วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กฐิน

กฐิน

คำถวายผ้ากฐิน
" อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ "

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

คำอปโลกน์กฐิน
รูปที่ 1

ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอนิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ…… พร้อมด้วย…….ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะ พร้อมเพรียงกันนำมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
ก็แล ผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาะจงลงว่า เป็นของภิกษุรูปใด รูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม 8 ประการ มีบุรพกิจเป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควรเพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้

บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ. (ไม่ต้องสาธุ)
คำอปโลกน์กฐิน
แบบ ๒ รูป
       รูปที่ ๑
ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ...............
พร้อมด้วย..............ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะพร้อมเพรียงกัน
นำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
       ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ
แล้วแลตกลงในทีประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาจงลงว่าเป็นของพระ
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้ง
ปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระ
บรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบาย
สังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญา
สามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึง
สมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
       บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใด จงพร้อม
กันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.
(ไม่ต้อง สาธุ)
       รูปที่ ๒
       ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณา
เห็นสมควรแก่...................เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐิน
นัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็น
ไม่สมควรทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็น
สมควรแล้วไซร้จงให้สัททสัญญาสาธุการะขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.

(สาธุ)
คำอุปโลกน์กฐิน
แบบ ๔ รูป
       รูปที่ ๑
       ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ.....
ผู้กอปรด้วยศรัทธาอุตสาหะน้อมนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษา
กาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้
       ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ
แล้วแลตกลงยังท่ามกลางสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุสงฆ์
รูปหนึ่งรูปใดก็หาบ่มิได้ มีพระพุทธานุญาตไว้ให้ให้แก่ภิกษุผู้มีจีวร
อันเก่า หรือมีจีวรทุพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งซึ่งมีสติปัญญา
สามารถอาจกระทำกฐินนัตถารกิจ มิให้เพี้ยนผิด ต้องตามวินัยนิยม
บรมพุทธานุญาต
       เมื่อได้กรานกฐินแล้วไซร้ อานิสังสคุณจะพึงบังเกิดมี ๕ ประการ
คือ อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ไม่เป็นอาบัติด้วยทุติยกฐินสิกขาบท ๑ เก็บ
อติเรกจีวรไว้ได้เป็นอาบัติ ด้วยปฐมกฐินสิกขาบท ๑ ฉันคณะโภชน์
ปรัมปรโภชน์ได้ไม่เป็นอาบัติ ด้วยคณะโภชนะและปรัมปรโภชนะสิกขา
บท ๑ เข้าไปในละแวกบ้านได้ไม่อาบัติ ด้วยอนามันตจาริกสิกขา
บท ๑ จีวรลาภที่บังเกิดขึ้นในอาวาสจะเป็นของภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
๑ ทั้งจีวรกาลจะยืดออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ดังนี้
       บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งหลายจะมีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้
หรือไม่ ถ้ามีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้แล้วไซร้ จงให้สัททสัญญา
สาธุการะขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.
สาธุ
       รูปที่ ๒
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตกฐินนัตถารกิจนั้น ให้
เป็นการเฉพาะบุคคล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดีจะกรานกฐินไม่ได้ แต่เพราะ
อนุโมทนาแห่งสงฆ์และคณะและอัตถารกิจแห่งบุคคล กฐินเป็นอันสงฆ์
อันคณะอันบุคคลกรานได้ ก็และผ้ากฐินทานนี้ ควรแก่ภิกษุผู้มีจีวรเก่า
หรือมีจีวรอันทุพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดจะมีอุตสาหะและสามารถทำ
จีวรกรรมในวันเดียวนี้ ให้เบนกฐินนัตถารกิจ ต้องตามพระบรมพุทธา-
นุญาต มิให้วิธีวินัยนิยมทั้งปวงเคลื่อนคลาดได้.
       บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวงจะเห็นสมควรแก่พระภิกษุรูปใด จง
พร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.
(ไม่ต้อง สาธุ)
       รูปที่ ๓
ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณา
เห็นสมควร แด่...................................ผู้เป็น.......................................
ในวัดนี้ ซึ่งเป็นพหุสูตรทรงธรรม ทรงวินัย เป็นผู้ชี้แจงชักนำให้สพรหม-
จารีสงฆ์บริษัทรื่นเริง เป็นผู้ให้โอวาทานุศาสน์แก่ภิกษุสามเณรและ
คฤหัสถ์เป็นผู้ทรงกฐินมาติกาฉลาดรู้ในวินัยกรรม จะไม่ให้วินัยนิยม
นั้น ๆ กำเริบได้ และเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ อาจกระทำกฐิน-
นัตถารกิจให้ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้
       เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพิจารณาเห็นว่า พระสงฆ์ทั้งปวงจะ
ยินยอมพร้อมกันถวายผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้
แด่............................ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วง
ขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้ว จงสาธุการะขึ้น
ให้พร้อมกันเทอญ.
สาธุ
       รูปที่ ๔
ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ถ้าและพระสงฆ์
บริษัทมีเอกฉันทานุมัติ พร้อมกันยอมถวายแด่..................แล้ว ขอ
พระสงฆ์จงอย่าได้ถือเอาผ้าไตรจีวร ซึ่งเป็นบริวารแห่งผ้ากฐินตามลำดับ
ผ้าจำพรรษาเลย จงถวายแด่...................ด้วยอปโลกนวาจานี้ ส่วนผ้ากฐิน
ทานนั้น ถึงพระสงฆ์ทั้งปวงจะยินยอมพร้อมกันถวายด้วยอปโลกนวาจา
ก็ไม่ขึ้น ต้องถวายด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ตามพระบรมพุทธานุญาต
       เพราะฉะนั้น ขอพระสงฆ์จงทำกรรมสันนิษฐานว่า จะถวาย
ผ้ากฐินทานนั้น แด่...........................ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาอันไม่กำเริบ
ตามสมควรแก่สถานะ ณ กาลบัดนี้ เทอญ ฯ

