วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อะนัตตะลักขะณะสุตตัง

อะนัตตะลักขะณะสุตตัง
            เอวัมเม  สุตัง  ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  พาราณะสิยัง  วิหะระติ  อิสิปะตะเน  มิคะทาเยฯ  ตัตํระ  โข  ภะคะวา  ปัญจะวัคคิเย  ภิกยู  อามันเตสิ ฯ
            รูปัง  ภิกขะเว  อะนัตตา ฯ  รูปัญจะหิทัง  ภิกขะเว  อัตตา  อะภะวิสสะ  นะยิทัง  รูปัง   อาพาธายะ  สังวัตเตยยะ  ลัพเภถะ  จะ  รูเป  เอวัง  เม  รูปัง   โหตุ  เอวัง  เม  รูปัง  มา  อะโหสีติ ฯ ยัสํมา  จะ  โข  ภิกขะเว  รูปัง  อะนัตตา  ตัสํมา  รูปัง  อาพาธายะ  สังวัตตะติ  นะ  จะ   ลัพภะติ  รูเป  เอวัง  เม  รูปัง   โหตุ  เอวัง  เม  รูปัง   มา  อะโหสีติ ฯ
            เวทะนา  อะนัตตา ฯ  เวทะนา  จะ  หิทัง  ภิกขะเว  อัตตา  อะภะวิสสะ  นะยิทัง   เวทะนา   อาพาธายะ  สังวัตเตยยะ  ลัพเภถะ  จะ   เวทะนายะ  เอวัง  เม  เวทะนา  โหตุ  เอวัง  เม  เวทะนา  มา  อะโหสีติ ฯ  ยัสํมา   จะ  โข   ภิกขะเว  เวทะนา   อะนัตตา   ตัสํมา  เวทะนา   อาพาธายะ   สังวัตตะติ  นะ  จะ   ลัพภะติ   เวทะนายะ  เอวัง  เม   เวทะนา   โหตุ  เอวัง  เม   เวทะนา   มา  อะโหสิติ ฯ
            สัญญา   อะนัตตา   ฯ  สัญญา  จะ  หิทัง   ภิกขะเว  อัตตา  อะภะวิสสะ   นะยิทัง   สัญญา   อาพาธายะ   สังวัตเตยยะ  ลัพเภถะ  จะ  เวทะนายะ  เอวัง  เม  เวทะนา  โหตุ  เอวัง  เม   เวทะนา  มา  อะโหสีติ ฯ  ยัสํมา  จะ  โข  ภิกขะเว  เวทะนา  อะนัตตา  ตัสํมา  เวทะนา  อาพาธายะ  สังวัตตะติ  นะ  จะ  ลัพภะติ  เวทะนายะ  เอวัง  เม  เวทะนา  โหตุ  เอวัง  เม  เวทะนา  มา  อะโหสีติ ฯ
            สังขารา   อะนัตตา ฯ  สังขารา  จะ  หิทัง  ภิกขะเว  อัตตา  อะภะวิสสังสุ  นะยิทัง   สังขารา  อาพาธายะ  สังวัตเตยยุง  ลัพเภถะ   จะ  สังขาเรสุ   เอวัง   เม  สังขารา   โหนตุ  เอวัง  เม  สังขารา  มา  อะเหสุนติ ฯ  ยัสํมา  จะ  โข  ภิกขะเว   สังขารา  อะนัตตา  ตัสํมา   สังขารา  อาพาธายะ  สังวัตตันติ   นะ  จะ  ลัพภะติ   สังขาเรสุ  เอวัง   เม  สังขารา  โหนตุ  เอวัง  เม  สังขารา  มา  อะเหสุนติ ฯ
            วิญญานัง  อะนัตตา ฯ  วิญญาณัญจะ  หิทัง  ภิกขะเว  อัตตา  อะภะวิสสะ  นะยิทัง  วิญญานัง  อาพาธายะ  สังวัตเตยยะ  ลัพเภถะ   จะ  วิญญาเณ  เอวัง   เม  วิญญานัง  โหตุ  เอวัง  เม  วิญญาณัง  มา  อะโหสีติ ฯ  ยัสํมา  จะ  โข   ภิกขะเว  วิญญาณัง  อะนัตตา  ตัสํมา   วิญญาณัง  อาพาธายะ   สังวัตตะติ  นะ  จะ   ลัพภะติ  วิญญาเณ  เอวัง  เม  วิญญาณัง   โหตุ  เอวัง  เม   วิญญาณัง   มา  อะโหสีติ ฯ
            ตัง  กิง  มัญญะถะ  ภิกขะเว  รูปัง  นิจจัง   วา  อะนิจจัง   วาติ ฯ  อะนิจจัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วา  ตัง   สุขัง   วาติ ฯ  ทุกขัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วิปะริณามะธัมมัง   กัลลัง    นุ  ตัง   สะมะนุปัสสิตุง  เอตัง  มะมะ  เอโสหะมัสํมิ   เอโส  เม  อัตตาติฯ โน   โนเหตัง   ภันเตฯ
            ตัง  กิง  มัญญะถะ  ภิกขะเว  เวทะนา  นิจจัง   วา  อะนิจจา   วาติ ฯ  อะนิจจา  ภันเต ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วา  ตัง   สุขัง   วาติ ฯ  ทุกขัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วิปะริณามะธัมมัง   กัลลัง    นุ  ตัง   สะมะนุปัสสิตุง  เอตัง  มะมะ  เอโสหะมัสํมิ   เอโส  เม  อัตตาติฯ โน   โนเหตัง   ภันเตฯ
            ตัง  กิง  มัญญะถะ  ภิกขะเว  สัญญา  นิจจัง   วา  อะนิจจา   วาติ ฯ  อะนิจจา  ภันเต ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วา  ตัง   สุขัง   วาติ ฯ  ทุกขัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วิปะริณามะธัมมัง   กัลลัง    นุ  ตัง   สะมะนุปัสสิตุง  เอตัง  มะมะ  เอโสหะมัสํมิ   เอโส  เม  อัตตาติฯ โน   โนเหตัง   ภันเตฯ
