติสุขัง  ทุติยัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ  ปีติยา  จะ  วิราคา  อุเปกขะโก  จะ  วิหะระติ  สะโต  จะ  สัมปะชาโน  สุขัญจะ  กาเยนะ  ปะฎิสังเวเทติ  ยันตัง  อะริยา  อาจิกขันติ  อุเปกขะโก  สะติมา  สุขะวิหารีติ  ตะติยัง  ฌานัง   อุปะสัมปัชชะ  วิหะระติ.สุขัสสะ  จะ  ปะหานา  ทุกขัสสะ  จะ  ปะหานา  ปุพเพ  วะ  โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมา  อะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง  จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะอะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง  จะตุตถัง  ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ  วิหะระตีติ.เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  สะมาธิ  สัมมะทักขาโต  ภะคะวะตา.
            กะถัญจะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา .เหฎฐิเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.อุปะริเมนะปิ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.กะถัญจะเหฎฐิเมนะ  ปะริเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.อิธะอะริยะสาวะโก  ปัญญะวา  โหติ  อุทะยัตถะคามินิยา  ปัญญายะ  สะมันนาคะโต  อะริยายะ  นิพเพธิกายะ  สัมมา  ทุกขักขะยะคามินิยาติ.  เอวัง  โข  เหฎฐิเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.กะถัญจะ  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา. อิธะ  ภิกขุ  อิทัง  ทุกขันติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.อะยัง  ทุกขะสะมุทะโยติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.  อะยัง  ทุกขะนิโรโธติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาติ.  อะยัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฎิปะทาติ  ยะถาภูตัง  ปะชานาตีติ.เอวัง  โข  อุปะริเมนะ  ปะริยาเยนะ  ปัญญา  สัมมะทักขาตา  ภะคะวะตา.

            สีละปะริภาวิโต  สะมาธิ  มะหัปผะโล  โหติ  มะหานิสังโส  สะมาธิปะริภาวิตา  ปัญญา  มะหัปผะลา  โหติ  มะหานิสังสา  ปัญญาปะริภาวิตัง  จิตตัง  สัมมะเทวะ  อาสะเวหิ  วิมุจจะติ.เสยยะถีทัง.กามาสะวา  ภะวาสะวา  อะวิชชาสะวา.ภาสิตา  โข  ปะนะ  ภะคะวะตา  ปะรินิพพานะสะมะเย  อะยัง  ปัจฉิมะวาจา  หันทะทานิ  ภิกขะเว  อามันตะยามิ  โว  วะยะธัมมา  สังขารา  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทถาติ.ภาสิตัญจิทัง  ภะคะวะตา  เสยยะถาปิ  ภิกขะเว  ยานิ  กานิจิ  ชังคะลานัง  ปาณานัง  ปะทะชาตานิ  สัพพานิ  ตานิ  หัตถิปะเท  สะโมธานัง  คัจฉันติ  หัตถิปะทัง  เตสัง  อัคคะมักขายะติ  ยะทิทัง  มะหันตัตเตนะ  เอวะเมวะ  โข  ภิกขะเว  เย  เกจิ  กุสะลา  ธัมมา  สัพเพ  เต  อัปปะมาทะมูละกา  อัปปะมาทะสะโมสะระณา  อัปปะมาโท  เตสัง  อัคคะมัคขายะตีติ.ตัสํมาติหัมํเหหิ  สิกขิตัพพัง  ติพพาเปกขา  ภะวิสสามะ  อะธิสีละสิกขาสะมาทาเน  อะธิจิตตะสิกขาสะมาทาเน  อะธิปัญญาสิกขาสะมาทาเน  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทสสามาติ. เอวัญหิ  โน  สิกขิตัพพัง

คำแปล โอวาทะปาฏิโมกข์
พระผู้มีพระเจ้า  อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงยกโอวาทปาฏิโมกข์  (พระโอวาทสำคัญ)ขึ้นแสดงแล้ว  ด้วยพระคาถา  ๓ บทว่า  ความอดทน  ความอดกลั้นเป็นตบะ  (เครื่องแผดเผากิเลส)  อย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า  เป็นพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง  ผู้ทำร้ายผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต  เป็นสมณะเลย
               การไม่ทำบาปทั้งปวง  การยังกุศลให้ถึงพร้อม  การทำจิตของตนให้ผ่องใส  นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  การไม่กล่าวร้าย  การไม่ทำร้าย  ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์  ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัตตาหาร  ที่นั่งที่นอนอันสงัด  การประกอบความเพียรในอธิจิต  (คือการทำจิตให้เป้นสมาธิ)  นี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  พระผู้มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสศีล  สมาธิ ปัญญา  ไว้โดยชอบแล้ว  โดยเอนกปริยาย  ก็พระผู้มีพระภาค  ตรัสถึงศีลไว้โดยชอบแล้ว  อย่างไร พระองค์ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายเบื้องต่ำบ้าง  โดยบรรยายเบื้องสูงบ้าง  พระผู้มีพระภาค  ตรัสถึงศีลไว้แล้วโดยชอบโดยบรรยายเบื้องต่ำอย่างไร  ตรัสโดยชอบแล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในพระศาสนานี้  เว้นขาดจากปาณาติบาต  อทินนาทาน  กาเมสุมิจฉาจาร  มุสาวาท และการดื่มสุราเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
               พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสถึงศีลไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงอย่างไร  พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์  สมบูรณ์ด้วยอาจาระ  (ความประพฤติ) และโคจร  (ที่บิณฑบาตเลี้ยงชีพ) อยู่ เห็นภัยในโทษเล็กน้อย  สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย  พระผู้มีพระภาค  ตรัสแสดงสมาธิไว้โดยชอบแล้ว อย่างไร  พระองค์  ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  ทั้งโดยบรรยายอย่างต่ำและโดยบรรยายอย่างสูง  พระผู้มีภาคเจ้า  ตรัสสมาธิไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างต่ำอย่างไร 
               พระองค์ตัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในธรรวินัยนี้  ทำการสละอารมณ์ได้แล้ว  ได้สมาธิ ได้ความที่จิตเป็นเอกัคคตา  (มีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง คือไม่ฟุ้งซ่าน)  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสสมาธิไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงอย่างไร  พระองค์ตรัสแล้วอย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  สงัดจากกามทั้งหลาย  สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว  บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร  มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่  เธอบรรลุทุติยฌาน  มีความผ่องใสแห่งใจเป็นไปในภายใน  เป็นธรรมอันเกิดผุดขึ้น  ไม่มีวิตกวิจาร  เพราะสงบวิตกวิจารไว้ได้  มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่  เธอเป็นผู้ว่างเฉย  เพราะปีติหมดไป  มีสติสัมปชัญญะอยู่  เสวยสุขด้วยนามกาย  บรรลุตติยฌาน  ซึ่งพระอริยบุคคลทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้วางเฉย  มีสติ  มีปกติอยู่ด้วยสุขวิหารธรรม  (คือธรรมะเครื่องให้อยู่อย่างสงบสุข)  เธอบรรลจตุตถฌาน  อันไรทุกข์ไร้สุข  มีอุเบกขาและความบริสุทธิ์แห่งสติ  เพราะละสุขทุกข์เสียได้  เพราะดับโสมนัส  (ความดีใจ)  และโทมนัส (ความเสียใจ)  ตั้งแต่ตอนแรกเสียได้
              พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้วอย่างไร  พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว  ทั้งโดยบรรยายอย่างต่ำ  และโดยบรรยายอย่างสูง  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างต่ำอย่างไร  พระองค์ตรัสไว้โดยชอบแล้วอย่างนี้ว่า  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้มีปัญญา  พร้อมด้วยปัญญาเครื่องดับกิเลส  ปัญญาเครื่องแทงกิเลสชั้นยอด  อันเป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้อย่างดี  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้ว  โดยบรรยายอย่างสูงไว้อย่างไร  พระองค์ตรัสไว้แล้วโดยชอบ  อย่างนี้ว่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  รู้ชัดความเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้สมุทัย เหตุเกิดทุกข์  นี้ทุกขนิโรธ  ความดับทุกข์  นี้ทุกข์นิโรธคามีนีปฏิปทา  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้
            สมาธิที่ศีลอบรมมีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่  ปัญญาที่สมาธิอบรมมีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่  จิตที่ปัญญาอบรม  ย่อมพ้นจากอาสวะกิเลส  คืออาสวะที่เกิดจากกาม  อาสวะที่เกิดจากภพ  อาสวะที่เกิดจากอวิชชา  ก็ในเวลาใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระผู้มีพระภาค  ตรัสพระวาจาเป็นครั้งสุดท้าย (ปัจฉิมวาจา)  ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราขอเตื่อนพวกเธอ  สังขารทั้งหลาย  มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา  ขอพวกเธอจงยังชีวิตให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด   พระองค์ตรัสเปรียยบเที่ยบไว้ดังนี้ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่คืบคลานไปบนแผ่นดิน  รอยเท้าเหล่านั้นทุกชนิดรวมลงที่รอยเท้าช้าง  บัณฑิตกล่าว่า  รอยเท้าช้างเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น  เพราะว่าใหญ่ข้อนี้ฉันใด
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย  กุศลธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  เหล่านั้นทั้งหมดมีความไม่ประมาท  เป็นเค้ามูล  รวมลงที่ความไม่ประมาท  บัณฑิตกล่าวกล่าวความไม่ประมาทว่า  เป็นยอดแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น  เพราะเหตุนั้น  พวกเราพึงทำความศึกษาว่า  เราจักเป็นผู้มีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้า  จักทำชีวิตให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทในการศึกษาสมาทานในอธิศีล  ในอธิจิต ในอธิปัญญา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น