สาธุ
แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
       นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
       นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต, อะระหะโต สัมม, สัมพุทธัสสะ,
       สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,
ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต
(อิตถันนามัสสะ) ทะเทยยะ, กะฐินัง อัตถะริตุง, เอสา ญัตติ.
       สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,
สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ), เทติ, กะฐินัง
อัตถะริตุง, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ, อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ, อายัส-
มะโต (อิตถันนามัสสะ). ทานัง, กะฐินัง อัตถะริตุง, โส ตุณหัสสะ
ยัสสะ นักขะมะติ, โส ภาเลยยะ
       ทินนัง อิทัง สังเฆนะ, กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต (อิตถันนา-
มัสสะ). กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี,
เอวะเมตัง ธาระยามิ.

      หมายเหตุ ในวงเล็บ อัตถันนามัสสะ นั้น ให้ใส่ชื่อผู้ครองกฐินแทน
คำอธิษฐานผ้ากฐิน
สังฆาฏิ อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ (๓ หน)
อุตตราสงค์ อิมินา อุตตะราสังเคนะ กะฐินัง อัตถะรามิ (๓ หน)

อันตรวาสก อิมานา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อตถะรามิ (๓ หน)
คำอนุโมทนากฐิน
       อัตถะตัง อาวุโส สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร
อะนุโมทะถะ (๓ หน ) นี้สำหรับท่านผู้ครองกฐินมีพรรษาแก่กว่าภิกษุทั้งปวง
ถ้ามีภิกษุอื่นที่มีพรรษามากกว่าท่านผู้ครองกฐินอยู่ ใน ที่ นั้น ให้ เปลี่ยนคำว่า
อาวุโส เป็น ภันเต แล้วให้พระสงฆ์ทั้งปวงเปล่งวาจาอนุโมทนาต่อไปว่า
       อัตถะตัง ภันเต สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร
อะนุโมทานะ (๓ หน) นี้สำหรับผู้อ่อนพรรษากว่าท่านผู้ครองกฐินกล่าว ถ้า
มีภิกษุที่แก่พรรษากว่าท่านผู้ครองกฐินอยู่ในที่นั้น กี่รูปก็ตามให้ผู้แก่เหล่านั้น
เปลี่ยนคำว่า ภันเต เป็น อาวุโส หรือจะให้ว่าพร้อมกันเฉพาะผู้แก่เสียคราว

หนึ่งก่อน ๓ จบ แล้วจึงให้ผู้อ่อนกว่าว่าอีกคราวหนึ่ง ๓ จบ ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น