            ตัง  กิง  มัญญะถะ  ภิกขะเว  สังขารา  นิจจัง   วา  อะนิจจา   วาติ ฯ  อะนิจจา  ภันเต ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วา  ตัง   สุขัง   วาติ ฯ  ทุกขัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วิปะริณามะธัมมัง   กัลลัง    นุ  ตัง   สะมะนุปัสสิตุง  เอตัง  มะมะ  เอโสหะมัสํมิ   เอโส  เม  อัตตาติฯ โน   โนเหตัง   ภันเตฯ
            ตัง  กิง  มัญญะถะ  ภิกขะเว  วิญญาณัง  นิจจัง   วา  อะนิจจัง   วาติ ฯ  อะนิจจัง  ภันเต ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วา  ตัง   สุขัง   วาติ ฯ  ทุกขัง  ภันเต  ฯ  ยัมปะนานิจจัง  ทุกขัง   วิปะริณามะธัมมัง   กัลลัง    นุ  ตัง   สะมะนุปัสสิตุง  เอตัง  มะมะ  เอโสหะมัสํมิ   เอโส  เม  อัตตาติฯ โน   โนเหตัง   ภันเตฯ
            ตัสํมาติหะ  ภิกขะเว  ยังกิญจิ  รูปัง  อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง  อัชฌัตตัง  วา  พะหิทธา  วา  โอฬาริกัง  วา  สุขุมัง   วา  หีนัง   วา   ปะณีตัง   วา  ยันทูเร  สันติเก   วา  สัพพัง   รูปัง  เนตัง  มะมะ   เนโสหะมัสํมิ  นะ   เมโส   อัตตาติ ฯ  เอวะเมตัง   ยะถาภูตัง  สัมมัปปัญญายะ  ทัฎฐัพพังฯ
            ยา  กาจิ  เวทะนา  อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง  อัชฌัตตา  วา  พะหิทธา  วา  โอฬาริกา  วา  สุขุมัง   วา  หีนัง   วา   ปะณีตัง   วา  ยาทูเร  สันติเก   วา  สัพพา   เวทะนา  เนตัง  มะมะ   เนโสหะมัสํมิ  นะ   เมโส   อัตตาติ ฯ  เอวะเมตัง   ยะถาภูตัง  สัมมัปปัญญายะ  ทัฎฐัพพังฯ
            ยา  กาจิ  สัญญา  อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง  อัชฌัตตา  วา  พะหิทธา  วา  โอฬาริกา  วา  สุขุมา   วา  หีนัง   วา   ปะณีตา   วา  ยาทูเร  สันติเก   วา  สัพพา   สัญญา  เนตัง  มะมะ   เนโสหะมัสํมิ  นะ   เมโส   อัตตาติ ฯ  เอวะเมตัง   ยะถาภูตัง  สัมมัปปัญญายะ  ทัฎฐัพพังฯ
            เย  เกจิ  สังขารา  อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง  อัชฌัตตา  วา  พะหิทธา  วา  โอฬาริกา  วา  สุขุมา   วา  หีนัง   วา   ปะณีตา   วา  เยทูเร  สันติเก   วา  สัพเพ   สังขารา  เนตัง  มะมะ   เนโสหะมัสํมิ  นะ   เมโส   อัตตาติ ฯ  เอวะเมตัง   ยะถาภูตัง  สัมมัปปัญญายะ  ทัฎฐัพพังฯ
            เอวัง  ปัสสัง  ภิกขะเว  สุตํวา  อะริยะสาวะโก  รูปัสํมิงปิ  นิพพินทะติ  เวทะนายะปิ   นิพพินทะติ  สัญญายะปิ  นิพพินทะติฯ  นิพพินทัง  วิรัชชะติฯ  วิราคา  วิมุจจะติฯ   วิมุตตัสํมิง  วิมุตตะมีติ  ญาณัง  โหติ  ขีณา  ชาติ  วุสิตัง พํรัหํมะจะริยัง  กะตัง  กะระณียัง  นาปะรัง  อิตถัตตายาติ  ปะชานาตีติฯ
            อิทะมะโวจะ  ภะคะวาฯ  อัตตะมะนา  ปัญจะวัคคิยา  ภิกขู  ภะคะวะโต  ภาสิตัง  อะภินันทุงฯ

            อิมัสํมิญจะ  ปะนะ  เวยยากะระณัสํมิง  ภัญญะมาเน  ปัญจะ  วัคคิยานัง  ภิกขูนัง  อะนุปาทายะ  อาสะเวหิ  จิตตานิ  วิมุจจิงสูติฯ



แปล

อันข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาแล้วทรงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้เป็นอัตตา คือ 
ตัวตนเราหรือตัวตนของๆเราแล้วไซร้,รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, ทั้งยังจะสั่งจะทำได้ดังใจปรารถนาในรูปว่า ขอให้รูปร่างกายของเราจงเป็นรูปร่าง อย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย รูปจึงเป็น อนัตตา รูปจึงไม่ใช่ตนหรือของๆ ตน รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,และไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาในรูปว่า 
ขอรูปร่างกายของเราจงเป็นรูปอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย 
เวทนา(คือความรู้สึก-อารมณ์) เป็นอนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย ก็หากว่าเวทนานี้เป็นอัตตา คือ 
สุขหรือทุกข์เป็นตนหรือของๆ ตนจริงแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ หรือรู้สึกไม่สบาย ย่อมเป็นสุขทุกข์ได้ จะบังคับได้ดั่งใจปรารถนา ว่าขอเวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้เถิด อย่าได้มีความรู้สึกเป็นทุกข์เลย เพราะเหตุที่ว่า เวทนาเป็นอนัตตา คือ 
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆตน จึงบังคับไม่ได้ เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ-รู้สึกไม่สบาย
และไม่ได้ตามใจปรารถนาในเวทนาว่า ขอให้เวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้ๆ 
อย่าได้รู้สึกอย่างนั้นๆ อย่าได้เป็นทุกข์เลย สัญญา(ความจำได้-หมายรู้) เป็นอนัตตา,
ถ้าหากว่าสัญญานี้เป็นอัตตา คือ ความจำได้หมายรู้เป็นของๆตนแล้วไซร้ 
สัญญาจะไม่อาพาธ หรือทำให้เราลำบากใจ ย่อมบังคับสัญญาได้ตามปรารถนา 
ขอให้ความจำของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย 
ภิกษุทั้งหลาย ความจำนี้ เป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวตนหรือของๆ ตนหรือของใครๆ 
สัญญาความจำจึงเสื่อมเลือนหายไปได้ จึงบังคับไม่ได้ดั่งใจปรารถนาว่า 
ขอให้ความจำของเราเป็นอย่างนี้เถิด ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย 
สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เป็นอนัตตาภิกษุทั้งหลาย ถ้าความคิดเป็นตัวเรา 
เป็นของๆ เราแล้วไซร้ สังขารความคิดคงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ 
ไม่เป็นไปเพื่อให้เราทรมาณ-ลำบากใจจะทำคิดได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า 
ขอสังขารความคิดของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้น อย่าคิดไปอย่างนั้นเลย 
ก็เพราะเหตุที่สังขารไม่ใช่ตัวตนเรา-ของๆเรา ความคิดดี ความคิดชั่ว นี้ไม่ใช่เรา-ของๆ เรา
สังขารความคิดนี้ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือความคิดที่เป็นไป ทำให้เราไม่สบายใจ 
และไม่ได้สังขารความคิดดั่งใจปรารถนาว่า ขอให้ความคิดปรุงแต่งเป็นแบบนี้เถิด 
อย่าได้คิดปรุงแต่งไปแบบนั้นเลย วิญญาณ (ความรู้สึกรับรู้) ไม่ใช่ตัวตน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณเป็นตัวตนแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ย่อมไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ 
ย่อมไม่ทำให้เรารู้สึกป่วย-ไม่สบายใจก็จะได้วิญญาณตามใจปรารถนาว่า 
ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าให้วิญญาณของเราเป็นอย่างนั้นเลย 
ก็เพราะเหตุวิญญาณไม่ใช่ตัวตน-ของๆ ตนวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ 
และไม่ได้วิญญาณเป็นไปตามใจปรารถนา ว่าขอให้วิญญาณความรับรู้ของเรา 
เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้วิญญาณรับรู้อย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อความนี้เป็นไฉน รูปทั้งหลาย เที่ยงหรือไม่เที่ยงภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยากจัดว่าเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเสื่อมไปเป็นธรรมดา,ควรแล้วหรือที่เราจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า,รูปนี้ ร่างกายนี้เป็นเรา นี้เป็นของ ๆ เรา ตัวเราเป็นอย่างนั้น ตัวเราเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมสำคัญความข้อนี้  เป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์  หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยาก เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา 
สมควรแล้วหรือที่เราจะคิดว่า เวทนานี้เป็นเรา เราคือเวทนาอย่างนั้นอย่างนี้ 
หรือเวทนานี้เป็นตัวตนเรา เป็นของๆ เรา ไม่สมควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ 
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรแล้วหรือจะคิดว่า ความจำนี้เป็นเรา 
เราคือความจำอย่างนั้น อย่างนี้ และความจำนี้เป็นตัวตนของเรา 
ไม่ควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความนี้เป็นไฉน 
สังขาร-ความคิดปรุงแต่ง เที่ยงหรือไม่เที่ยงไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์  มีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
สมควรแล้วหรือที่จะคิดว่า ความคิดนั้นเป็นเรา เราคือความคิดนั้น 
ความคิดที่ดีที่ชั่วนั้น เป็นตัวตนของเรา ไม่สมควรคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน 
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เปลี่ยนไปเป็นธรรมดา,
ควรแล้วหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นเป็นเรา เราคือความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ 
และความรู้เหล่านี้เป็นตัวตนของเรา ไม่สมควรที่จะคิดเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
เพราะเหตุนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย 
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปในอดีต ในอนาคต หรือรูปปัจจุบัน 
ทั้งภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม 
เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ใกล้ก็ตาม ในที่ไกลก็ตาม,
รูปทั้งหมด ล้วนแต่ไม่เที่ยง รูปนี้ไม่ใช่ตัวเรา รูปไม่เป็นเรา รูปไม่เป็นของๆเรา 
เราไม่ใช่รูปร่างกายนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด 
เวทนา คือความรู้สึก อย่างใดอย่างหนึ่ง 
ทั้งที่เป็นอดีต ในอนาคต และในปัจจุบันก็ตาม เวทนาอยู่ภายในก็ตาม ที่ภายนอกก็ตาม , หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
อยู่ที่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมด เธอพึงรู้สึกด้วยปัญญาอันชอบ 
ตามความจริงอย่างนี้ว่า เวทนานี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่เวทนาอย่างนั้นอย่างนี้ 
และเวทนานี้ ก็มิใช่ตัวตนของเรา สัญญา ความจำได้ระลึกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีแล้วในอดีต อนาคต แม้ในปัจจุบันก็ตาม,
ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
ระลึกจำได้หมายรู้ที่อยู่ใกล้ก็ตามไกลก็ตาม สัญญาทั้งหมดนั้นล้วนแต่ไม่เที่ยงไม่ใช่เรา ไม่เป็นตัวตนของเราเราไม่เป็นสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญาความจำนี้ด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนั้นเถิด สังขารความคิดปรุงแต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและในปัจจุบัน ความคิดภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม คิดหยาบก็ตาม คิดละเอียดก็ตาม คิดเลวๆ ก็ตาม คิดอย่างประณีตก็ตาม คิดในเรื่องใกล้ตัวก็ตาม คิดเรื่องไกลก็ตาม สังขารทั้งหมด 
ก็เป็นสักว่าสังขาร ล้วนไม่เที่ยง ความคิดนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ความคิดนี้ เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงแล้วอย่างนั้นเถิด ความรับรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และในปัจจุบัน ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลก็ตาม ใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดไม่เที่ยงนี้ ไม่ใช่ตัวเรา นั่นไช่ของๆเรา เราไม่ใช่ความรู้สึกเหล่านี้ 
เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกผู้ได้สดับฟัง และพิจารณาตามรู้และเห็นอยู่ อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ร่างกายทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา ความรู้สึกต่างๆ ย่อมเบื่อหน่ายในสัญญา ความจำต่างๆ ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร การปรุงแต่งต่างๆ ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ การรับรู้ต่างๆ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว 
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว หมดสิ้นความเกิดแล้ว 
พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น 
เพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลส ไม่มีอีกแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนัตตลักขณสูตร นี้จบลงภิกษุปัญจวคีย์ต่างก็มีใจยินดีชื่นชม ในพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ในขณะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังตรัส เทศนาพระภาษิตนี้อยู่ จิตของพระภิกษุปัญจว คีย์เหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวงเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นละปล่อยวางอุปาทาน ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น